งานภาพยนตร์นานาชาติมาเก๊า จบลงอย่างสวยงาม

พุธ ๑๔ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๐๑
งานเทศกาลและประกาศรางวัลภาพยนตร์นานาชาติมาเก๊า ครั้งที่ 1 ประจำปี 2016 (1st International Film Festival & Awards Macao - IFFAM 2016) จบลงอย่างสวยงาม ด้วยภาพยนตร์เรื่อง Polina ของผู้กำกับชาวฝรั่งเศส อองเฌอแลง เพรลโจกาจ และวาเลรี มุลเลอร์ ที่ฉายรอบปฐมทัศน์เป็นครั้งแรกในเอเชีย

งานเทศกาลภาพยนตร์จัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรมมาเก๊า ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่จัดงานหลักๆหลายแห่งของงาน IFFAM 2016 โดยทีมงานและนักแสดงเรื่อง Polina เดินทางมาร่วมงานนี้ด้วย ลูดี ลิน-ดาราเชื้อสายจีนแคนาดา ที่ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Power Rangers ภาคใหม่ก็มา เจสสิกา ช็อง-นักร้องนักแต่งเพลงและนักแสดงเชื้อสายเกาหลีอเมริกัน ก็มา สมทบด้วยดาราภาพยนตร์จากจีนแผ่นดินใหญ่ อย่างจางจิน ที่กำลังถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Pacific Rim: Maelstorm ซึ่งกำหนดจะออกฉายในปี 2018 ดาราฮ่องกง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ตลอดจนตัวแทนจากงานเทศกาลภาพยนตร์โทรอนโตอย่างผู้กำกับฝ่ายศิลป์-แคเมอรอน เบลลีย์ งานเทศกาลภาพยนตร์ตะวันออกไกลประจำเอดินบะระ เทศกาลภาพยนตร์ปูซาน และเทศกาลภาพยนตร์รอตเทอร์ดาม ก็มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

คณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์ของ IFFAM 2016 ซึ่งมีทั้งสแตนลีย์ กวาน มากิโกะ วาตานาเบะ เชการ์ คาปูร์ จิโอวันนา ฟุลวี และจองอูซอง

IFFAM 2016 จัดฉายภาพยนตร์คุณภาพชั้นแนวหน้าของทั้งเอเชียและนานาชาติด้วยรายการ

- ภาพยนตร์เข้ารอบประกวด 12 เรื่อง

- ภาพยนตร์ฉายรอบกาล่า 3 เรื่อง

- ภาพยนตร์เอเชียแนวร่วมสมัย ในรอบ Hidden Dragon 9 เรื่อง

- ภาพยนตร์นานาชาติที่คัดเลือกโดยผู้กำกับชาวเอเชียตะวันออก 12 คน 12 เรื่อง ในรอบ Crossfire

- ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติใหญ่ๆ 9 เรื่อง ในรอบ Best of Fest Panorama

- ภาพยนตร์ในรอบ Special Presentation ที่นำเสนอผลงานของผู้กำกับชาวสวิส คลีเมนส์ คลอปเฟนชไตน์ 2 เรื่อง และหนังสั้นของดาราเกาหลีใต้ ชังกึนซ็อก 2 เรื่อง

- ภาพยนตร์รอบ Hollywood Special Presentation ที่แฟนหนังจะได้ชมภาพยนตร์ต่างๆที่คาดว่าจะได้เข้าชิงออสการ์ เป็นครั้งแรก

- ภาพยนตร์รอบ Actress in Focus ที่นำเสนอผลงานการแสดง 3 เรื่องของดาราสาวชาวไต้หวัน กุ้ยหลุนเหม่ย์

งานเทศกาลและประกาศรางวัลภาพยนตร์นานาชาติมาเก๊า มุ่งมั่นที่จะผสมผสานวงการภาพยนตร์ท้องถิ่นและนานาชาติเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์โอกาสในการร่วมงานทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและธุรกิจ ตลอดจนขยายความรู้ความสนใจของผู้คนในมาเก๊าให้รู้จักประเภทและสไตล์ภาพยนตร์ที่มีอยู่หลากหลายทั่วโลกด้วย

