หัวเว่ย เดินหน้านวัตกรรม ICT สร้างระบบควบคุมสั่งการเมืองอัจฉริยะ หนุนพัฒนาสมาร์ทซิตี้กว่า 100 แห่ง

พฤหัส ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๓:๓๐
- แลกเปลี่ยนแนวทางระดับโลกในงานประชุม SCEWC 2017 ณ บาร์เซโลนา

หัวเว่ย เข้าร่วมการประชุม Smart City Expo World Congress 2017 (SCEWC) ในบาร์เซโลนา ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Leading New ICT, Creating a Smart City Nervous System" เพื่อเน้นย้ำว่า เมืองอัจฉริยะเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตที่ทำงานได้อย่างไร้รอยต่อเพื่อเรียนรู้และยกระดับบริการต่างๆในเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยภายในงานนี้ หัวเว่ย ร่วมกับพันธมิตรระดับโลก ได้จัดแสดงโซลูชั่น ICT ที่เชื่อมโลกดิจิทัลและโลกกายภาพเข้าด้วยกัน เพื่อการบริหารจัดการเมือง บริการสาธารณะ และเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งนวัตกรรม ICT รูปแบบใหม่ๆ อาทิ คลาวด์คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้โซลูชั่นเหล่านี้ขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นหนึ่ง ตลอดจนผลักดันการประสานงานระหว่างภาคธุรกิจ และการวิเคราะห์อัจฉริยะ เพื่อการจัดการบริการต่างๆในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในโอกาสนี้ หัวเว่ยยังได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Global Smart City Summit ขนานกับการประชุม SCEWC โดยเปิดโอกาสให้บรรดาตัวแทนจากสหภาพยุโรป องค์กรมาตรฐานสากล บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังระดับโลก สถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเมืองอัจฉริยะชั้นแนวหน้า ได้มาร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ร่วมกับคณะผู้บริหารเมืองกว่า 400 คนจากทั่วทุกมุมโลก

หัวเว่ย สร้างระบบประสาทควบคุมสั่งการเมืองอัจฉริยะ ขับเคลื่อนให้เมืองมีชีวิต

การที่จะพัฒนาเมืองให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านเมืองสู่ดิจิทัล เพื่อรับมือกับความท้าทายในโลกความเป็นจริงทางกายภาพ กระบวนการดังกล่าวต้องการระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งผสานการจัดการและข้อมูล IoT เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ทางการสามารถจัดการเมืองและบูรณาการโลกดิจิทัลและโลกกายภาพ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารเมืองตั้งแต่ฐานราก และต้องเป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพื่อการพัฒนาอันรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังต้องมีทีมงานที่แข็งแกร่งและมีความสามารถ การลงทุนระยะยาวและมีเสถียรภาพ และผู้นำเมืองต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการดิจิทัลระดับชั้นนำที่สามารถช่วยเหลือด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้

