มกอช. รุกหนัก เดินสายหารือ WFSR และผู้ประกอบการนำเข้าผลไม้ไทยในเนเธอร์แลนด์

พฤหัส ๒๖ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๑:๑๑
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) นำโดย ดร. จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการ มกอช. พร้อมคณะทำงาน ร่วมหารือกับ Wageningen Food Safety Research (WFSR) และผู้ประกอบการนำเข้าผลไม้ไทยในเนเธอร์แลนด์ หวังเชื่อมตลาดและสร้างโอกาสทางการค้าของไทย – เนเธอร์แลนด์ ณ เมืองอัมสเตอร์ดัม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

ดร. จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 - 22 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา มกอช. และสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ร่วมหารือกับ Wageningen Food Safety Research (WFSR) และผู้ประกอบการนำเข้าผลไม้ไทยในเนเธอร์แลนด์ ณ เมืองอัมสเตอร์ดัม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เพื่อหารือความเป็นไปได้ในการจัดทำความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหารกับ WFSR สำหรับการประเมินความเสี่ยงยาสัตว์ตกค้าง เพื่อการพัฒนาและฝึกอบรมให้กับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องของไทย ในการกำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (MRLs) ในสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นอาหารและอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติระหว่างประเทศและภูมิภาค ที่มีความสำคัญสำหรับใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการผลิต การค้า และการควบคุมตรวจสอบสินค้าเกษตรที่ผลิต นำเข้า และส่งออก และความเข้าใจในหลักการและการประยุกต์ใช้ Bayesian Network Model สำหรับการติดตามความเสี่ยงในการระบุถึงอันตราย ในเครื่องเทศและสมุนไพร

ในโอกาสนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการเกี่ยวกับอาหารใหม่ (Novel Food) และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แมลง เพื่อการบริโภคในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "จิ้งหรีด" ซึ่งไทยมีการผลิตได้ในปริมาณมากกว่า 650,000 กิโลกรัมต่อปี และมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร 8202-2560 (การปฏิบัติทางการเกษตร ที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด) เพื่อยกระดับการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด และสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีดให้กับผู้บริโภคแล้ว

เลขาธิการกล่าวต่อว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีประชากรราว 17 ล้านคน มีพื้นที่รวมทั้งหมด 41,540 ตารางกิโลเมตร ผลผลิตทางการเกษตรของเนเธอร์แลนด์ แบ่งเป็น ผลผลิตพืช (54%) และผลผลิตปศุสัตว์ (45.7%) การเพาะปลูกพืชที่สำคัญ ได้แก่ ผัก พืชสวน มันฝรั่ง ผลไม้ น้ำตาลบีท ข้าวสาลี ไม้ดอกและไม้ประดับต่าง ๆ ส่วนการเลี้ยงปศุสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ วัวเนื้อและวัวนม โดยเนเธอร์แลนด์ นำเข้าอาหาร – สินค้าเกษตรจากไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 513.3 ล้านยูโร หรือคิดเป็นสัดส่วน 19% เทียบกับมูลค่าสหภาพยุโรป นำเข้าอาหาร – สินค้าเกษตรจากไทยทั้งหมด ทั้งนี้นำเข้าอาหารจำพวกเนื้อสัตว์จากไทยมากที่สุด โดยเฉพาะไก่แปรรูป และเนื้อสัตว์อื่น ๆ รายการสินค้าสำคัญที่เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยมาก 10 อันดับแรก ได้แก่ ไก่แปรรูป เนื้อสัตว์อื่นๆ น้ำสับปะรส ซอสปรุงรส สับปะรสปรุงแต่ง เมล็ดพืชผัก อาหารปรุงแต่ง เส้นพาสต้า ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด และทูน่าปรุงแต่ง

นอกจากนี้ ยังได้พบปะหารือร่วมกับบริษัท Fresh Partner Europe BV. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการนำเข้าผลไม้ไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ถึงเรื่องแนวโน้มทิศทางการค้าผักและผลไม้ในเนเธอร์แลนด์ โดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากประเทศไทย รวมทั้งโอกาสและอุปสรรคทางการค้า โดยได้ไปเยี่ยมชมตลาดสินค้าเกษตรท้องถิ่น ณ Bloemenmarkt flower market อีกด้วย เลขาธิการกล่าว...

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