ส่วนรายชื่อภาพยนตร์ที่น่าสนใจบางส่วน ในงานเทศกาล 6 วันที่มาเก๊า ได้แก่

1. Polina นำแสดงโดย อนาสตาเซีย เชฟโซวา ตัวเอกเป็นนักเรียนบัลเลต์มากพรสวรรค์ของโรงละครบัลเลต์บอลชอยที่เลื่องชื่อในกรุงมอสโก เธอฝึกบัลเลต์มาตั้งแต่เล็กเพื่อจะเป็นบัลเลรินาชั้นแนวหน้าของโลก แต่เมื่อเธอหลงรักการเต้นแนวร่วมสมัยที่เริงร่าและเพลิดเพลินกว่า โพลินาก็เลิกเต้นบัลเลต์ และมุ่งหน้าไปปารีส จูเลียต บิโนชก็แสดงในภาพยนตร์ชีวิตเปี่ยมสีสันเรื่องนี้ โดยมี อองเฌอแลง เพรลโจกาจ นักออกแบบท่าเต้นที่โด่งดังชาวฝรั่งเศส มากำกับการแสดงเป็นครั้งแรก

2. Antiporno ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดจากค่ายนิกคัทสึของญี่ปุ่น ที่ปล่อยคลื่นหนังอีโรติกออกมาเป็นระลอก ฝีมือผู้กำกับสายโหด ซิอง โซโนะ (จากเรื่อง Tag และ The Virgin Psychics) เกี่ยวกับการตื่นรู้ถึงความกำหนัดในตัวเองของนักเขียนนิยายสาวไร้เดียงสา (นำแสดงโดยอามิ โทมิเตะ ดาราคู่บุญของโซโนะ) เธอติดอยู่ระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงกับฝันร้ายที่โลดโผน ก่อนหน้า Antiporno ค่ายนี้ก็มีภาพยนตร์เรื่อง Aroused by Gymnopedies และ Wet Woman in the Wind ซึ่งทั้งสองเรื่องได้เข้าฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์เอเชียที่ฮ่องกงเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

3. Freefire โดยผู้กำกับเบน วีตลีย์ (จากเรื่อง High-Rise) ที่กำลังจะขึ้นแท่นเป็นผู้กำกับที่น่าจับตาที่สุดของอังกฤษ มาพร้อมหนังบู๊ระทึกขวัญเล่าเรื่องการค้าอาวุธที่มีเหตุสะดุดในช่วงทศวรรษ 1970 ที่บอสตัน นำแสดงโดยดาราดังอย่างบรี ลาร์สัน ซิลเลียน เมอร์ฟี อาร์มี แฮมเมอร์ และชาร์ลโต คอปลีย์ ในโครงการที่ใหญ่ที่สุดของวีตลีย์ อำนวยการสร้างโดยมาร์ติน สกอร์เซซี

4. The Girl with All the Gifts ออกฉายในช่วงเวลาเดียวกับหนังทำเงินอย่าง Train to Busan และ I Am a Hero หนังไซไฟระทึกขวัญจากอังกฤษเรื่องนี้จัดเป็นหนังซอมบี้ที่มากจินตนาการและนำเสนอมุมมองที่ต่างออกไป ได้เค้าโครงเรื่องจากนิยายของไมค์ แครี่ โดยภาพยนตร์เล่าถึงกลุ่มเด็กๆที่ได้รับเชื้อไวรัสมหาภัยที่คร่าชีวิตคนทั่วประเทศ แต่กลับดูเหมือนไม่เกิดอาการใดๆ เมื่อเด็กกลุ่มนี้หนีออกจากศูนย์ควบคุมของกองทัพ จึงถูกตามจับเพื่อนำกลับมาวิจัยหาวิธีรักษาอาการผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ให้ได้

5. Shining Moment ภาพยนตร์เรื่องนี้เพิ่งฉายเป็นครั้งแรกในรอบประกวดภาพยนตร์นานาชาติของเทศกาลนี้ ผลงานกำกับล่าสุดของฟรุต แชน จากฮ่องกง (ผู้กำกับเรื่อง The Midnight After) เป็นภาพยนตร์ชีวิตในจีนแผ่นดินใหญ่ เล่าเรื่องความอุตสาหะของนักยิมนาสติกที่ล้มเหลวอย่างหยู (แสดงโดยฮินส์ เฉิง) ที่ต้องการพลิกชีวิตตนเองด้วยการเป็นครูสอนเต้นละติน นักเรียนที่ดูไม่เข้าแก๊กการเต้นละตินในชั้นเรียนของเขา อาจไม่ส่องประกายในตอนแรก แต่หยูก็สอนพวกเขาจนเต้นได้ ซึ่งพาให้เขาหลุดพ้นจากปมในใจไปด้วย

6. Manchester by the Sea หนึ่งในภาพยนตร์ร้อนแรงที่น่าจะเข้าชิงออสการ์ของปีนี้ในหลายสาขา เล่าเรื่องชีวิตชนชั้นแรงงานที่เต็มไปด้วยความเศร้าโศกและการไถ่ถอนความรู้สึกผิด กำกับโดยเคนเนธ โลเนอร์แกน (จากเรื่อง You Can Count on Me) คาดกันด้วยว่านักแสดงนำอย่างเคซีย์ แอฟเฟล็ก (จากเรื่อง The Assassination of Jesse James by the Coward Robert Ford) น้องชายของเบน แอฟเฟล็ก ก็อาจได้เข้าชิงรางวัลดารานำชายยอดเยี่ยมในบทของพ่อม่ายที่ยังปรับตัวไม่ได้ และต้องมาดูแลหลานชายวัยรุ่นอีก

7. Personal Shopper คริสเตน สจ๊วร์ต ที่ได้รับรางวัลเซซาร์ของฝรั่งเศส กลับมาร่วมงานกับผู้กำกับชาวฝรั่งเศส-โอลิวิเยร์ อัสซายาส (จากเรื่อง Clouds of Sils Maria) ในหนังลึกลับเขย่าขวัญที่ใช้วงการแฟชั่นเป็นฉาก สจ๊วร์ตรับบทเป็นผู้ช่วยของคนดังในฝรั่งเศสอีกครั้ง ในฐานะนักช็อปส่วนตัวที่ปารีส เธอเริ่มรับการติดต่อทางจิตจากโลกวิญญาณ ซึ่งอาจจะมาจากพี่น้องฝาแฝดชายของเธอที่เพิ่งเสียชีวิตไป

8. Sisterhood เป็นการฉายรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์มาเก๊า ภาพยนตร์ชีวิตฝีมือผู้กำกับเทรซี่ ชอย โดยเหลียงหย่งฉี (Gigi Leung) รับบทเป็นเซยะ ที่กลับมาเยือนมาเก๊า และพบว่าเมืองที่เธอเคยรู้จักแปรเปลี่ยนเป็นนครแสงสีแห่งการพนันไปแล้ว เมื่อเซยะแกะรอยเพื่อตามหาลูกชายของเพื่อน สิ่งที่พบเห็นรังแต่จะกระตุ้นให้เธอคิดถึงมาเก๊าในยุคทศวรรษ 1990 สมัยที่เธอยังทำงานนวดและช่วยดูแลลูกน้อยของเพื่อนราวกับว่าเด็กคนนั้นเป็นลูกของเธอเอง

9. Jackie นาตาลี พอร์ตแมน ทุ่มเทและฝากฝีมือจนทำให้เรื่องนี้ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นสุดยอดของชีวิตการแสดงของเธอเลยทีเดียว ทั้งยังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลออสการ์ตัวที่สอง ในฐานะแจ๊คกี้ เคนเนดี้ ภริยาม่ายของเจเอฟเค ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ถูกลอบสังหาร ภาพยนตร์เล่าเรื่องตามแนวการให้สัมภาษณ์ของแจ๊คกี้ในนิตยสารไลฟ์ รวมทั้งผลกระทบที่ติดตามมาหลังการถึงแก่อสัญกรรมของสามีเธอ ผู้กำกับชาวชิลี-พาโบล ลาร์เรน (จากเรื่อง No) สร้างสรรค์หนังชีวิตของผู้นำแฟชั่นสวยสง่า ที่เปลือกนอกอันแพรวพราวมีอันต้องแตกกระจายให้โลกเห็นตัวจริงของเธอ

10. Crossfire อันนี้ไม่ใช่หนัง แต่เป็นรอบฉายภาพยนตร์คลาสสิกของตะวันตกที่ให้แรงบันดาลใจแก่ผู้กำกับเอเชีย 12 คน แฟนๆจะได้ชมผู้กำกับเกาหลีใต้-คิมจีวูน (จากเรื่อง The Age of Shadows) มานำเสนอภาพยนตร์เรื่อง Les Diaboliques ของผู้กำกับชาวฝรั่งเศส อองรี-ฌอร์จ กลูโซต์ หรือผู้กำกับชาวฮ่องกง ตู้ฉีฟง ยกย่องภาพยนตร์เรื่อง The Good, The Bad and The Ugly ของผู้กำกับชาวอิตาลี เซอร์จิโอ เลโอเน ทั้งยังได้ชมภาพยนตร์ทรงค่าเหล่านี้บนจอใหญ่ในระหว่างงานด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.iffamacao.com หรือ https://www.facebook.com/IFFAM2016/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง