ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจไทยพาณิชย์ ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ SCB Outlook เสนอการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจหนึ่งๆ โดยเฉพาะ

พฤหัส ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๐ ๑๔:๑๒
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Economic Intelligence Center: SCB EIC) จัดทำ SCB Outlook ทุกเดือนเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของแนวโน้มของเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญต่อธุรกิจหลักๆ ของไทย ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนั้นๆ โดยเฉพาะ

สำหรับ SCB Outlook ฉบับ มีนาคม 2010 เรายังคงคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตราว 3.5 — 4.5% ในปี 2553 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวจะได้รับอานิสงส์มากที่สุด โดยการขยายตัวของการส่งออกจะส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมโตตามไปด้วย ทั้งนี้ คาดว่าจะชะลอตัวลงในครึ่งปีหลัง เป็นผลจากการแผ่วลงของการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตาม ยังมี downside risk จากความไม่สงบทางการเมือง ปัญหามาบตาพุด และความรุนแรงของภัยแล้ง โดยหากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงและยืดเยื้อ จะทำให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาด ส่วนปัญหามาบตาพุด แม้เริ่มชัดเจนขึ้นแต่มีประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้ ส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนและการลงทุนของภาคเอกชน สำหรับปัญหาภัยแล้งนั้นจะส่งผลทำให้รายได้เกษตรกรลดลง

นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ที่จุดสูงสุดในไตรมาส 1 และทรงตัวในไตรมาส 2 ก่อนจะค่อยๆ ชะลอลงในครึ่งหลังของปี ซึ่งการประมาณการณ์ของ SCB EIC นั้นจะแตกต่างจากการประมาณการณ์โดยสำนักวิจัยอื่นๆ เพราะเรามองว่ารัฐบาลจะยกเลิกมาตราการที่เกี่ยวกับก๊าซ LPG สำหรับอุตสาหกรรมแต่จะยืดอายุมาตรการอื่นๆ ที่จะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย. และ ส.ค. นี้ ออกไปอีก ซึ่งน่าจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังไม่ปรับขึ้นในครึ่งแรกของปี 2553 และอาจปรับขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 25-50 bps ในครึ่งหลังของปี

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้แม้จะสำคัญในการสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทย แต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบต่อภาคธุรกิจหนึ่งๆ ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “คนมักใช้ตัวเลข GDP มาอ้างอิงในการประเมินภาพรวมธุรกิจและการวางแผน แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะมีตัวเลขทางเศรษฐกิจตัวอื่นๆ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจนั้นๆ ได้ดีกว่า เนื่องจาก GDP เป็นตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ได้สะท้อนผลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเป็นการเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ตัวเลข GDP ของไทย หรือแม้แต่ตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม ก็ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่ารายได้ของธุรกิจห้างสรรพสินค้าในปี 2553 จะดีหรือไม่ แต่เครื่องชี้วัดที่เราจัดทำขึ้นมาเองโดยอ้างอิงเพียงการบริโภคเฉพาะบางประเภท เช่น การบริโภคของชำ การบริโภคอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า กลับเป็นเครื่องชี้วัดที่ดีกว่ามาก และด้วยเหตุนี้เอง เราจึงจัดทำ SCB Outlook ขึ้นเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของแนวโน้มของเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญต่อธุรกิจหลักๆ ของไทย ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนั้นๆ โดยเฉพาะ”

นอกจากนี้ SCB Outlook ทุกฉบับจะมีเรื่องเจาะลึกประจำเล่ม โดยเลือกเรื่องที่เป็นที่น่าสนใจในช่วงเวลานั้นๆ หรือเป็นเกล็ดความรู้ที่ผู้ประกอบการในธุรกิจหนึ่งๆ ควรให้ความสนใจ โดยฉบับเดือนมีนาคม มีเรื่องเจาะลึกประจำเล่ม ได้แก่ เรื่อง “งบไทยเข้มแข็ง (SP2) ที่ใช้ไป 8.6 หมื่นล้านบาท มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร” “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราเงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรในปี 2010” และ “ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มมูลค่าห้องพักโรงแรมได้”

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน SCB Outlook ฉบับ มีนาคม 2010

สอบถามได้ที่ SCB Economic Intelligence Center (SCB EIC) คุณพิณัฐฐา อรุณทัต โทร.0-2544-2953

อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4