“โคมขวด Botlight” บทพิสูจน์ความสำเร็จกับแรงบันดาลใจที่ไม่เคยดับบ๊อช ประเทศไทย พัฒนากลไกการเรียนรู้สู่การสร้างทักษะอาชีพ ให้เยาวชนไทยชาวเขามีรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง

พฤหัส ๑๗ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๔:๓๐
บ๊อชร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อยอดโมเดลขับเคลื่อนโครงการพัฒนาอาชีพให้เยาวชนที่ขาดโอกาสโอกาสเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ – บ๊อช ประเทศไทย ให้การสนับสนุนมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต (Skills for Life) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 โดมินิค ลอยท์วีเลอร์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้เล่าให้ฟังว่า เธอพำนักอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยกว่า 17 ปี เดิมทีเธอให้การช่วยเหลือเด็กที่ขาดโอกาสในภาคเหนือจำนวนมาก จึงพบว่าเด็กๆ ส่วนใหญ่ไม่มีเป้าหมายด้านการศึกษา ทำให้เมื่อพวกเขาเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จึงหยุดพักการเรียนไว้แค่นั้น เธอจึงเกิดแรงบันดาลใจในการก่อตั้งมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิตนี้ขึ้น เพื่อช่วยเยาวชนไทยชาวเขาให้ได้รับโอกาสในการศึกษาจนสามารถสร้างอาชีพเลี้ยงตัวเองได้

ปัจจุบัน มูลนิธิทักษะเพื่อชีวิตอุปถัมภ์เยาวชนไทยชาวเขารวม 27 คนทั้งชายและหญิง ตั้งแต่ระดับมัธยมปลายจนถึงอุดมศึกษา บางรายขาดโอกาสด้านการศึกษาและอาชีพในอนาคต เนื่องจากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน มูลนิธิฯ จึงเข้ามาดูแลด้านความเป็นอยู่ ทั้งที่พัก อาหาร เสื้อผ้า การเดินทาง ทุนการศึกษา รวมทั้งติดตามการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

บ๊อช ประเทศไทย ได้เล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสนับสนุนกลุ่มเยาวชนไทยชาวเขาที่ขาดโอกาส จึงมีแนวคิดในการร่วมพัฒนาโมเดลสร้างอาชีพตามความถนัดและความสนใจของเยาวชน โดยมีเป้าหมายให้เยาวชนพัฒนาทักษะอาชีพจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต และส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยชาวเขารุ่นต่อไป โดมินิคกล่าวเสริมว่า "ดิฉันรู้สึกอุ่นใจที่มีผู้สนับสนุนมูลนิธิฯ อย่างบ๊อช รวมถึง Primavera ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยพนักงานของบ๊อชที่เกษียณอายุแล้ว เข้ามาช่วยเหลือ สร้างความแตกต่าง และติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง พวกเราจึงไม่รู้สึกเดียวดาย ทั้งยังได้รับกำลังใจเต็มเปี่ยมเสมอมา"

ที่ผ่านมา บ๊อชร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการให้คำปรึกษาและจัดอบรมเยาวชนไทยชาวเขาในการใช้เครื่องมือช่างและแนะนำแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ ภายใต้การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการตลาดและการขาย โดยมีอาจารย์คณะบริหารธุรกิจเข้ามาเสริม พร้อมด้วยน้องๆ นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ร่วมเป็นอาสาสมัครในการช่วยฝึกอบรม

ดร.สุมนัสยา โวหาร อาจารย์สาขาวิชาการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในหัวเรือใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน กล่าวว่า "เด็กๆ ก้าวข้ามความกลัวในการใช้เครื่องมือช่าง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กผู้หญิงที่ในปัจจุบันใช้เครื่องมือได้อย่างคล่องแคล่ว สนุกกับสิ่งที่ทำ และเกิดแรงบันดาลใจให้พวกเธอคิดต่อยอดงานได้อย่างน่าชื่นชม"

อาจารย์อุดิษฐ์ จันทิมา อาจารย์พิเศษ (Workshop Instructor - part time) สาขาวิชาการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสริมว่า "ในการใช้เครื่องมือไฟฟ้า สิ่งสำคัญที่เด็กๆ ต้องเรียนรู้คือ วิธีใช้งานอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ในขั้นตอนนี้ นักศึกษาอาสาสมัครได้เข้ามามีส่วนร่วมแนะนำและสาธิตให้น้องๆ อย่างใกล้ชิด นักศึกษาจิตอาสาเองก็ได้รับประโยชน์ในการทบทวนความรู้และพัฒนาจากการสอนผู้อื่นเช่นกัน"

สุริยะ แก้วลา นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิสิตจิตอาสาที่ขานรับกิจกรรมพี่ช่วยน้องทุกครั้งที่มีการร้องขอ กล่าวว่า "ผมได้เรียนรู้จากน้องๆ ชาวเขาในด้านความคิดสร้างสรรค์ น้องๆ ไม่มีพื้นฐานทางทฤษฎีแต่น้องมีความกล้าที่จะคิดนอกกรอบ และจุดประกายแนวคิดในการออกแบบได้อย่างน่าสนใจครับ"

"Botlight" หรือ "โคมขวด" คือหนึ่งในบทพิสูจน์ความสำเร็จของมูลนิธิฯ รวมทั้งเยาวชนไทยชาวเขาและพันธมิตร ที่ร่วมกันขับเคลื่อนแรงบันดาลใจให้เกิดชิ้นงานที่สร้างความภูมิใจให้เยาวชน โดย Botlight คือชิ้นงานที่ถูกออกแบบมาจากขวดไวน์รีไซเคิลที่มูลนิธิฯ รวบรวมได้จากโรงแรม 5 ดาวในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเด็กๆ ต้องนำมาคัดแยก ทำความสะอาด ตากให้แห้ง ติดตั้งสายไฟ ตัดแต่งกล่องไม้ และจบที่ขั้นตอนบรรจุสวยงามพร้อมส่ง เด็กๆ ใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนแบ่งหน้าที่กันตามถนัด ปัจจุบัน Botlight เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับมูลนิธิฯ แบ่งเบาค่าใช้จ่าย เสริมทักษะสร้างอาชีพให้เยาวชนไทยชาวเขากลุ่มนี้ได้อย่างน่าภูมิใจ

ดลนภา จะกอ เยาวชนไทยชาวเขาที่ปัจจุบันศึกษาด้านการโรงแรม กล่าวว่า "เครื่องมือชิ้นโปรดของหนูคือ ปืนเปลวอเนกประสงค์ค่ะ หนูชอบงานด้านศิลปะ สิ่งที่หนูได้จากการฝึกอาชีพนี้คือความภูมิใจ การเคารพตนเอง และความเชื่อมั่นว่าหนูสามารถทำในสิ่งที่หนูเคยคิดว่าทำไม่ได้ค่ะ ขอบคุณบ๊อชที่ช่วยให้หนูมาถึงจุดนี้ค่ะ"

ณัฐพงศ์ อุดมวิริยะ เยาวชนไทยชาวเขาที่ปัจจุบันเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ เล่าว่า "เครื่องมือชิ้นโปรดของผมคือ เลื่อยฉลุ เพราะผมชอบการแกะสลักไม้ แต่ผมยังต้องฝึกความละเอียดงานฝีมืออีกมาก ส่วนที่ยากที่สุดสำหรับผมคือการล้างขวดไวน์ให้สะอาด เพราะฉลากบนขวดมีความเหนียว จึงล้างออกยากครับ"

เอมอร นิคมคีรี เยาวชนไทยชาวเขาที่ปัจจุบันศึกษาด้านจิตวิทยาองค์กร กล่าวว่า " Botlight เป็นผลงานชิ้นแรกของหนู หนูชอบงานศิลปะและขัดพื้นผิวไม้ หนูได้เรียนรู้วิธีเลือกไม้ให้เข้ากับลักษณะของขวดไวน์ รู้สึกดีใจที่สามารถก้าวข้ามความกลัวการใช้เครื่องมือไฟฟ้าได้ และอยากลองต่อยอดคิดชิ้นงานอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยมูลนิธิฯ ให้มีรายได้เพิ่มค่ะ"

เกี่ยวกับบ๊อชในประเทศไทย

บ๊อชได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ปัจจุบัน บ๊อชสร้างความหลากหลายในธุรกิจถึงสี่ด้าน ได้แก่ โซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร บริษัทมีโรงงานผลิตในธุรกิจโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อนถึงสามแห่ง พร้อมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา อีกทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการสำหรับอุปกรณ์ไฮดรอลิกและเครื่องจักรในจังหวัดระยอง และสายการผลิตโซลูชั่นส์และการบริการส่วนเครื่องจักรเพื่อบรรจุภัณฑ์ในจังหวัดชลบุรี ในปีที่ผ่านมา บ๊อชในประเทศไทยมียอดขายถึง 12.8 พันล้านบาท (335 ล้านยูโร) และมีพนักงานมากกว่า 1,400 คน ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.bosch.co.th และ https://www.facebook.com/BoschThailand.

เกี่ยวกับกลุ่มบ๊อช

กลุ่มบริษัทบ๊อช ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 402,000 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560) ในปี 2559 บริษัทมียอดขายรวมทั้งสิ้นกว่า 78.1 พันล้านยูโร โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจสำคัญได้แก่ กลุ่มโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน กลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร ในฐานะผู้นำทางด้าน IoT (Internet of Things) บ๊อชนำเสนอนวัตกรรมแห่งโซลูชั่นส์เพื่อบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ยานยนต์ และ อุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมต่อถึงกัน ด้วยความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเซนเซอร์ ซอฟท์แวร์ และการให้บริการ รวมถึงไอโอทีคลาวด์ของบ๊อชเอง เราจึงสามารถให้บริการโซลูชั่นส์ที่เชื่อมต่อแบบข้ามโดเมนได้เบ็ดเสร็จจากแหล่งเดียว เป้าหมายกลยุทธ์ของเรา คือการส่งมอบนวัตกรรมและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อชีวิตที่เชื่อมต่อถึงกัน ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเสนอคำตอบที่ล้ำสมัยและเป็นประโยชน์ที่นับได้ว่าเป็น "เทคโนโลยีเพื่อชีวิต" กลุ่มบ๊อช ประกอบด้วยบริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช และบริษัทในเครืออีกกว่า 440 บริษัท รวมถึงสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศต่าง ๆ อีกกว่า 60 ประเทศ หากรวมบริษัทคู่ค้าผู้จัดจำหน่ายและให้บริการต่าง ๆ ทั้งส่วนการผลิต งานวิศวกรรม และเครือข่ายด้านการขาย บ๊อชครอบคลุมอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะพื้นฐานสำคัญสำหรับการขยายตัวในอนาคตของบริษัทขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม บริษัทจึงมีพนักงานในส่วนการวิจัยและพัฒนากว่า 64,500 คน ในศูนย์วิจัยกว่า 125 แห่งทั่วโลกในปัจจุบัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้