อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผู้นำธุรกิจการจัดแสดงสินค้าระดับนานาชาติ จับมือบริษัทชั้นนำด้านเครื่องจักรจัดทัพเทคโนโลยีและนวัตกรรมสุดล้ำ ในงานอินเตอร์แมค 2020

อังคาร ๑๘ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๐๘:๔๓
ภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย ยกเครื่องกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม สู่ยุคโรบอทดิจิทัล มั่นใจตลาดฟื้นหลังสิ้นสุดวิกฤติโควิด-19 อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผู้นำธุรกิจการจัดแสดงสินค้าและกิจกรรมสำหรับเจรจาธุรกิจ ระดับนานาชาติ จับมือบริษัทชั้นนำด้านเครื่องจักรจัดทัพเทคโนโลยีและนวัตกรรมสุดล้ำ ในงานอินเตอร์แมค 2020 ระหว่างวันที่ 23-26 กันยายนนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผู้นำธุรกิจการจัดแสดงสินค้าระดับนานาชาติ จับมือบริษัทชั้นนำด้านเครื่องจักรจัดทัพเทคโนโลยีและนวัตกรรมสุดล้ำ ในงานอินเตอร์แมค 2020

นายกัมปนาท ตันพิทักษ์สิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรบอท ซิสเต็ม จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการตื่นตัวในการพัฒนาและปรับตัวสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยเฉพาะหุ่นยนต์ หรือ โรโบติกส์ และInternet of Things (IOTs) มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตแบบเดิม ๆ ในยุคดิจิทัล(Disruption’ Digital) เพื่อทดแทนปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และยิ่งไปกว่านั้นกับการเกิดวิกฤติของโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับทุกประเทศทั่วโลก จึงเป็นตัวเร่งทำให้ผู้ประกอบการไทย ปรับทัศนคติในการพัฒนากระบวนการผลิตในแบบเร่งด่วนเพื่อฝ่าฟันธุรกิจให้อยู่รอดและเดินหน้าไปได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพื่อแก้ปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หากการผลิตในวันนี้ ยังคงพึ่งพาแรงงานมนุษย์

“ผลกระทบจากวิกฤติโควิด ครั้งนี้พบกว่า กลุ่มบริษัทที่ยังไม่เคยคิดตัดสินใจ หรือ อยู่ในระดับให้ความสนใจ พบว่าทั้งสองกลุ่มนี้มีความตื่นตัวมากขึ้น เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและยา เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมการเกษตร โลจิสติกส์ เป็นต้น เป็นกลุ่มที่มีความตื่นตัวมากที่สุด ซึ่งช่วงเวลานี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับกระบวนการผลิตไปสู่การใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม อาทิ หุ่นยนต์ IOTs และนวัตกรรมอื่น ๆ เพื่อการอยู่รอดของธุรกิจ โดยขณะนี้ไม่เพียงแต่บริษัทใหญ่ ๆ ที่หันมาสนใจในเทคโนโลยี โรโบติกส์ และการใช้หุ่นยนต์ทดแทนในสายการผลิตต่าง ๆ บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมก็เกิดการตื่นตัวในการใช้หุ่นยนต์ AI เพื่อทดแทนแรงงานมนุษย์ที่มีข้อจำกัดและกำลังขาดแคลนในขณะนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้แม้คำสั่งซื้อหุ่นยนต์ได้ชะลอตัวไปช่วงหนึ่งจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด แต่ขณะนี้ได้มีคำถามและความสนใจจากผู้ประกอบการจำนวนมากมายังบริษัทแสดงความสนใจและให้ความสำคัญที่จะศึกษาการปรับกระบวนการผลิตมาใช้หุ่นยนต์ แม้กระทั่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายเล็ก ก็เริ่มพร้อมที่จะปรับตัวเพราะปัจจุบันราคาของหุ่นยนต์ก็ลดลงและสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ผู้ประกอบจึงได้เตรียมพร้อมที่จะเดินหน้าปรับการผลิตสู่การใช้เทคโนโลยีและหุ่นยนต์ เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้หากเกิดวิกฤตโรคระบาดหรือวิกฤตอื่น ๆ ในอนาคตที่ยากต่อการคาดเดา” นายกัมปนาทกล่าว

