อนาคตยานยนต์ไทยไฟฟ้าหรือน้ำมัน!!!

จันทร์ ๐๖ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๕๐
"ไฟฟ้า" จัดเป็นพลังงานแห่งโลกอนาคตอย่างแท้จริง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าพลังงานไฟฟ้ามีแหล่งกำเนิดได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแสงอาทิตย์ ลม น้ำ หรือแม้แต่ขยะก็สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้แทบทั้งสิ้น แตกต่างจากน้ำมันที่นับวันมีแต่จะร่อยหรอลง และกว่าจะมีน้ำมันมาให้ได้ใช้ในปริมาณเท่าเดิมก็คงต้องใช้เวลานับล้านปี

จึงไม่แปลกที่ยานยนต์แห่งโลกอนาคต จะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลักในการขับเคลื่อน เห็นได้จากค่ายรถยนต์ชั้นนำของโลกที่มีการคิดค้นนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับรถยนต์ทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญรถยนต์ไฟฟ้ายังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นยานพาหนะที่ไม่มีการปล่อยมลพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศ

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ค่ายรถยนต์ที่ชื่อว่า Tesla เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่ง Tesla ถือเป็นค่ายรถยนต์แรกๆ ที่หันมาเอาจริงเอาจังกับรถยนต์ไฟฟ้า(EV) และได้การตอบรับเป็นอย่างดี จนทำให้บริษัทมีอัตราการเติบโตสูง สำหรับในเมืองไทยมีการพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้า(EV) มาระยะใหญ่ๆแล้ว แต่เนื่องจากกฎหมายของประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องของสถานีบริการชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า(EV)นั่นเป็นเพราะว่าปัจจุบันสถานีบริการน้ำมันตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ระบุว่า "สถานีบริการหมายความว่าสถานที่สำหรับจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชน โดยวิธีการเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัดที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง"

นั่นเท่ากับว่าสถานีบริการชาร์จไฟให้กับรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ยังไม่ถือเป็นสถานีบริการตามกฎหมายกำหนด ขณะที่พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้ระบุไว้ในบัญชีแนบท้ายลำดับที่ 88 ว่าโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้ถือเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ซึ่งโรงงานจำพวกนี้กฎหมายควบคุมอาคารและผังเมือง อนุญาตให้ดำเนินการได้เฉพาะในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น นั่นจึงทำให้สถานีบริการชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า(EV) เป็นที่ถกเถียงกันว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือโรงงานอุตสาหกรรมในหมวดใดตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากยังไม่มีความชัดเจนก็ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้

ด้วยเหตุนี้ภาครัฐจึงมีแนวคิดในการที่จะใช้ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าหรือลานจอดรถของอาคารออฟฟิศต่างๆ เป็นสถานที่จอดชาร์จพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยพลังงานไฟฟ้าของอาคารในการชาร์จไฟ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการน้ำมันรายใหญ่อย่างปตท. ได้มีการสร้างสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ไว้ถึง 4 สถานีต้นแบบด้วยกัน นอกจากนี้ที่การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ก็มีสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ด้วยเช่นกัน

ขณะนี้ทางกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย(EV) ปี พ.ศ. 2559-2579 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะประกาศโครงสร้างค่าไฟฟ้าภาคขนส่งชั่วคราวและประกาศจดทะเบียนมาตรฐานสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า จากนั้นจะให้ผู้สนใจสามารถขอยื่นจดทะเบียน นอกจากนี้ภาครัฐยังมีแผนสนับสนุนให้เกิดการชาร์จไฟฟ้าช่วงกลางคืน เพื่อลดการใช้ไฟสูงสุดในช่วงเวลากลางวัน โดยรัฐจะช่วยอุดหนุนไฟฟรีกรณีที่ใช้ไม่เกิน 50 หน่วย

สำหรับรายละเอียดแผนปฏิบัติการแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะที่ 1 (พ.ศ.2559-2560) ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะนำรถเมล์ไฟฟ้ามาใช้งานก่อน 20 คัน ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และบริษัท ปตท. จะมีโครงการนำรถยนต์ไฟฟ้า(EV) และสถานีประจุไฟฟ้ามาใช้ภายในองค์กร รวมทั้งมีแผนส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สำนักงานออฟฟิศ และหมู่บ้านอาคารชุด ให้นำรถยนต์ไฟฟ้ามาให้บริการโดยภาครัฐจะสนับสนุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า

ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561-2563) สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาสมรรถนะแบตเตอรี่ มาตรฐานรถและสถานี รวมทั้งกำหนดกฎหมาย ขั้นตอนการอนุญาต อัตราภาษี และโครงสร้างค่าไฟฟ้าถาวรสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งจะสอดรับกับโครงการเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนขายให้ กฟผ. เพื่อจ่ายไฟฟ้าในเขตสมาร์ทซิตี้

ระยะที่ 3 (พ.ศ.2564-2579) ส่งเสริมให้มีรถยนต์ไฟฟ้า(EV) 1.2 ล้านคัน และมีสถานีอัดประจุไฟฟ้า 690 สถานี พร้อมพัฒนาระบบชาร์จไฟฟ้าอัจฉริยะ

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นข้อมูลพื้นฐานและความเป็นไปได้ในอนาคต แต่เราคงต้องมาศึกษารายละเอียดและเรียนรู้กันต่อไปว่ายานยนต์ของไทยจะมีการปรับใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนกันมากน้อยเพียงใด

เชิญร่วมสัมผัสประสบการณ์จริงกับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ระบบการชาร์ต และการจัดเก็บไฟฟ้า พร้อมสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและทดลองขับจริง ชาร์จจริงได้ที่งานมหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2560 ( SETA 2017 ) บูธเอบีบี no. E01 ซึ่งจัดโดยกระทรวงพลังงาน ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนหลักจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยงานนี้จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม เวลา 9.00 – 17.30 น. ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัท เอบีบี จำกัด Tel. 02 665 1000 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://new.abb.com/th/sustainable-energy-technology-asia-2017

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital