TMA เผยผลการจัดอันดับฯ จาก IMD ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29

พุธ ๑๗ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๐๘:๕๔
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2563 โดยประเทศไทย มีผลคะแนนสุทธิลดลงจาก 77.233 มาอยู่ที่ 75.387 ส่งผลให้ผลการจัดอันดับของประเทศไทยลดลง 4 อันดับ จากอันดับที่ 25 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 29 ใกล้เคียงกับอันดับในปี 2561 ซึ่งอยู่ที่อันดับที่ 30 โดยผลของปัจจัยหลักที่แบ่งเป็น 4 ด้านนั้น มีผลการจัดอันดับดีขึ้น 2 ด้าน ประกอบด้วยด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ซึ่งดีขึ้น 4 อันดับ จากอันดับที่ 27 มาอยู่ที่อันดับ 23 และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งดีขึ้น 1 อันดับ จากอันดับที่ 45 มาอยู่ที่อันดับ 44 ในขณะที่สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ลดลง 6 อันดับ จากอันดับที่ 8 มาอยู่อันดับที่ 14 และ ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ลดลง 3 อันดับ จากอันดับที่ 20 มาอยู่อันดับที่ 23
TMA เผยผลการจัดอันดับฯ จาก IMD ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29

เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ซึ่งยังคงเป็นอันดับ 1 ส่วนอันดับที่ 2 ได้แก่ เดนมาร์กที่เพิ่มขึ้น 6 อันดับจากปีที่แล้ว ตามมาด้วย อันดับ 3 สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ และอันดับ 5 ฮ่องกง ทั้งนี้ IMD ทำการสำรวจและจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทั้งหมด 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก

สำหรับเขตเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับ อีก 4 ประเทศ มีอันดับลดลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมาเลเซียลดลง 5 อันดับอยู่ที่อันดับ 27 อินโดนีเซียลดลง 8 อันดับอยู่ที่อันดับ 40 ขณะที่ฟิลิปปินส์มีอันดับเพิ่มขึ้น 1 อันดับ อยู่ที่อันดับ 45 ส่วนสิงคโปร์นั้นยังคงเป็น อันดับ 1 จาก 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก

นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธาน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า ผลการจัดอันดับของไทยในภาพรวมลดลง เนื่องมาจากการถดถอยลงของสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ การขาดความสามารถในการดึงดูดทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งแนวโน้มปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระยะยาว อีกด้านหนึ่งก็คือประสิทธิภาพของภาครัฐ ซึ่งการถดถอยโดยหลักนั้นอยู่ที่กรอบนโยบาย กฎหมายและแนวทางการบริหารงานของสถาบันหลักต่างๆในการบริหารประเทศ รวมทั้งสถานะการคลังที่ถดถอยลง

อย่างไรก็ดีแม้อันดับโดยรวมของประเทศลดลง แต่ก็มีองค์ประกอบที่ดีขึ้นใน 2 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ในด้านแนวทางการบริหารและจัดการและทัศนคติและค่านิยมของภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ด้านตลาดแรงงานเริ่มกลายเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญ เช่น ประเด็นการผลิตแรงงานให้ตรงกับทิศทางการพัฒนาประเทศและความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต และนอกจากนั้นทุกภาคธุรกิจ ยังคงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งมีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำ ส่วนปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) นั้น มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอันดับในทิศทางดีขึ้นเล็กน้อย แต่คะแนนและอันดับขีดความสามารถโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ต่ำจึงต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นหลักได้แก่ ด้านการศึกษา การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โครงสร้างด้านวิทยาศาสตร์ และโครงสร้างด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ในปี 2563 IMD ได้เพิ่มตัวชี้วัดใหม่ในการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งไทยควรให้ความสนใจเพื่อเตรียมพร้อมพัฒนาให้สอดรับกับอนาคต ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ดัชนีระดับความเป็นประชาธิปไตย (Democracy Index) และสัดส่วนของผู้ประกอบการใหม่ในระยะเริ่มต้นธุรกิจ (Total early-stage entrepreneurial activity) ด้วย

คุณธีรนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่อันดับของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยมีการปรับตัวดีขึ้น 5 อันดับในปี 2562 แล้วกลับลดลง 4 อันดับในปีนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆได้อย่างทันการณ์นั้นยังคงเป็นความท้าทายของประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งไทยจำเป็นต้องมีกลไกในการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่ทำงานอย่างมีเอกภาพและมีความต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงอยากขอเสนอให้รัฐบาลกลับมาให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ในระดับต่าง ๆ อย่างชัดเจนขึ้น เช่น การรื้อฟื้นการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่ง ขันของประเทศ (กพข.) ซึ่งเป็นกลไกระดับชาติเพื่อให้ กพข.ทำหน้าที่ กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ ประสานความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน อนุมัติแผนงานและจัดสรรทรัพยากร เพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนและติดตามผลการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้สอดคล้องกับทิศทางและสถานการณ์ในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคต ด้วย

ทั้งนี้ TMA ได้มีบทบาทในการทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาโดยตลอด โดยได้ดำเนินการโครงการ Thailand Competitiveness Enhancement Program (TCEP) มาตลอดระยะเวลา 12 ปี เพื่อเป็นกลไกในการระดมความเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ และประสานความร่วมมือของภาคเอกชนกับภาครัฐ โดยได้พยายามผลักดันให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนในการทำแผนการพัฒนาและสร้างความสามารถขององค์กรต่าง ๆในการลงมือปฏิบัติเพื่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรและของประเทศในระยะยาว โดยมี TMA Center for Competitiveness เป็นหน่วยงานหลักในการประสานและขับเคลื่อนโครงการฯ โดยเป้าหมายของ TMA ยังคงมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งในระดับประเทศ ระดับองค์กร และระดับบุคคล ภายใต้แนวคิดหลัก 3 ประการ คือ การส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการเพิ่มศักยภาพความเป็นผู้นำและบริหารจัดการ

“ตลอดช่วงที่ผ่านมา ไทยมักจะมีปัญหาในเรื่องความต่อเนื่องในการให้การสนับสนุนและดำเนินการในเรื่องนี้ในระดับประเทศ แต่สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ยังคงมุ่งมั่นที่จะผลักดันประเด็นนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง เราจึงอยากเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกันขับเคลื่อนการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในแง่มุมต่าง ๆ เช่นที่เคยดำเนินการมา โดยในวันที่ 7-8 กันยายน 2563 นี้ TMA และเครือข่ายองค์กรภาคเอกชน จะมีการจัดสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2020 ภายใต้หัวข้อ Restarting, Winning the Future โดยในปีนี้มีการนำเสนอจากวิทยากรผ่านรูปแบบการจัดสัมมนาเสมือนจริงทางระบบออนไลน์ ( Virtual Conference) โดยมีผู้มีบริหารที่มีบทบาทนำในการขับเคลื่อนร่วมแสดงความคิดเห็น รวมทั้งการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดี โดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาของประเทศไทยในโลกหลังวิกฤตโควิด19 ต่อไป” คุณธีรนันท์กล่าวทิ้งท้าย

TMA เผยผลการจัดอันดับฯ จาก IMD ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29 TMA เผยผลการจัดอันดับฯ จาก IMD ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 29

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4