หยาน หลี่ต้า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย กล่าวว่า ""เมืองอัจฉริยะเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบประสาท ระบบประสาทของเมืองอัจฉริยะนี้ประกอบไปด้วย ""สมอง"" (ศูนย์ควบคุม) และ ""เส้นประสาท"" (เครือข่ายและเซ็นเซอร์) ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของเมืองในแบบเรียลไทม์ จากนั้นจึงถ่ายทอดข้อมูล เพื่อช่วยให้ ""สมอง"" วิเคราะห์และทำการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ ต่อไปจึงควบคุมสั่งการ และนำไปสู่การดำเนินการอย่างอัจฉริยะในท้ายที่สุด สิ่งนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างโลกดิจิทัลและโลกกายภาพได้อย่างไร้รอยต่อ หัวเว่ยได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม ICT รูปแบบใหม่ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, IoT และ AI ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบประสาทที่แข็งแกร่งเพื่อเป็นขุมพลังขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ เราพัฒนาแพลตฟอร์มแบบเปิดสำหรับเมืองอัจฉริยะโดยอาศัยนวัตกรรมและการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่หลากหลาย แพลตฟอร์มที่เราพัฒนาขึ้นนี้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆได้หลายชนิด และสามารถรองรับการประยุกต์ใช้งานในหลายรูปแบบ เราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ที่สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน หัวเว่ยเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่น ICT เพียงไม่กี่เจ้าในอุตสาหกรรมที่สามารถนำเสนอโซลูชั่น cloud-pipe-device ได้อย่างครบวงจร อันจะนำไปสู่การเชื่อมต่อระหว่างโลกดิจิทัลและโลกกายภาพ เราจะเดินหน้าทำงานร่วมกับพันธมิตรในวงการเพื่อสร้างสรรค์การออกแบบในระดับสูงสุด ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการของเหล่าผู้บริหารเมือง และบรรลุเป้าหมายแห่งการเป็นเมืองอัจฉริยะ รวมทั้งจะร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดการเมืองที่ดี ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม และนำผลประโยชน์ไปสู่ประชาชน

หัวเว่ย เผยโฉมศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะสู่สายตาผู้ร่วมงานจากทั่วโลก

ในระหว่างการประชุมสุดยอด Global Smart City Summit หัวเว่ยได้เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ หรือ Intelligent Operation Center (IOC) ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ทำหน้าที่เป็น ""สมอง"" ให้กับเมืองอัจฉริยะ พร้อมเชื่อมต่อโลกดิจิทัลกับโลกกายภาพ

โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ IOC ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูลคลาวด์แบบกระจาย และเครือข่ายเมืองแบบยูบิควิตัส ซึ่งจะรวบรวม ผสมผสาน และแบ่งปันข้อมูลต่างๆของเมือง ทำให้สามารถสอดส่องดูแลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ IOC ยังใช้แพลตฟอร์มการสื่อสารแบบบูรณาการ หรือ Integrated Communications Platform (ICP) ซึ่งช่วยให้ส่วนหน้าที่ต่างๆของเมืองสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างชาญฉลาด ตลอดจนส่งความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้ทันท่วงที โดย IOC ได้นำเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เพื่อมอบข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการวางผังเมืองและบริหารจัดการบริการที่สำคัญๆ อย่างเช่นการขนส่ง และการรักษาความปลอดภัย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมีบริการบรอดแบนด์ทั้งแบบใช้สายและไร้สาย, แพลตฟอร์ม IoT และระบบปฏิบัติการ LiteOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการอัจฉริยะขนาดเล็กที่มีความปลอดภัย ทำหน้าที่เหมือนกับระบบประสาทส่วนปลายที่คอยรวบรวมข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจของสมอง ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในโลกทางกายภาพ

การปฏิวัติเมืองอัจฉริยะต้องอาศัยการเชื่อมต่อโครงข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ E2E และพันธมิตรด้านดิจิทัลที่สามารถให้การสนับสนุนอย่างรอบด้าน

หัวเว่ยและพันธมิตรร่วมกันรังสรรค์นวัตกรรมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนและขับเคลื่อนโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะในห้องวิจัยแบบเปิด หรือ OpenLabs ทั้ง 13 แห่งทั่วโลก โดย OpenLabs นำเสนอแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน ICT แบบเปิดที่ครบวงจรเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ที่ช่วยให้พันธมิตรสามารถทดลองและตรวจสอบโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะในสภาพแวดล้อมที่แท้จริงของเครือข่าย ดำเนินการวิจัยที่เป็นประโยชน์ ทำการตลาดและนำเสนอโซลูชั่น ตลอดจนได้เรียนรู้แนวทางการปฏิบัติและแนวทางแก้ปัญหาของเมืองอัจฉริยะ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้พันธมิตรสามารถพัฒนาเทคโนโลยีของพวกเขาได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเดินหน้าลงทุนในการพัฒนาระบบนิเวศให้เติบโตต่อไป

ความสามารถที่เพียบพร้อมในด้าน ICT ตลอดจนระบบนิเวศที่มีประสิทธิภาพ ทำให้หัวเว่ยสามารถให้การสนับสนุนด้าน ICT แก่เหล่าผู้บริหารเมืองได้อย่างรอบด้าน โดยในปัจจุบันโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะของหัวเว่ยได้ช่วยสนับสนุนเมืองมากกว่า 120 แห่งในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศจีนนั้น หัวเว่ยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเกณฑ์การประเมินเมืองอัจฉริยะ 26 ข้อ จนนำไปสู่การปรับปรุงเกณฑ์การประเมิน 9 ข้อ

หัวเว่ยกำลังจัดแสดงโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะร่วมกับ SAP, Honeywell, Hexagon, Chinasoft International, Esri, RuiCheng Technology และพันธมิตรอุตสาหกรรมอีกหลายราย ที่งาน SCEWC ซึ่งโซลูชั่นครบวงจรที่นำมาจัดแสดงนั้น รวมถึง:

- หัวเว่ยใช้แพลตฟอร์ม IoT, ระบบปฏิบัติการ LiteOS และเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ Narrowband IoT (NB-IoT), eLTE-IoT และ AI เพื่อสร้างระบบยูบิควิตัสเซนซิง โดยรูปแบบการใช้งานอัจฉริยะต่างๆ อาทิ ถังขยะอัจฉริยะ ไฟถนนอัจฉริยะ การรดน้ำอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะ และบริการสุขภาพอัจฉริยะ ได้ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหาร ความมั่นคงสาธารณะ และความเป็นอยู่ของประชาชน การบริหารเมืองแบบที่สามารถมองเห็นข้อมูลของเมืองทั้งเมืองได้ในแบบเรียลไทม์และมีการร่วมมือกันหลายฝ่าย ตลอดจนการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่ดีขึ้นนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนของ IOC ซึ่งประกอบด้วยศูนย์ข้อมูลแบบคลาวด์ แพลตฟอร์มสนับสนุนบริการบิ๊กดาต้า และแพลตฟอร์มสนับสนุนการใช้งาน ICT

- เทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมบริการ ทั้งการบริหารเมืองสำหรับรัฐบาล และบริการสาธารณะสำหรับชาวเมือง บริการเหล่านี้ ได้แก่ รัฐบาลอัจฉริยะ บริการสุขภาพอัจฉริยะ การศึกษาอัจฉริยะ การไฟฟ้าอัจฉริยะ และการขนส่งอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยยกระดับความพึงพอใจของประชาชน

- หัวเว่ยได้เปิดตัว Smart Campus Solution เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและวิวัฒนาการอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริมการรวมระบบอัจฉริยะและดิจิทัล ยกตัวอย่างที่เมืองตุนหวง ประเทศจีน ศูนย์ข้อมูลคลาวด์ แพลตฟอร์มบิ๊กดาต้า และเทคโนโลยี IoT ของหัวเว่ยได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพบริการการท่องเที่ยวและบริการสาธารณะให้มีความเป็นอัจฉริยะ โดยเมืองแห่งนี้ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 8 ล้านคนในปี 2559 เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับปี 2558 และปัจจุบันจุดชมวิวต่างๆ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น 40% โดยใช้เจ้าหน้าที่บริการน้อยลง 20%

ติดต่อ:

Li Qiwei (Kiwi)

โทร: +86-755-28780808

อีเมล: [email protected]

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20171115/1993293-1

คำบรรยายภาพ: หยาน หลี่ต้า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์ที่งานประชุมสุดยอด Global Smart City Summit จัดโดยหัวเว่ย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ เม.ย. เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๗ เม.ย. ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๗ เม.ย. STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๗ เม.ย. ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๗ เม.ย. HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๗ เม.ย. ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๗ เม.ย. เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๗ เม.ย. ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น