"ไม่เปลี่ยน ไม่รอด! New Business Normal หลังวิกฤตโควิด-19" พร้อม [แจกฟรี] วิธีปรับธุรกิจฝ่าวิกฤต โควิด-19 ร่วมส่งต่อความช่วยเหลือให้กับแพทย์และพยาบาล

อังคาร ๓๑ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๑๒
ด้วยสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 หลายธุรกิจต่างประสบปัญหา หรือถึงขั้นต้องหยุดกิจการชั่วคราวหรือปิดกิจการ รวมถึงผู้บริโภคที่ไม่อาจใช้ชีวิตได้แบบเดิม
ไม่เปลี่ยน ไม่รอด! New Business Normal หลังวิกฤตโควิด-19 พร้อม [แจกฟรี] วิธีปรับธุรกิจฝ่าวิกฤต โควิด-19 ร่วมส่งต่อความช่วยเหลือให้กับแพทย์และพยาบาล

ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล ผู้เขียนหนังสือขายดี “Digital Transformation in Action เปลี่ยนธุรกิจในยุคดิจิทัล Step-by-Step” ได้แลกเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์นี้ไว้ว่า แม้หลายธุรกิจได้มีนโยบายเพื่อให้ธุรกิจมีความต่อเนื่องการดำเนินงานได้ เช่น Work From Home, การจัดทำ Business Continuity Plan (BCP) และ Business Continuity Management (BCM) ถือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับองค์กรที่กำลังเผชิญกับผลกระทบจากไวรัส โควิด-19 แต่ความท้าทายสำหรับผู้นำและเจ้าของธุรกิจที่สำคัญ ก็คือ ระหว่างวิกฤตโควิด-19 ซึ่งอาจจะกินเวลา 3-6 เดือน หรือ มากกว่านั้น องค์กรควรดำเนินการอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการ Transform ธุรกิจเพื่อก้าวสู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าหรือก้าวเป็นผู้นำในยุคหลังโควิด-19

ซึ่งยุคนี้จะเป็นยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคและรูปแบบธุรกิจได้ถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปจากโลกก่อนหน้าวิกฤตนี้

New Business Normal หลังวิกฤตโควิด-19

เราได้เห็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดิจิทัลมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนทั้งจาก Alibaba, Baidu, Tencent, Huawei, Ping An ฯลฯ เป็นที่คาดได้ว่าหลังวิกฤติโควิด-19 พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป การดำเนินการของธุรกิจของจะเปลี่ยนไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการที่หลายธุรกิจจะหันมาทำ E-Commerce มากขึ้น ระบบนิเวศของ E-commerce เติบโตอย่างมาก ทั้งธุรกิจ Logistics, Delivery, สังคมแบบไร้เงินสด และระบบการขายสินค้าแบบอัตโนมัติ

การนำหุ่นยนต์ ยานพาหนะไร้คนขับ หรือแม้แต่โดรนมาให้บริการ การบริการออนไลน์ใหม่ๆ ที่จากเดิมเป็นการทำออฟไลน์ เช่น การศึกษา สุขภาพ การแพทย์ การประยุกต์ใช้สมาร์ทดีไวซ์ อีเวนต์ต่างๆ ที่ผันตัวมาจัดบนโลกออนไลน์ และ IoT การสร้างประสบการณ์เสมือนจริงด้วย VR (Virtual Realtiy) และ AR (Augmented Reality) ตลอดจนการลงทุนในดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ AI, Blockchain, 3D Printing ฯลฯ มาใช้กับธุรกิจการอย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรม

รวมไปถึงการเติบโตของ Gig Economy หรือระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ที่ผู้ทำงานทำงานในโปรเจกต์ระยะสั้น แบบรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เช่น ธุรกิจแบบ Grab, Airbnb, Fiverr (เว็บไซต์แพลทฟอร์มบริการจ้างงานฟรีแลนซ์ออนไลน์) ผู้ทำงานอิสระ (ผู้รับจ้าง) ผู้ใช้บริการ (ผู้ว่าจ้าง) และบริษัทซึ่งทำหน้าที่เป็นตลาดที่เชื่อมต่อผู้ทำงานระยะสั้น (Gig Worker) กับผู้ใช้บริการโดยตรง ซึ่งแน่นอนว่ารูปแบบการทำงานของคนทำงานและรูปแบบการจ้างงานขององค์กรต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไป

แล้วในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ องค์กรของเราควรที่จะหากลยุทธ์ในการปรับตัวให้สำเร็จ

โอกาสพลิกวิกฤตโควิด-19 ด้วย Digital Transformation

จากการสำรวจผู้บริหารทั่วโลกพบว่า โควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวเร่งให้องค์กรต้องปรับกลยุทธ์และลงทุนด้านดิจิทัล เพื่อ Transform เป็นธุรกิจดิจิทัล (Digital Business) อย่างเต็มรูปแบบโดยเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้องค์กรสามารถรับมือได้ทันการณ์ และให้องค์กรมีความสามารถในการสร้างการเติบโตครั้งใหม่ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และการดำเนินธุรกิจกลับมาเป็นปกติ

ซึ่งการทำ Digital Transformation คือกลยุทธ์ที่จะสร้างสิ่งนี้ให้กับองค์กรของเรา

Digital Transformation (DX) ประกอบไปด้วย 3 + 1 คือ เมื่อทำ DX แล้วจะต้องเกิดสามสิ่งนี้

หนึ่ง คือ New Efficiencies ไม่ใช่แค่การลดเวลาหรือต้นทุนลง หรือให้การดำเนินการของธุรกิจมีประสิทธิมากขึ้น แต่เป็นการสร้างประสิทธิภาพใหม่จากความสามารถใหม่ของธุรกิจสอง คือ Enhance Customer Experiences (CX) ต้องทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานเกิดประสบการณ์ใหม่ที่ดีกว่าการใช้งานหรือการรับบริการแบบเดิมๆสาม คือ Build New Business Models ธุรกิจสามารถสร้างรูปแบบโมเดลทางธุรกิจหรือโมเดลการหารายได้ใหม่ๆ ที่เกิดจากการที่องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันใหม่ แต่แค่ 3 สิ่งนี้ ก็เป็นเพียงการที่องค์กรกำลังทำ DX เท่านั้น

องค์กรที่ทำ DX แล้วประสบความสำเร็จ มีอีกสิ่งหนึ่งที่เข้าสูตร 3 + 1 คือ การทำให้เกิด New Growth หรือ New S-Curve เป็นการสร้างการเติบโตครั้งใหม่ให้กับธุรกิจ จนทำให้ธุรกิจนั้นสามารถรักษาหรือกลายมาเป็นผู้นำครั้งใหม่ได้

นี่เป็นเพียงผลลัพธ์จากการทำ DX ครับ สำหรับวิธีที่จะสร้างมันให้เกิดขึ้นจริงกับองค์กรของคุณแบบ Step-by-step อยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว และในสถานการณ์นี้ผมจะขอแจกแบบฟรีๆ ในรูปแบบ e-book เพียงกรอกข้อมูล พร้อมรับลิงค์ดาวน์โหลดทางอีเมล์ของคุณได้เลย เพื่อเป็นโอกาสที่พวกเราทุกคนจะได้ช่วยกันปรับตัวเพื่อพลิกวิกฤต รวมถึงเตรียมคว้าโอกาสเมื่อสถานการณ์คลี่คลายครับ นอกจากนั้นผมขอเชิญชวนส่งต่อความช่วยเหลือง่ายๆ ไปยังหน่วยงานหรือบุคคลที่กำลังต่อสู้กับโควิด-19 เพื่อพวกเรา

สำหรับวิธีการรับ e-book อยู่ทางด้านล่างนี้ครับ

[แจกฟรี] วิธีปรับธุรกิจฝ่าวิกฤต โควิด-19 พร้อมร่วมส่งต่อความช่วยเหลือให้กับแพทย์และพยาบาล

Step 1 : เข้ามาที่ www.thanapongphan.com/covid-19Step 2 : กรอกข้อมูลลงทะเบียนเพื่อรับ Download LinkStep 3 : ร่วมแชร์หรือบริจาคเงินสนับสนุนหน่วยงานที่สู้กับ โควิด-19

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3avqTou

สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/ThanapongphanThanyarattakul/

ไม่เปลี่ยน ไม่รอด! New Business Normal หลังวิกฤตโควิด-19 พร้อม [แจกฟรี] วิธีปรับธุรกิจฝ่าวิกฤต โควิด-19 ร่วมส่งต่อความช่วยเหลือให้กับแพทย์และพยาบาล ไม่เปลี่ยน ไม่รอด! New Business Normal หลังวิกฤตโควิด-19 พร้อม [แจกฟรี] วิธีปรับธุรกิจฝ่าวิกฤต โควิด-19 ร่วมส่งต่อความช่วยเหลือให้กับแพทย์และพยาบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๒๒ เสนา ตอกย้ำความสำเร็จ ในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
๐๙:๑๑ EP พร้อมเดินหน้ารับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม ดันผลงานปี67โตทะยาน 4 เท่า หลังได้รับการสนับสนุนเงินกู้ Project Finance จาก
๐๙:๓๘ BEST Express บุก บางบัวทอง เปิดแฟรนไซส์ขนส่งสาขาใหม่ มุ่งศึกษาพื้นที่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ตอบความต้องการตรงจุด
๐๙:๑๗ ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด
๐๙:๓๗ CPANEL APM ร่วมต้อนรับคณะนักธุรกิจชาวกัมพูชา พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิต Precast จ.ชลบุรี
๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้