เอกชนไทยคิดค้น “FIoT” ใช้ระบบAutomaticคุมโรงงานอาหาร จากเวที “Reseach connect” พร้อมรายงานผลทุกความเสียหายแบบเรียลไทม์

พฤหัส ๒๖ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๑:๕๔
งานวิจัยในยุคใหม่ต้องไม่เป็นเพียงแค่กรณีศึกษาหรือเพื่อหาความรู้เท่านั้น แต่จะต้องสามารถนำมาต่อยอดและก่อให้เกิดมูลค่าในทางเศรษฐกิจ มีประโยชน์ในวงกว้าง รวมทั้งเป็นต้นแบบในการส่งเสริมวัฒนธรรมการคิดค้นสิ่งใหม่ๆในระดับองค์กรให้เกิดขึ้นได้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ ภาคส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการผลักดันและใช้ประโยชน์จากงานวิจัยอย่างจริงจังก็คือภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นแต้มต่อที่ทำให้เกิดความแตกต่าง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเท่าทันกับสถานการณ์และบริบทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเริ่มมีสัญญาณที่ดีที่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการหันมาใช้งานวิจัยในการขับเคลื่อนธุรกิจกันเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากสินค้าและการบริการในท้องตลาดที่มีความแปลกใหม่ รวมทั้งนวัตกรรมจำนวนมากมายที่ขายจริงบนช่องทางการค้า

เมื่อเร็วๆนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรม "ตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม" เพื่อเป็นการต่อยอดไอเดียสู่โมเดลธุรกิจ และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จริงทางเทคโนโลยี งานวิจัย และนวัตกรรมระหว่างผู้พัฒนาและผู้ประกอบการ พร้อมที่จะต่อยอดไปสู่เชิงพานิชย์ โดยภายในงานได้เปิดเวทีให้เหล่านักวิจัยได้ขึ้นไปนำเสนอผลงานอย่างหลากหลาย ซึ่งจากการนำเสนอทำให้ได้ผลงานวิจัยที่ผ่านการประกวดและได้รับการต่อยอดผลงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจของจริง วันนี้เราจะพาไปค้นคว้าวิจัย Food Factory Internet of Things Platfrom(FIoT)-Intelligent Platform for Leveraging Productivity and Maker Performance โดยเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบดูแลอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องที่มีผลต่อกระบวนการผลิตอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม

ดร.พุฑฒิพงษ์ มหาสุคนธ์ ทีมวิจัย Food Factory Internet of Things Platfrom(FIoT)-Intelligent Platform for Leveraging Productivity and Maker Performance เล่าว่า ทางทีมวิจัยทำการค้นคว้าอยู่ประมาณ 2-3 ปี เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเข้าไปดูแลระบบการทำงานของอุตสาหกรรมอาหาร เพราะในประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ ขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่อุตสาหกรรมไทยนั้นอาหารยังขาด Iot maker หรือผู้ที่มีความถนัดเฉพาะด้านอิเล็กทรอนิกส์และความสามารถด้านซอฟต์แวร์ ส่งผลให้ไม่สามารถวินิฉัยหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตได้ รวมทั้งไม่สามารถลดงานเอกสารเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานGMP (Good Manufacturing Practice) ปัญหาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการทำวิจัยชิ้นนี้

โดยงานจัย FIoT จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในขบวนการควบคุมต่างๆที่มีผลกระทบต่อระบบการผลิตอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบเซนเซอร์จะมีการติดตามตลอดเวลาและรายงานผลแบบออนไลน์ตลอด 24 ชม. ส่งผลให้กระบวนการผลิตสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดการสูญเสียค่าใช้จ่าย ลดความเสียหายของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า และยังสามารถลดการใช้แรงงานคนจัดการคลังสินค้า ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจช่วยลดต้นทุนการสูญเสีย และเพิ่มจำนวนการผลิตได้มากกว่าที่ผ่านมา สำหรับตัวเซนเซอร์ที่ทีมวิจัยได้ศึกษานั้นเรียกว่าระบบ MonitoringAutomatic หรือระบบการตรวจวัดแบบอัตโนมัติ ซึ่งตัวเซ็นเซอร์สามารถตรวจวัดสถานะหรือปัญหาที่มีผบกระทบต่อกระบวนการผลิตได้ทั้งหมด 9 กระขบวนการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารได้แก่ 1.กระบวนการควบคุมความร้อม 2.กระบวนการควบคุมแรงดัน 3.กระบวนการทำให้แห้ง 4.กระขวนการควบคุมความชื้น 5.กระบวนการควบคุมส่วนผสม 6.กระบวนการฆ่าเชื้อ 7.กระบวนการควบคุมคุณภาพ 8. การนับ Stock และ9.การวัด Cycle Time โดยการตรวจวัดจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบว่าต้องการจะให้ระบบตรวจวัดในขบวนการใดบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าอุตสาหกรรมนั้นๆผลิตหรือมีปัญหาอะไรตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามหากอุตสาหกรรมอาหารสามารถรู้ถึงปัญหาหรือจุดบกพร่องระหว่างการผลิตก็จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และลดความสูญเสียลงไปได้

ภายหลังจากการการนำเสนอผลงาน(Pitching) ทำให้งานวิจัยได้มีโอกาสเติบโตและถูกนำไปต่อยอดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ทีมวิจัยได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากทางคณะกรรม โดยทางทีมจะได้นำคำแนะนำต่างๆไปปรับใช้ทั้งทางเทคนิคและเชิงพานิชย์เพื่อพัฒนางานวิจัยให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามแพลตฟอร์ม FIoT ประกอบด้วย

1. ระบบการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบ ที่ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร เพราะโดยทั่วไประบบฐานข้อมูลของโรงงานจะใช้ระบบ Machine to Machine(M2M) จะเป็นระบบการรายงานผลข้อมูลด้วยระบบออนไลน์ ดังนั้นตัวเซ็นเซอร์FIot ที่นำไปติดสามารถเข้าไปทำงานร่วมกับระบบดังกล่าวได้โดยไม่ติดขัด เพราะการเรียกดูข้อมูลของFIotไม่ได้เรียกตลอดเวลา เราสามารถระบุได้ว่าต้องการข้อมูลในช่วงใดบ้าง ช่วยลดการรบกวนการทำงานของระบบโรงงานอุตสาหกรรมลง ทำให้ข้อมูลที่ตรวววัดมีความแม่นยำมากขึ้น

2. การยกระดับระบบควบคุมอัจฉริยะทั้งรูปแบบไมโครคอนโทรลเลอร์ และ programmable logic controller (PLC) ซึ่งทั้ง 2 ระบบเป็นระบบควบคุมเครื่องจักรของไลน์การผลิตในโรงงาน โดยการติดตั้งเซ็นเซอร์จะไม่เข้าไปรบกวนการทำงานและยังสามารถตรวจวัดข้อบกพร่องต่างๆรวมกับระบบควบคุมเครื่องจักรโดยไม่ทำให้ไลน์การผลิตเสียหาย

3. การติดตั้งที่ง่ายและรวดเร็วโดยการออกแบบลวงหน้าด้วยระบบ building information modeling โดยทั่วไปแล้วก่อนติดตั้งระบบเซ็นเซอร์จะต้องมีการออกแบบจุดที่จะติดเซ็นเซอร์ก่อนทุกครั้ง แต่ระบบFIot จะออกแบบโดยการขอแปลนโรงงานและนำมาออกแบบว่าจะติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรงจุดใด โดยจะมีวิศวกรที่ทำหน้าที่ออกแบบโมเดล วิธีการดังกล่าวจะช่วยลดระยะเวลา ทำให้เกิดความแม่นยำในการติดตั้งแต่ละจุด

4. รูปแบบการวิเคราะห์ด้วย online web-based ระบบการทำงานของเซ็นเซอร์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบว่าโรงงานจำเป็นจะต้องเพิ่มหรือลดขบวนการผลิตลง เพื่อให้สอดคล้องกับขีดความสามารถของโรงงาน ณ ขณะนั้น รวมทั้งระบบยังช่วยวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรว่ามีความคงที่หรือไม่ ซึ่งการส่งข้อมูลจะเปรียบเสมือนการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาค่าวิกฤติต่างๆตามความต้องการของ ISO22000

5. การให้บริการ Cloud as a software service เป็นระบบการรองรับข้อมูลที่ได้จากวินิจฉัยผ่านตัวเซนเซอร์ทั้งหมด โดยหากเป็นธุรกิจขนาดเล็กสามารถทำได้ผ่านระบบ Google Sheet ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ด้านการแก้ไขข้อมูลสามารถดำเนินการผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ซึ่งจะลดกระบวนการตรวจสอบและเพิ่มคุณภาพง่ายต่อการนำไปใช้

ด้านนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า การนำงานวิจัยมาปรับใช้ในธุรกิจเอสเอ็มอีถือว่าเป็นยุทธศาสตร์หลักของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้การกำกับของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมฯได้เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยในภาคธุรกิจเอสเอ็มอีมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดกิจกรรม "Research Connect หรือ ตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม" เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เอสเอ็มอีเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาธุรกิจ โดยการขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมให้มากขึ้น เพราะงานวิจัยถือว่าเป็นเครื่องมือที่จะก้าวนำคู่แข่งและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนในปัจจุบันมากขึ้น รวมทั้งงานวิจัยยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มมูลค่าของธุรกิจ ลดความสูญเสียทั้งด้านแรงงานคน และวัตถุดิบ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือไลน์ธุรกิจใหม่ๆ ทั้งนี้การยกระดับธุรกิจด้วยงานวิจัยยังช่วยส่งผลให้ธุรกิจไปสู่ความสำเร็จมากกว่า ดังนั้นการวิจัยและนวัตกรรมจึงมีความสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในยุคใหม่ อย่างไรก็ตามนโยบายการใช้วิจัยเข้ามาสนับธุรกิจเอสเอ็มอียังถือว่าเป็นนโยบายหลักของทางรัฐบาลที่พยายามใช้งานวิจัยนำ และมีการส่งเสริมนักวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยทางกรมฯเห็นว่าการที่จะทำการจับคู่(Matching) ธุรกิจกับนวัตกรรมจะเป็นอีกส่วนที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจให้ยั่งยืนมากยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา ทั้งนี้สำหรับกลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตได้แก่ กลุ่มเกษตรและอาหารแปรรูป กลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม กลุ่มการแพทย์และสุขภาพ และกลุ่มชอร์ฟแวร์และดิจิทัล โดยมีแนวโน้มที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมและสร้างมูลค่าได้เป็นจำนวนมาก

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 02202 4564 หรือ www.dip.go.th หรือ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยได้ที่ www.tie-smart.co.th หรือโทร 094-850-3366 บริษัท TIE Smart Solutions จำกัด.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest