มูลนิธิซิตี้ ร่วมกับ ยูเอ็นดีพี สนับสนุนโครงการบ่มเพาะธุรกิจ เพื่อฟื้นฟูธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชุนชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

อังคาร ๑๕ ธันวาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๕๒

มูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) ร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เปิดตัวโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนและนักบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมในระดับท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยให้กับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้หลักการสำคัญว่าด้วย "การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" โครงการดังกล่าวจะดำเนินการประเมินศักยภาพและความต้องการของชุมชน ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นักบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มชุมชนอื่น ๆ ในท้องถิ่น รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านการวางแผนธุรกิจและการสนับสนุนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ชุมชนต่าง ๆ ในระดับท้องถิ่นสามารถริเริ่มหรือพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้นและยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค รวมถึงเสริมสร้างโอกาสให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเยาวชน ตลอดจนผู้ว่างงานทั้งชายและหญิง

มูลนิธิซิตี้ ร่วมกับ ยูเอ็นดีพี สนับสนุนโครงการบ่มเพาะธุรกิจ เพื่อฟื้นฟูธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชุนชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

มร. ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย และตัวแทนมูลนิธิซิตี้ กล่าวว่า "ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่ได้ส่งผลทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง มูลนิธิซิตี้เห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าวจึงได้ริเริ่มกองทุน "การบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19" (COVID-19 Relief) เพื่อหนุนเสริมกลุ่มชุมชนที่ได้รับผลกระทบและช่วยเหลือให้พวกเขาฟื้นฟูผ่านกลไกและรูปแบบที่ท้องถิ่นกำหนด พร้อมทั้งเสริมสร้างและกระจายผลประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียม โครงการนี้เป็นความพยายามร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกในชุมชน ผู้นาภาคประชาสังคมและสถาบันวิชาการเพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยมูลนิธิซิตี้มีเป้าหมายในการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลกให้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินอย่างทั่วถึงควบคู่ไปกับการสร้างอาชีพสำหรับเยาวชน รวมถึงสร้างสภาพเศรษฐกิจของชุมชนที่ดีขึ้น นอกจากการให้ความช่วยเหลือแล้ว มูลนิธิซิตี้ยังได้ใช้ความเชี่ยวชาญในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำและความพร้อมของพนักงานที่สนับสนุนให้พันธกิจของบริษัทประสบความสำเร็จ และขับเคลื่อนแนวคิดความเป็นผู้นำและนวัตกรรมอีกด้วย

มร. เรโนด์ เมเยอร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า "พวกเรายินดีอย่างยิ่งที่ร่วมมือกับทางมูลนิธิซิตี้สำหรับการริเริ่มครั้งสำคัญนี้ อย่างที่ทราบกันดีว่าวิกฤตโควิด-19 ได้สะท้อนถึงความเสี่ยงและความท้าทายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ 3 จังหวัดชายแดนกาลังเผชิญหน้า ซึ่งโครงการนี้ได้ประยุกต์หลักนวัตกรรมทางสังคมและแนวทางผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน มีความเกี่ยวข้องและคาดการณ์ได้ยากมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในระดับฐานรากอย่างเร่งด่วนที่สุด"

สำหรับโครงการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนและนักบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมในระดับท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยให้กับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิซิตี้และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ที่จะดำเนินการประเมินศักยภาพและความต้องการของชุมชน ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นักบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มชุมชนอื่น ๆ ในท้องถิ่น รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านการวางแผนธุรกิจและการสนับสนุนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ชุมชนต่าง ๆ ในระดับท้องถิ่นสามารถริเริ่มหรือพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้นและยั่งยืน ซึ่งพวกเขาจะมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างโอกาสให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย เยาวชน ตลอดจนผู้ว่างงานทั้งชายและหญิง ภายใต้หลักการสาคัญว่าด้วย"การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"

โดยโครงการฯ จะมีการตรวจสอบการประเมินผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด ตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 6 เดือน ซึ่งตัวชี้วัดดังกล่าวถูกกำหนดร่วมกันระหว่าง UNDP และผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลกระทบทางสังคมและศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนาด้านการพัฒนาธุรกิจในภาคใต้ การกำหนดตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และการมีส่วนร่วมดังกล่าวจะเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นว่าการดำเนินการของวิสาหกิจชุมชนภายใต้โครงการฯ จะส่งผลกระทบเชิงบวกและเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกในชุมชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งตลอดหลายทศวรรษแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ทำให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ ผลกระทบที่ตามมาทำให้ประชาชนต้องเผชิญกับความลำบากในการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและความท้าทายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทำให้การสร้างอาชีพและสร้างงานอย่างเร่งด่วน ตลอดจนการสร้างรายได้ การสร้างเครือข่ายทางสังคมรองรับ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและการทำงานร่วมกันทางสังคมที่ดียิ่งขึ้น

ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิซิตี้ได้ที่ www.citifoundation.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest