นักวิชาการอังกฤษ แนะไทยดึงบิ๊กเดต้า วาง “ฟู้ด ฟอร์ไซท์” โรดแมปอุตฯ อาหารไทย 10 ปี แข่งตลาดโลก

พฤหัส ๑๒ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๒๖
- บริติช เคานซิล จับมือ เมืองนวัตกรรมอาหาร และ มหาวิทยาลัยแครนฟิลด์ โชว์โมเดลการคาดการณ์อนาคตอาหารของอังกฤษ พัฒนาอุตสาหกรรม ผ่านไอเดีย University-Industry Links เชื่อมภาคอุตฯ - การศึกษา แก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและรอบด้าน

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นภาคการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร โดยข้อมูลจากสมาพันธ์อาหารและเครื่องดื่ม (FDF) ชี้ว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวสามารถทำเงินได้ถึง 28.2 พันล้านปอนด์ต่อปี และมีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมนี้ถึง 400,000 คน โดยมูลค่าตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ฟาร์มจนถึงจานที่ถูกเสิร์ฟ มีจำนวน 110 พันล้านปอนด์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของสหราชอาณาจักร ดังนั้นสหราชอาณาจักรจึงมุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมการยกระดับอุตสาหกรรม ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่งระหว่างภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เนื่องจากเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นอุตสาหกรรมที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ ซึ่งกุญแจสำคัญที่จะไปสู่โอกาสเหล่านี้ คือการรู้จักควบคุมศักยภาพการเติบโต ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ผ่านการนำศาสตร์การคาดการณ์อนาคตอุตสาหกรรมอาหารมาประยุกต์ใช้

ศาสตราจารย์โรนัลด์ คอร์สตานจ์ หัวหน้าศูนย์สารสนเทศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแครนฟิลด์ กล่าวว่า ศาสตร์การคาดการณ์อนาคตอุตสาหกรรมอาหาร (Foresight for Food) คือวิธีคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีก 10 – 15 ปีข้างหน้า เพื่อเตรียมพร้อมวิธีการรับมือ และแก้ปัญหา อาทิ สภาพแวดล้อม อุปสงค์ อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารที่จะเกิดขึ้น ฃึ่งม.แครนฟิลด์เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในศาสตร์การคาดการณ์อนาคต (Foresight) จากการพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมควบคู่กันไป โดยในปัจจุบัน ม.แครนฟิลด์ทำงานร่วมกับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม รวมถึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์การคาดการณ์อนาคต และการประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเป็นแผนแม่แบบและนำไปต่อยอดในภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ม.แครนฟิลด์ยังเดินหน้าพัฒนาองค์ความรู้การวางแผนแม่แบบของตัวเองบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยใช้หลักการดึงข้อมูล Big Data เพื่อนำมาคำนวณ คาดการณ์อนาคตได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อการออกแบบแผนแม่แบบที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่านวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงภายใน 10 ปี

ศาสตราจารย์โรนัลด์ กล่าวเพิ่มว่า มหาวิทยาลัยแครนฟิลด์ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "University-Industry Links" ของบริติช เคานซิล ประเทศไทย เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคการศึกษา - อุตสาหกรรม แบ่งปันองค์ความรู้และรูปแบบศาสตร์การคาดการณ์อนาคต (Foresight) ให้กับเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) โดยทาง ม.แครนฟิลด์ ได้คัดเลือกขั้นตอนที่เหมาะสมกับบริบทการประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารประเทศไทย ออกมาเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) จับกระแสหลากมิติ (Horizon Scanning) การดูบริบทโดยรอบ เพื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารที่กำลังเกิดขึ้น 2) ปักธงแนวคิด (Visioning) การกำหนดวิสัยทัศน์ว่าประเทศต้องการเดินหน้าอุตสาหกรรมอาหารไปในทิศทางใด เพื่อให้สอดรับกับกระแสความต้องการของตลาดอาหารโลก 3) กำหนดทิศทาง (Roadmapping) การวางแผนแม่แบบจากข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในระยะยาว ซึ่งการกำหนดแผนแม่แบบจะทำให้สามารถประเมินศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน และรู้ถึงสิ่งที่ยังคงต้องพัฒนาให้ตอบโจทย์ตามเป้าหมาย และ 4) ประเมินหาโอกาสสู่อนาคต (Evaluation) การประเมินแผนแม่แบบที่สร้างขึ้นและถูกนำมาใช้ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการต่อยอดและปรับปรุง

ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้อำนวยการโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวเสริมว่า หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวางแผนแม่แบบแนวทางอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย สามารถสรุปออกมาเป็น 4 กลยุทธ์ของโรดแมปพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่

1) สร้างแพลตฟอร์มระดับชาติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและยั่งยืน

2) ลงทุนกับงานวิจัยและนวัตกรรมด้านอาหารเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รวมไปถึงนวัตกรรมอาหารที่ทันสมัยและยั่งยืน

3) สร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอี จากระดับท้องถิ่นสู่ระดับนานาชาติ และ

4) ส่งเสริมภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ของอาหารไทยในระดับนานาชาติ

"เมื่อประเทศมีเป้าหมายการเดินหน้าอุตสาหกรรมอาหารที่ชัดเจน รู้จักเทรนด์ตลาดอาหารสากล และมีนวัตกรรมที่พร้อมรับมือกับปัญหาในอนาคต การพาครัวไทย สู่ครัวโลก ก็เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป" ดร. อัครวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน มร.แอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวว่า สหราชอาณาจักรมีตัวอย่างการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมที่ชัดเจน อย่างเช่น ม.แครนฟิลด์ ที่ได้ทำงานร่วมกับ บริษัท โคคา-โคล่า (Coca-Cola Enterprises) เพื่อศึกษาหาข้อมูลด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในสหราชอาณาจักร โดยได้ใช้ศาสตร์การมองอนาคตเพื่อประเมินถึงรูปแบบของโรงงาน และภาคการผลิตในปี 2050 (พ.ศ. 2593) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า สหราชอาณาจักร อยู่ในประเทศแนวหน้า 10 อันดับที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและเอกชน จนสามารถนำองค์ความรู้มาต่อยอดและใช้ได้จริงในการยกระดับอุตสาหกรรม จากข้อมูลของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum 2019)

อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญของไทย ที่ได้รับการผลักดันมาอย่างยาวนาน เนื่องด้วยเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการผลิตเพื่อบริโภค และส่งออก ด้วยความสามารถในการผลิตวัตถุดิบประกอบอาหาร ทั้งจากผลิตผลในภาคการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง รวมถึงการแปรรูปอาหาร อย่างไรก็ดี ปัจจัยการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทย ไม่ใช่เพียงแค่การคำนึงถึงประสิทธิภาพของการใช้เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล หากแต่การมองไปยังอนาคต รู้จักการเตรียมพร้อม เพื่อปรับตัวรองรับสถานการณ์ด้านอาหาร และเทรนด์ของผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ท่ามกลางยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลดิเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเพื่อแข่งขันในระดับนานาชาติ ก็ถือเป็นการปรับตัวก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารไทยเช่นกัน มร.แอนดรูว์ กล่าวสรุป

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ บริติช เคานซิล ประเทศไทย โทร. 02-657-2211 และเว็บไซต์ www.britishcouncil.or.th

เกี่ยวกับบริติช เคานซิล

บริติช เคานซิล คือ องค์กรนานาชาติเพื่อส่งเสริมการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมแห่งสหราชอาณาจักร เราทำงานกับประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลกผ่านงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ การศึกษา และภาคประชาสังคม ในปีที่ผ่านมาเราสื่อสารโดยตรงกับผู้คนมากกว่า 80 ล้านคน และสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์กับผู้คนกว่า 791 ล้านคน เราสร้างประโยชน์แก่ประเทศที่เราทำงานด้วยผ่านทรัพยากรทางวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักร เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนให้ดีขึ้นโดยการสร้างโอกาส สร้างเครือข่าย และสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน บริติช เคานซิล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้พระบรมราชานุญาตและพระราชบัญญัติองค์การอิสระแห่งสหราชอาณาจักร เราได้รับเงินสนับสนุนร้อยละสิบห้าโดยรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้