ปลูกเห็ดนางฟ้า จากรายได้เสริมกลายเป็นรายได้เสริม จุดเริ่มต้น แค่อยากทอดกรอบ ให้ลูกกิน

อังคาร ๒๔ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๓:๓๔
อะไรก็แล้วแต่หากเริ่มต้นด้วยความรัก มักจะทำมันได้ดี ยิ่งทำให้คนที่รัก เช่น แม่ทำให้ลูกกิน รสชาติอร่อยล้ำแน่นอนหายห่วง ดังเช่น Product Champions 2019 ของเราในวันนี้ หลัง สสว. ให้งบสนับสนุนช่วยผู้ประกอบการพัฒนาแบรนด์ผ่านมหาวิทยาลัยดังๆ ทั่วประเทศ จากนั้นสถาบันการศึกษาได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์มาแนะนำให้ผู้บริโภคทั่วประเทศได้รู้จักกันในรางวัล Product Champions 2019 รวมทั้งสิ้น 8 รายการฯ การคัดเลือก พิจารณาถึงความโดดเด่นเป็นที่รู้จักในพื้นที่จังหวัดตนเอง การมีศักยภาพที่จะสามารถทำตลาดนอกพื้นที่เช่นในจังหวัดอื่นๆ หรือในต่างประเทศด้วย ที่สำคัญจะต้องเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญของชุมชน มีคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในมิติต่างๆ เช่น ใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่ที่มีการผลิตขึ้นโดยคนในชุมชน หรือมีการจ้างงานคนในชุมชนเข้ามาร่วมในส่วนของการผลิต รวมถึงการที่กระจายงานหลายๆ ส่วนไปให้ชุมชนช่วยกันทำ เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้คัดเลือกให้ได้ Product Champions ของ ม.สงขลานครินทร์ ครั้งนี้คือ ผลิตภัณฑ์ "เห็ดนางฟ้าทอดกรอบ" จังหวัดพัทลุงพร้อมยกระดับโดยเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการนำเทคโนโลยีการผนึกภาชนะขนาดเล็ก (ถ้วย) มาใช้

ผลิตภัณฑ์เห็ดนางฟ้าทอดกรอบ จังหวัดพัทลุง แบรนด์ "Veget Crisp" ผ่านการพัฒนาจาก นางบุษญพรรณ วงษ์พิไลวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวจเจทฟู๊ด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเห็ดนางฟ้า ทอดกรอบ แบรนด์ "เวจเจท คริสฟ" เธอเล่าถึงแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขึ้นมาจาก การเห็นวัตถุดิบในชุมชนบ้านเกาะเสือ ที่มีเพียงไม่กี่ครัวเรือน โดยเริ่มจากครอบครัวของเธอซื้อเห็ดนางฟ้าก้อนมาปลูกผสมผสานกับการทำเกษตรกรรมกรีดยางบนที่ดินประมาณ 1 ไร่ นอกจากนี้ยังปลูกพืชผักผสมผสาน เช่น พริก ตะไคร้ ข่า คะน้า ผักกาด ผักบุ้ง มะเขือ ฯลฯ จึงปลูกเห็ดนางฟ้าเสริมปลูกแบบเรียบง่ายในห้องน้ำ ต่อมาทำเป็นโรงเรือนเล็ก ๆ เริ่มแรกปลูก 200 ก้อนเมื่อ 5 ปีที่แล้วเห็ดนางฟ้างอกงาม ประกอบกับลูกชายไม่ชอบกิน เธอจึงนำเห็ดนางฟ้ามาชุบแป้งทอดทำให้ลูกชายกิน แล้วลูกก็ชอบมาก จึงพัฒนามาทอดขายตามตลาดนัด แต่ประสบปัญหาคืออมน้ำมัน เธอจึงคิดหาวิธีผสมแป้งต่างๆ เพื่อไม่ให้อมน้ำมันและหลีกเลี่ยงใส่ผงชูรส และเพิ่มจากเห็ดนางฟ้าทอดเป็นนำใบบัวบก ตำลึง ผักขมนำมาทอดจึงเกิดเป็นไอเดียนำผักมาทอดจำหน่าย และคิดพัฒนาสูตรแป้งทอดอย่างจริงจัง เพื่อทำการตลาดได้ยั่งยืนและขายได้ทุก ๆ ฤดูกาล ปัจจุบันสามารถบุกตลาดออสเตรเลีย ไทย จีน ฮ่องกง และมาเลเซียได้แล้ว และสามารถทำรายได้ให้กลุ่มถึง 6 แสนบาทต่อเดือนทีเดียว