โดยในระหว่างที่รอการผลิตวัคซีนป้องกันโควิดหรือการเฝ้าระวังรอบใหม่ ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มศึกษาการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการลดการสัมผัสของมนุษย์ ปัจจุบันพบว่ากลุ่มผู้ผลิตเหล่านี้จะใช้เวลาช่วง 4-5 เดือน ก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2563 ในการศึกษาหาข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดการลงทุนด้านเครื่องจักรที่รองรับการผลิตรูปแบบดิจิทัล ในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพคล่องและสถานะการเงินของธุรกิจ ซึ่งรายใดสามารถลงทุนได้ก่อนก็จะได้เปรียบในการปรับตัวสู่อนาคตที่จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์ให้น้อยลง จากการลดจำนวนของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ความต้องการความแม่นยำที่ผ่านการทำงานซ้ำๆ โดยมนุษย์ การลดการสัมผัสและการสูญเสียของวัตถุดิบ และลดเวลาการทำงานของแรงงาน และทดแทนแรงงานคนที่จำเป็นต้องมีการ reskill ไปทำงานด้านอื่นที่เหมาะสมและคุ้มค่ากว่าการใช้หุ่นยนต์ ซึ่งหากโรงงานได้มีการปรับกระบวนการผลิตก็ไม่ต้องกังวลกับวิกฤตอื่น ๆ ที่จะเกิดในอนาคต ฉะนั้นในช่วงนี้ถือเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยนำพาอุตสาหกรรมไปสู่อนาคตได้อย่างแท้จริง

สอดคล้องกับในช่วงวันที่ 23-26 กันยายนนี้ จะมีการจัดงานอินเตอร์แมค ที่เลื่อนจากกำหนดการเดิมคือ เดือนพฤษภาคม ก็จะมาเป็นช่วงเวลาดังกล่าวที่กำลังจะมาถึงนี้ นับได้ว่า เป็นจังหวะที่ดี ที่ผู้ผลิตจะได้มาชมความก้าวหน้าของเครื่องจักรและหุ่นยนต์ในรูปแบบต่างๆอย่างครบถ้วนที่สุด ภายในงาน จะมีการจัดแสดงหุ่นยนต์ที่มีการพัฒนาจนสามารถมีลูกตาอัจฉริยะเพื่อการมองเห็น ทั้งยังมีหุ่นยนต์ที่เพิ่มประสาทสัมผัสที่สามารถแยกแยะพื้นผิว ต่อยอดในการทำความสะอาดพื้นที่สแตนเลสหรือเงามัน หุ่นยนต์ 3D Printing gripper และ การแสดง VR simulator หรือห้องจำลองภาพเสมือนจริงให้ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในสายการผลิตของตนได้เห็นถึงการทำงานอย่างจำลอง ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนสภาพงานแบบ Interactive ให้ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนได้เองตามรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งงานอินเตอร์แมค ครั้งนี้จะช่วยตอบโจทย์กับผู้ประกอบไทยที่ต้องการเรียนรู้และอัพเดทความก้าวหน้าของนวัตกรรมระดับโลกได้ โดยเฉพาะในปีนี้ที่มีการจัดแสดงทางอุตสาหกรรมน้อย แต่เทคโนโลยีไม่ได้หยุดนิ่ง มีการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ มาตลอด หากผู้ประกอบการไม่มาเรียนรู้ก็จะไม่ได้ไอเดียไปพัฒนาธุรกิจ หากจะมัวแต่จะรอให้โควิดหมดไปก็จะไม่ทันคนอื่น ซึ่งผู้ประกอบการรู้ดีว่าใครลงมือก่อน ก็ย่อมคว้าโอกาสได้ก่อนเสมอ นายกัมปนาท กล่าวเสริม

ด้าน นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) กล่าวว่า จากที่อุตสาหกรรมของไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุค 2.0 และ 3.0 ไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 และการเป็นสมาร์ท แฟคทอรี่ (Smart Factory) ภายหลังสถานการณ์โควิด19 ได้เป็นตัวเร่งให้หลายอุตสาหกรรมของไทยเดินหน้าสู่การปรับทัพเป็น Smart Factory อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีการหันไปใช้เทคโนโลยี หุ่นยนต์ IOTs ระบบออโตเมชั่นสำหรับการปฏิบัติการ และ Big Data เข้าเสริมเพื่อการอยู่รอด โดยทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันไทยเยอรมัน ได้มีการโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center for Robotic Excellence: CoRE) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศ และเป็นเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานชั้นนำของประเทศ ซึ่งปัจจุบันมี 17 หน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจากภาคการศึกษาไปสู่การผลิตหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ และยกระดับไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนใน โดยมีหน่วยงาน Center of Robotic Excellence ช่วยขับเคลื่อนให้มาตรการการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ นายสมหวัง ได้กล่าวเสริมว่า ต่อจากนี้จะมีการเห็นการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไทยใน 3 ด้านหลัก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (products) ด้านกระบวนการผลิต (process) ด้านการใช้แรงงานมนุษย์ (people) ซึ่งจะปรับไปสู่การใช้หุ่นยนต์ ระบบ IOTs เพื่อการดำเนินงานของทั้งสามด้านมากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม S Curve ทั้ง 10 ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการพัฒนาของไทย แต่อาจมีการชะลอไปบ้างในบางอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดโดยตรง อาทิ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) แต่ อุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics), และ อุตสาหกรรมการแพยท์ครบวงจร (Medical Hub) จะมีการพัฒนาและเติบโตไปอย่างมากในปีนี้และอนาคต

นางสุกัญญา อมรนุรัตน์กุล ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการอาวุโส อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจการจัดแสดงสินค้าและกิจกรรมสำหรับเจรจาธุรกิจ ระดับนานาชาติ และพันธมิตรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชน เราจะยืนหยัดที่จะจัดงานอินเตอร์แมค (INTERMACH) งานแสดงสินค้าภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจรครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี ที่รวบรวมความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตที่ครบวงจร จัดขึ้นภายใต้ธีมงาน “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ” พร้อมแบรนด์ชั้นนำจาก 25 ประเทศตอบรับเข้าร่วมโดยผ่านการนำแสดงจากผู้ประกอบการและตัวแทนจำหน่ายในประเทศ นำเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิต อาทิเช่น ระบบโรงงานอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เครื่องมือสำหรับงานอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปโลหะ รวมเทคโนโลยีเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปงานโลหะแผ่น เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม เครื่องจักรสำหรับแม่พิมพ์อุตสาหกรรมและการผลิตอื่น ๆ และ รวมถึงเทคโนโลยีชั้นนำสู่ยุคเครื่องจักรอัตโนมัติ รวมถึงงานสัมมนาให้ความรู้ด้านอุตสาหกรรม โดยปีนี้จัดงานแบบไฮบริด เอ็กซ์ซิบิชั่น (Hybrid Exhibition) ครบองค์ประกอบกับการจัดการแสดงแบบองค์รวมโดยการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ดิจิตอลผสมผสานกับการจัดงานแสดงสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดงานและผู้ร่วมงานจากทั่วทุกมุมโลก ตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคนิว นอร์มัล เน้นความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงานและผู้ร่วมจัดงานตามมาตรฐานระดับโลกอย่าง อินฟอร์มา ออลซีเคียว (Informa AllSecure)

งานนี้ถือว่าเป็นงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมงานแรกและงานเดียวครั้งยิ่งใหญ่แห่งปีที่ผู้ประกอบการทุกอุตสาหกรรมทั้งรายใหญ่ รายย่อย ไม่ควรพลาดที่จะมาอัพเดทเทรนด์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ไม่ได้หยุดชะงักไปตามการระบาดของโรคโควิด แต่ในทางกลับกันสถานการณ์โรคระบาดและการเปลี่ยนแปลงของโลก กลับเป็นตัวกระตุ้นที่ให้เกิดการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรมควรที่จะมาเรียนรู้ถึงการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งนี้ เพื่อมุ่งสู่การทำธุรกิจในโลกอนาคตอย่างปลอดภัย ไร้กังวล ครบองค์ประกอบกับการจัดการแสดงแบบองค์รวมโดยการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ดิจิตอลผสมผสานกับการจัดงานแสดงสินค้าทั่วไป

งานอินเตอร์แมค (INTERMACH) จัดร่วมกับงาน ซับคอน ไทยแลนด์ (SUBCON Thailand) งานแสดงชิ้นส่วนอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการจัดซื้อชิ้นส่วนอุตสาหกรรม และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจชั้นนำของอาเซียน ซึ่งจะจัดพร้อมกับงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020 (ASE2020) งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมด้านพลังงานที่ครอบคลุมที่สุดในอาเซียน และงาน Boilex Asia and Pumps & Valves Asia & 2020 งานแสดงเทคโนโลยีเฉพาะทางด้านหม้อไอน้ำ ภาชนะรับแรงดัน ปั๊ม วาล์ว และอุปกรณ์เกี่ยวข้อง งานเดียวของประเทศไทย จะจัดขึ้นระหว่างวันพุธที่ 23 ถึงวันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของงานได้ที่ www.intermachshow.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4