เวียตเจ็ทเผยผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รายรับธุรกิจขนส่งทางอากาศโต 25% พร้อมขยายเครือข่ายการบินสู่อินเดีย เจาะตลาดที่มีผู้บริโภคมากกว่า 1.2 พันล้านคน

จันทร์ ๐๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๗:๐๖
เวียตเจ็ท (Vietjet Aviation Joint Stock Company) รายงานผลประกอบการธุรกิจประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2562 เผยรายรับจากธุรกิจการขนส่งทางอากาศของสายการบินที่ 10,500 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 25% ทำให้เวียตเจ็ทมีรายรับและกำไรจากธุรกิจการขนส่งทางอากาศรวมทั้งปี 2562 ที่ 41,097 พันล้านดอง และ 3,936 พันล้านดอง ซึ่งเพิ่มขึ้น 21.4% และ 29.3% ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 สำหรับรายรับจากธุรกิจการขายและการเช่าคืนทรัพย์สินของเวียตเจ็ทได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ เนื่องจากสายการบินได้มีการทบทวนการรับมอบเครื่องบินจากบริษัทแอร์บัสในปี 2562 จากการรับมอบเครื่องบิน 16 ลำในปี 2561 มาเป็น 7 ลำปี 2562 ส่งผลให้รายรับสะสมและกำไรสะสมของเวียตเจ็ทในปี 2562 อยู่ที่ 52,095 พันล้านดอง และ 5,010 พันล้านดองตามลำดับ ซึ่งลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561
เวียตเจ็ทเผยผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รายรับธุรกิจขนส่งทางอากาศโต 25% พร้อมขยายเครือข่ายการบินสู่อินเดีย เจาะตลาดที่มีผู้บริโภคมากกว่า 1.2 พันล้านคน

สำหรับการชดเชยการรับมอบเครื่องบินลำใหม่ที่ลดลงจากแอร์บัส เวียตเจ็ตจึงทำการเช่าซื้อเครื่องบิน 9 ลำ ซึ่งทำให้สายการบินมีฝูงบินรวม 78 ลำ ปฏิบัติการชั่วโมงบินกว่า 321,000 ชั่วโมง บนเที่ยวบินจำนวน 139,000 เที่ยว ด้วยอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร 87% ความน่าเชื่อถือด้านเทคนิคที่ 99.64% ซึ่งติดอันดับกลุ่มสายการบินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เวียตเจ็ทยังได้รับการจัดอันดับด้านความปลอดภัยระดับ 7 ดาวจากเว็บไซต์ AirlineRatings.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ด้านความปลอดภัยและการจัดอันดับผลิตภัณฑ์ระดับโลก

การใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยในการดำเนินงานยังเป็นกุญแจสำคัญของเวียตเจ็ทในการยกระดับประสิทธิภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสายการบินได้ถ่ายโอนระบบข้อมูลกว่า 80% เข้าสู่ระบบ Amazon Cloud เป็นที่เรียบร้อย ผ่านการใช้โปรแกรม Flight Data Monitoring (FDM) ในการบริหารการทำงานของลูกเรือและสนับสนุนโปรแกรมควบคุมการใช้เชื้อเพลิง SFCO2 อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยโปรแกรม SFCO2 นี้ ทำให้ในปี 2562 ที่ผ่านมา เวียตเจ็ทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้มากกว่า 4.8 ล้านกิโลกรัม และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 15.3 ล้านกิโลกรัม

ธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วของเวียตเจ็ทยังเกิดจากกลยุทธ์การบริหารรายรับเสริมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงค่าบริการพิเศษ การบริหารการขนส่งสินค้า บริการบนเที่ยวบิน (อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าปลอดภาษี ฯลฯ) และการโฆษณา เฉพาะในปี 2562 เวียตเจ็ทมีรายรับเสริมที่ 11,356 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 35.2% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 โดยสัดส่วนของรายรับเสริมต่อรายรับรวมจากธุรกิจขนส่งทางอากาศของสายการบินเพิ่มขึ้นจาก 25.4% ในปี 2561 เป็น 30% ในปี 2562 ซึ่งสอดคล้องตามรูปแบบธุรกิจของสายการบินต้นทุนต่ำที่มุ่งเน้นความยั่งยืน รายรับสริมถือเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของเวียตเจ็ทเนื่องจากมีอัตราส่วนกำไรสุทธิสูงกว่า 90% นอกจากนี้ จากรายงาน CarTrawler YearBook 2019 เวียตเจ็ทยังติดลำดับที่ 12 ในรายชื่อสายการบินที่มีสัดส่วนรายรับเสริมสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับรายรับรวมจากธุรกิจขนส่งทางอากาศ

ข้อมูลจากรายงานงบการเงินรวมของเวียตเจ็ท ระบุว่าในปี 2562 สายการบินมีทรัพย์สิน 47,608 พันล้านดอง โดยเป็นส่วนของเจ้าของกิจการ (Owner's Equity)17,661 พันล้านดอง ซึ่งรวมถึงหุ้นทุนที่ได้รับคืน (Treasury Shares) 2,347 พันล้านดอง ซึ่งเพิ่มขึ้น 22% และ 25.8% ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 ปัจจุบันสายการบินมีสภาพคล่องที่ 1.4 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt-to-equity ratio) ที่ 0.77 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรมการบินเวียดนาม เวียตเจ็ทยังมีอัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDAR margin) ที่ 31% ซึ่งติดอันดับในกลุ่มสายการบินชั้นนำของโลก

ฝูงบินของเวียตเจ็ทถือว่ามีอายุการใช้งานเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ 2.75 ปี และมีประสิทธิภาพสูงด้านเชื้อเพลิง โดยเฉพาะในเดือนกันยายน 2562 สายการบินได้รับมอบเครื่องบินรุ่น A321neo ACF (Airbus Cabin Flex) ขนาด 240 ที่นั่ง ซึ่งเป็นลำแรกของโลก เครื่องบินรุ่นนี้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ต่ำสุด 16% ลดเสียงรบกวนได้ถึง 75% และลดการปล่อยไอเสียได้สูงถึง 50% โดยในปี 2563 นี้ เวียตเจ็ทมีแผนรับมอบเครื่องบินรุ่น new A321neo เพิ่มอีก 9 ลำ และเพิ่มอีก 20 ลำทุก ๆ ปีนับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยลดต้นทุนการบินและเพิ่มผลกำไรจากธุรกิจการขนส่งทางอากาศและกิจกรรมทางการเงินที่ใช้เครื่องบินได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เวียตเจ็ทยังคงมุ่งบริหารต้นทุนการดำเนินงานและการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อยกระดับธุรกิจการขนส่งทางอากาศของสายการบิน

ด้วยฝูงบินที่ทันสมัยและการขยายเครือข่ายการบินทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้เวียตเจ็ทมีศักยภาพการเติบโตสูง และเมื่อพิจารณาจากชัยภูมิที่ตั้งของเวียดนามซึ่งอยู่ในรัศมีการบินที่ครอบคุลมเขตที่อยู่อาศัยของประชากรเกือบครึ่งโลก เขตตลาดนี้จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างรายได้จำนวนมหาศาลและผลกำไรที่ดีเยี่ยมให้แก่สายการบิน เมื่อพิจารณาร่วมกับการเติบโตในส่วนของรายได้เสริมและอัตราค่าเชื้อเพลิงที่ต่ำ

เวียตเจ็ทเผยผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รายรับธุรกิจขนส่งทางอากาศโต 25% พร้อมขยายเครือข่ายการบินสู่อินเดีย เจาะตลาดที่มีผู้บริโภคมากกว่า 1.2 พันล้านคน เวียตเจ็ทเผยผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รายรับธุรกิจขนส่งทางอากาศโต 25% พร้อมขยายเครือข่ายการบินสู่อินเดีย เจาะตลาดที่มีผู้บริโภคมากกว่า 1.2 พันล้านคน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest