“NER” โชว์งบ 9 เดือนกำไรโต 43.97% ตั้งเป้าปี 63 โต 30% จากโรงงานใหม่ ลูกค้ารายใหม่ และสินค้าใหม่

พฤหัส ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๐๙:๓๔
บมจ. นอร์ทอีส รับเบอร์ (NER) โชว์งบ 9 เดือนกำไรสุทธิ 414.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.97% ขณะที่รายได้รวม 9,398.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.17% จากสต็อกต้นทุนยางที่ต่ำกว่าตลาด และการย้ายฐานการผลิตของลูกค้า ด้านปี 63 คาดรายได้เติบโต ไม่ต่ำกว่า 30% จากลูกค้ารายใหม่ ประกอบกับโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่จะเปิดดำเนินงานในไตรมาสที่ 2/63 ทำให้คาดยอดขายเพิ่มขึ้น 52% จากปี 62 พร้อมกันนี้ในกลางปี 63 บริษัทฯ มีแผนออกสินค้าใหม่ ที่ร่วมพัฒนาสูตรกับ มอ.

นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆและกลุ่มผู้ค้าคนกลางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลประกอบการงวด 9 เดือนของปี 2562 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 ว่าบริษัทฯมีรายได้ 9,398.57 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 43.17 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 6,564.85 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 414.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.97%

ด้านผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2562 บริษัทฯมีรายได้รวม 3,057 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวมที่ 2,593 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 143 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 21.5 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 121.45 ล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาขายยางมีแนวโน้มดีขึ้นอยู่ที่ประมาณ 52 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 21% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน และเพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน ขณะที่การเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนได้รับผลดีจากที่บริษัทมีสต็อกต้นทุนยางที่ต่ำกว่าตลาด และบริษัทมีการจัดหาวัตถุดิบต้นทุนต่ำไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้บริษัทยังได้รับอนิสงส์คำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจากการย้ายฐานการผลิตของลูกค้าจีนและลูกค้าต่างประเทศจากสิงคโปร์ตามสัญญา Long Term อีกทั้งการเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของผลิตภัณฑ์ยางผสมอัดแท่ง (RSS-CPR) ซึ่งเริ่มมียอดขายในเดือนกรกฏาคม 2562

นายชูวิทย์ เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจในช่วงสุดท้ายของปีนี้ บริษัทยังคงมั่นใจว่าในปีนี้จะมีอัตราการเติบโตของรายได้รวมไม่ต่ำกว่าปี 2561 ที่มีรายได้ 10,084.01 ล้านบาท สำหรับโครงการผลิตก๊าซชีวภาพนั้น คาดว่าในปลายปี 62 จะเริ่มเดินเครื่องโครงการแรก ส่วนโครงการที่ 2 จะเริ่มไตรมาส 1/63 คาดว่าจะสร้างผลตอบแทนให้บริษัทประมาณเดือนละ 5 ล้านบาท และยังช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน จากปัจจุบันจ่ายค่าพลังงานในโรงงานประมาณเดือนละ 10 ล้านบาท ถ้าไบโอแก๊สเริ่มผลิตได้เต็มกำลังการผลิตจะสามารถลดค่าแก๊สได้เดือนละ 5 ล้านบาท

สำหรับเป้าหมายการเติบโตของรายได้รวมในปี 2563 คาดว่าเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% เนื่องจากบริษัทเริ่มได้รับคำสั่งซื้อยางเพิ่มขึ้นจากลูกค้ารายใหม่หลายราย หลังจากที่บริษัทคู่แข่งในตลาดบางบริษัทได้ปิดกิจการไป ประกอบกับโรงงานผลิตแห่งใหม่ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว จะเปิดดำเนินงานในไตรมาสที่ 2/63 ทำให้ทางบริษัทประมาณการว่าจะสามารถทำยอดขายยางในปี 2563 ได้ราว 400,000 ตัน เพิ่มขึ้น 52% จากปี 2562 นอกจากนี้ผู้บริษัทเชื่อว่าราคาขายเฉลี่ยในปี 2563 จะสูงกว่าปี 2562 ค่อนข้างมากจากอุปทานยางทั่วโลกที่ตึงตัวขณะที่อุปสงค์ยางค่อนข้างมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อของผู้ซื้อยางจากประเทศจีน

พร้อมกันนี้ ในกลางปี 63 บริษัทฯ มีแผนออกสินค้าใหม่ เป็นสินค้าสำเร็จรูปที่เป็นแผ่นปูนอน แผ่นรองในพื้นคอกของปศุสัตว์ โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีการพัฒนาสูตร ร่วมกันกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital