IMD องค์กรระดับโลก ชี้บทบาท “ธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่” เป็นกลไกสำคัญช่วยรัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ประเทศ

พุธ ๒๕ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๐๖
เมื่อเร็วๆนี้ ศาสตราจารย์ อาร์ตูโร บริส ผู้อำนวยการสถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นองค์กรจัดทำดัชนีชี้วัดการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เปิดเผยระหว่างการบรรยายพิเศษ เรื่อง "Thailand and countries in Asia competitiveness and how the countries and C.P.Group should strategically plan for the next decade" ที่ห้องประชุม Auditorium ชั้น 6 ตึก Pegasus ทรู ดิจิทัล พาร์ค ถึงมุมมองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในขณะนี้ว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศทั่วโลกกำลังเปลี่ยนไป ไม่ได้เน้นที่ GDP เป็นหลักเช่นในอดีต แต่ปัจจุบันต้องคำนึงถึงการเติบโตที่มีคุณภาพชีวิต ความยั่งยืน การกระจายความมั่งคั่ง เพื่อตอบให้ได้ว่าคุณภาพชีวิตประชากรในประเทศจะดีขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมี 3 ประการ คือ 1.รัฐบาลต้องบริหารและกำกับกิจการที่มีประสิทธิภาพ 2.ความสามารถของภาคธุรกิจเอกชนในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีความสามารถสูง 3.ความสามารถขององค์กรธุรกิจในการสร้างนวัตกรรม

ศ.อาร์ตูโร กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้นพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะเพิ่มขีดการแข่งขันได้อีก โดยมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่รัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชนต้องมีประสิทธิภาพที่ดีทั้งคู่ ผลคือจะทำให้ประเทศมีเศรษฐกิจดีขึ้น ดังนั้นภาคธุรกิจเอกชนชั้นนำจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยอย่างคู่ขนานให้กับเศรษฐกิจประเทศไทย ทั้งรัฐบาลและเอกชนจะต้องมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศร่วมกัน และที่สำคัญต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้เท่าเทียม

"การจะสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพได้นั้น รัฐบาลต้องสวมบทบาทผู้นำโดยมีเอกชนมาร่วมหนุนในฐานะผู้ตาม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนของรัฐซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญให้เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่งคั่ง โดยเฉพาะเป็นความมั่งคั่งด้านคุณภาพชีวิตของประชากรที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนนี้เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจเอกชนจะมีส่วนช่วยประเทศได้ เพราะถ้าประเทศมั่งคั่งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ธุรกิจเอกชนก็ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน" ผอ.สถาบัน IMD กล่าว

ศ.อาร์ตูโร ยังกล่าวถึงแนวทางการสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่เหมาะสมต้องไม่ใช้วิธีกีดกันทางการค้า (Protectionism) หรือเลือกใช้วิธีอุดหนุนจากรัฐ (Subsidies) หรือใช้กรณีเพิ่มผลิตภาพ (Increase Productivity) ไปจนถึงมาตรการด้านภาษี (Taxes) เพียงอย่างเดียว แต่การสร้างประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจที่ดี ควรใช้วิธีสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ (Focus on job creation) ผสมผสานกับการที่รัฐใช้งบประมาณอัดฉีดในบางจุด รวมทั้งมีระบบประกันรายได้ขั้นต่ำร่วมด้วยบ้าง (Minimum Guaranteed Income) พร้อมกันนั้นต้องดึงภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้สังคมและประเทศ ทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้ทรัพยากรกระจายตัวยิ่งขึ้น เพิ่มทั้งความมั่งคั่งให้ประเทศและความมั่งคั่งด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน

ผอ.สถาบัน IMD กล่าวด้วยว่า จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของประเทศไทยตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา ในเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ไทยเน้นความสามารถในภาคการผลิตซึ่งทำได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือขีดความสามารถเหล่านี้ต้องแปรให้เป็นนโยบายสู่มวลชนได้ด้วย ดังนั้นบทบาทสำคัญของธุรกิจเอกชนคือการจ้างงานให้กลไกเศรษฐกิจหมุนเวียน พิจารณาอัตราค่าจ้างให้แรงงานที่เหมาะสม โดยข้อเท็จจริงคืออัตราค่าจ้างควรปรับขึ้นเพื่อให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่ดีมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และมีศักยภาพที่จะจ่ายภาษีซึ่งจะกลับสู่รัฐ และรัฐนำงบประมาณกลับมาพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนั้นนอกจากเอกชนจะลงทุนในเซคเตอร์ที่ถูกต้องแล้ว ภาครัฐต้องมีการช่วยเหลือด้านภาษี ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศ ทั้งหมดนี้จะเป็นระบบที่ช่วยทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นในอนาคต

"สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์ถือเป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจชั้นนำที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยขณะนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ทำได้ดีมากในฐานะผู้นำในประเด็นความยั่งยืนของประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของเครือฯ มีการวางเป้าหมายทางธุรกิจที่ไม่ผลักภาระไปสู่ผู้บริโภค เพราะอนาคตประเด็นความยั่งยืนจะเป็นวาระสำคัญในระบบการตลาด เนื่องจากองค์กรธุรกิจจะต้องไม่โยนภาระให้ลูกค้าเพียงเพื่อรักษาผลกำไรของตัวเองให้ขึ้นสูง แต่องค์กรธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบทางสังคมและผลของสิ่งนี้ก็จะช่วยขับเคลื่อนทั้งสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อมกัน" ศ.อาร์ตูโรกล่าว และว่า การเลือกเส้นทางความยั่งยืนจึงต้องเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรเช่นนี้ต่อไป

ผอ.สถาบัน IMD กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า จากข้อมูลของ IMD ที่จัดทำดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ จากการสำรวจเขตเศรษฐกิจทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก พบว่าบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มีเสถียรภาพมากนั้น มีทั้งส่วนที่เป็น Value Company และ Growth Company ที่มีบทบาทในการสร้างเศรษฐกิจและมูลค่าให้ประเทศ ดังนั้นจะเห็นว่าภาคเอกชนของแต่ละประเทศเป็นส่วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนรัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้ประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4