CAT ดำเนินการพัฒนาระบบติดตามเรือประมง ควบคู่กับระบบติดต่อสื่อสารกับภายนอก เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมประมงไทย

อังคาร ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๕๖
หลังจากศูนย์บัญชาการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์ และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ (Performance Standards and Functional Requirements) ของระบบติดตามเรือประมง หรือ Vessel Monitoring System: VMS ตามพระราชบัญญัติการประมง ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งได้กำหนดให้เรือประมง เรือบรรทุกสินค้า ประมง ห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด ที่ใช้ทำการประมงขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยาน พาหนะทางน้ำทุกชนิด ที่ใช้ทำประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์ขึ้นไป ที่ออกทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System: VMS) และดูแลรักษาระบบดังกล่าว ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลานั้น โดยมีหน่วยงานต่างๆ หลายภาคส่วน ได้ร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ด้านบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ซึ่งดูแลในส่วนของวงจรสื่อสาร กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงข่ายดาวเทียม เพื่อให้บริการระบบติดตามเรือประมง Vessel Monitoring System : VMS ร่วมกับบริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด ที่เป็นผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ในส่วนของโปรแกรมระบบติดตามเรือ สำหรับใช้ตรวจสอบและติดตามตำแหน่งของเรือ โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งผ่านดาวเทียม Inmarsat ไปยังสถานีภาคพื้นดิน ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีการสำรองระบบที่สถานีภาคพื้นดินซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียในเวลาเดียวกัน พร้อมเชื่อมต่อข้อมูลมายังศูนย์จัดเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรมระบบระบุตำแหน่งเรือประมง ผ่าน VPN Tunnel Gateway ของ CAT มายังระบบ IRIS Cloud ที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อสารและการจัดเก็บข้อมูล ส่งต่อข้อมูลไปยังกรมประมงผ่านวงจรสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง โดยจะมีการตรวจสอบดูแลความปลอดภัยของข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง เป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จภายใต้เสถียรภาพและมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลความเร็วสูงของ CAT โดยในช่วงการทดสอบการให้บริการระบบดังกล่าวแก่กรมประมง ได้มีเรือประมงที่เริ่มทดลองใช้บริการแล้วกว่า 2,000 ลำ นับเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายอย่างยั่งยืน

พร้อมกันนี้ ได้มีการทดสอบเพื่อให้บริการเพิ่มเติมในด้านการติดต่อสื่อสารกับภายนอกเรือ ประกอบด้วย การส่งผ่านข้อมูล (Data), การติดต่อทางเสียง (Voice) รวมไปถึงการใช้งานแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟน ผ่านจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต WiFi ภายในเรือได้อย่างสะดวก ซึ่งจะเป็นมิติใหม่ของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมประมงไทย ทั้งนี้ในอนาคต CAT ยังได้เดินหน้าพัฒนา Gateway สำหรับบริการระบบติดตามเรือผ่านดาวเทียมในภูมิภาคนี้ รวมถึงการพัฒนาซอฟท์แวร์ด้าน Tracking และ Monitoring อื่นๆ เพื่อรองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องต่อไปอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4