" ใช้เวลาพัฒนาสูตรแป้งทอด 1 ปีไม่ให้อมน้ำมัน เก็บได้นาน 6- 8 ชั่วโมง แต่ประสบปัญหาช่วงหน้าฝนขายได้นด้อย พอดีเห็นป้ายประกาศรับเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับสสว. เราจึงเข้าร่วมโครงการมีผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ทั้งการทำการตลาด พัฒนาสินค้า ทำหีบห่อ สอนเรื่องการยืดอายุสินค้า สอนว่าเราต้องเก็บสินค้าในบรรจุภัณฑ์และเก็บรักษาอย่างไรได้นาน เมื่อก่อนแป้งเราหนามาก เรามีผัก 7 ชนิด เช่น เผือก มัน เห็ดนางฟ้า ใบบัวบก ชะพลู ผักชม ดอกอัญชัญ แต่อาจารย์แนะนำว่า เราทำตลาดจริง ๆ ให้โฟกัสจุดเดียวคือทำสินค้าตัวเดียวออกมาก่อน เพื่อการพัฒนาที่เต็มที่ "

นางบุษญพรรณ จึงเลือกพัฒนาเห็ดนางฟ้า 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เห็ดภูฎาน เห็ดนางฟ้าดำ และเห็ดฮังการีที่มีคุณสมบัติพิเศษของเห็ดทั้ง 3 ชนิด คือ มีความหวานของเห็ด เหนียวนุ่ม อีกทั้งเมื่อทอดแล้วให้ภาพลักษณ์ที่ดีคือ มีสีเหลืองทองน่ารับประทาน ควบคู่กับการใช้นวัตกรรม "สลัดแป้งออก" ก่อนทอด เพื่อให้เห็ดนางฟ้ามีความบางกรอบน่ารับประทาน

"นวัตกรรมสลัดก่อนทอดได้คำแนะนำจากมหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ สลัดก่อนทอดเพื่อให้แป้งบางกรอบ ไม่อบน้ำมัน กินแล้วยังมีผิวสัมผัสของเห็ดและรสชาติยังมีความหวานของเห็ดอยู่ อีกทั้งอาจารย์ช่วยเปลี่ยนจากถุงธรรมดาเป็นถุงอลูมิเนียมฟรอยด์ อัดกับก๊าซไนโตรเจนในการขั้นตอนการแพค ทำให้เก็บเห็ดได้นานถึง 6 เดือน "

สำหรับการช่วยเหลือชุมชนในละแวกบ้าน คือการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกเห็ดนางฟ้าและนำมาส่งที่โรงงานของเธอ โดยมีการประกันรายได้จำหน่ายเห็ดนางฟ้าอยู่ที่กิโลกรัมละ 65 บาท เป็นการจ่ายเงินสดเพื่อให้ชาวบ้านได้มีเงินใช้จ่ายหมุนวียน สามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้มากกว่า 20 ครัวเรือนในหลายชุมชน นอกจากรับซื้อวัตถุดิบแล้วเธอยังจับมือกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน ต.ดอนทราย อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ในการส่งเสริม ให้คำแนะนำการสร้างโรงเรือนเพื่อปลูกเห็ดนางฟ้า ส่งโรงงานของเธอซึ่งสามารถรับซื้อได้มากถึงวันละ 100-200 กิโลกรัม และส่งเสริมให้ชาวบ้านเพาะเห็ดนางฟ้าแบบออแกนิคอีกด้วย

ด้วยข้อจำกัดด้านการออกของเห็ดนางฟ้าวัตถุดิบหลักที่ออกมากในช่วงหน้าฝน ช่วงหน้าร้อนบุษญพรรณจึงเปลี่ยนใช้เห็ดชนิดอื่นมาทดแทน เช่น เห็ดหูหนู เข็มทอง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนพัฒนาเห็ดหอมอยู่ อีกทั้งเธอยังเปิดโรงงานของเธอเป็นแหล่งเรียนรู้ การทำก้อนเห็ดนางฟ้า ให้ชาวบ้านมาดูงาน จดสูตรเพาะเห็ด ใครสนใจมีทุนมาทดลองทำงานที่โรงงานได้ ถือเป็นการให้อาชีพ ถือเป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลักคือการกรีดยางของชาวบ้าน

" ตอนนี้ลูกค้าเรามีดีลเลอร์แล้ว เรายังจำหน่ายผ่านออนไลน์ เช่น อเมซอน วางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าบ้าง เป้าหมายอยากทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น อยากให้ลูกค้าเวลานึกถึงเห็ดทอดนึกถึงเรา และสามารถส่งออกต่างประเทศได้ ถ้านึกถึงเห็ดนางฟ้าทอดต้องซองสีส้มและสีแดงเท่านั้น " นางบุษญพรรณปิดท้ายด้วยรอยยิ้มในหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4