เมื่อ SME ต้องการเข้าหาแหล่งทุน โอกาสใหม่ธนาคารไทย

อังคาร ๑๑ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๕๕
รายงานในระดับภูมิภาคอาเซียนเผย SME ต้องเผชิญความท้าทายอันหลากหลายที่ประกอบด้วย ข้อบังคับที่เคร่งครัด โครงสร้างทางการเงินไม่มีความพอเพียง ช่องทางการแบ่งสรรปันส่วนที่มีความบกพร่อง และข้อกำหนดเรื่องความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้ยืมที่มีความเข้มงวด

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือธุรกิจเอสเอ็มอี (SMEs) ส่วนมากในประเทศไทยและหลายประเทศในอาเซียน ยังประสบปัญหาในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากทางสถาบันการเงิน ถึงแม้ว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ทั้งในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ และด้านการว่าจ้างงานของคนในประเทศก็ตาม ซึ่งปัญหานี้ถูกกล่าวถึงในรายงานที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างดีลอยท์และวีซ่า ในหัวข้อเกี่ยวกับ ดิจิตอล แบงกิ้งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : การพัฒนาเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี[1]

จากรายงานดังกล่าว พบว่า มีธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากในประเทศไทยที่ต้องการเงินทุน แต่ยังคงขาดการเข้าถึงและความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากสถาบันทางการเงิน ซึ่งในการลงทุนทำธุรกิจนั้น พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีมากถึง 90% ลงทุนโดยใช้เงินเก็บของตนเอง และ 62% หยิบยืมมาจากคนในครอบครัวหรือเพื่อนเนื่องจากธุรกิจเอสเอ็มอีกกว่า 58% ขาดคุณสมบัติในการกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงิน และผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีถึง 17% มองว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินนั้นเป็นเรื่องยาก

มร. โมฮิท เมโรทรา ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า "ธุรกิจเอสเอ็มอีถือเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ดังนั้นธุรกิจเอสเอ็มอีจึงควรเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลเป็นอันดับต้นๆจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างหน่วยงานรัฐบาล ผู้มีอำนาจควบคุม ธนาคาร และสถาบันทางการเงินต่างๆ ควรให้ความสำคัญ เพราะปัญหาความยุ่งยากในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือตลาดการส่งออก ถือเป็นตัวแปรที่กีดขวางการพัฒนาของธุรกิจเอสเอ็มอีในระดับภูมิภาค"

"ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องการแหล่งเงินทุนที่มีการหมุนเวียนที่เหมาะสมทั้งต่อการลงทุนและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การปฏิบัติงานและความสามารถในการผลิตเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด หากไม่มีเงินทุนที่เหมาะสม ธุรกิจเอสเอ็มอีจะไม่สามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ยืดหยุ่น พัฒนาหรือมีความยั่งยืน ในสภาวะที่มีการแข่งขันทางธุรกินอย่างดุเดือดในปัจจุบันได้" มร.เมโรทรา กล่าวเสริม

มร. ประจันท์ อักการ์วอล หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทวีซ่ากล่าวว่า "ในปัจจุบันมีนวัตกรรมที่จะมาเปลี่ยนโฉม (disruption) ตลาดการเงิน SME ยกตัวอย่างการให้กู้ยืมเงินระหว่างบุคคลโดยตรง (peer-to-peer lending) การใช้ข้อมูลการทำธุรกรรมจากบัตรเครดิตในการค้ำประกันเงินกู้และการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในโซ่อุปทาน เทรนเหล่านี้เป็นโอกาสสำหรับธนาคารที่จะร่วมมือกับภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแลและผู้กำหนดนโยบาย ในการเข้ามาแก้ไขและปรับปรุงตลาดธุรกิจเอสเอ็มอีให้ดียิ่งขึ้น"

ธุรกิจเอสเอ็มอี เป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน ซึ่งรัฐบาลในกลุ่มประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียนมีความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีมากขึ้นผ่านหลากหลายโครงการ แบบร่าง และนโยบายตามอำนาจของรัฐบาลแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเงินในปัจจุบันของธุรกิจเอสเอ็มในประเทศสมาชิกอาเซียน ยังคงต้องการการสนับสนุนและโอกาสทางธุรกิจจากทางธนาคารและสถาบันทางการเงินด้วยเช่นเดียวกัน

รายงานดังกล่าวได้ทำการสำรวจไปยังห้าประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในอาเซียน อย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย โดยธุรกิจเอสเอ็มอีในห้าประเทศนั้น คิดเป็นสัดส่วนจีดีพีประเทศระหว่าง 30% ถึง 60% และมีอัตราการว่าจ้างงานระหว่าง 60% ถึง 90% ของตลาดแรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีจากห้าประเทศหลักเพียง 60% เท่านั้นที่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงินได้ โดยแหล่งเงินทุนหลักของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอียังคงมาจากเงินทุนสำรองส่วนตัว

จากผลสำรวจในห้าประเทศระบุว่า กว่าครึ่งของธุรกิจเอสเอ็มอียังไม่ได้รับความช่วยเหลือเท่าที่ควร แสดงให้เห็นว่า ข้อเสนอที่ธนาคารและสถาบันทางการเงินในแต่ละประเทศมอบให้นั้นไม่ตรงตามความต้องการของธุรกิจเอสเอ็มอีเท่าที่ควร ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า เงินกู้ยืมที่ให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอีนั้นมีจำนวนน้อยกว่า 60%เมื่อเทียบกับการที่ธุรกิจเอสเอ็มอีมีส่วนช่วยในจีดีพี และมีขนาดน้อยกว่า 20% ของจำนวนเงินกู้ทั้งหมดที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก

อุปสรรคสำคัญของการกู้ยืมเงินของธุรกิจเอสเอ็มอี และส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาพรวมทางการเงินของธุรกิจเอสเอ็มอีในห้าประเทศประกอบด้วย

· ข้อบังคับการกู้ยืมที่มีความเข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น หลักเกณฑ์บาเซิล 3 (Basel III) ที่กำหนดให้การกู้ยืมเงินของธุรกิจเอสเอ็มอีมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยการกู้สูงขึ้นตามไปด้วย

· โครงสร้างทางการเงินที่ไม่เหมาะสม เช่น แหล่งเงินทุนของรัฐบาลที่มีน้อย และการรับรองสถานะทางการเงินมีความบกพร่อง ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนและไม่เป็นไปตามแบบแผนที่กำหนด

· โครงสร้างการแบ่งสรรปันส่วนที่ไม่มีคุณภาพ เช่น การที่ธุรกิจเอสเอ็มอีในชนบทถูกตัดขาดความช่วยเหลือ และไม่มีสาขาของธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่เพียงพอ ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเหล่านี้ต้องมองหาทางเลือกทางการเงินจากที่อื่น

· โมเดลความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้ยืมที่วัดจากหลักค้ำประกัน เช่น การที่ความเสี่ยงด้านเครดิตถูกประเมินด้วยข้อกำหนดมากมายที่มีความเข้มงวด ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไม่ได้รับเงินกู้ในจำนวนที่เพียงพอจากสถาบันทางการเงิน

ประเทศไทยกับโอกาสและความท้าทาย

ธุรกิจเอสเอ็มอีนับเป็น 37% ของจีดีพีโดยรวมในประเทศไทย และทำให้เกิดการว่าจ้างงานมากกว่า 80% ในตลาดแรงงานของประเทศ ซึ่งธุรกิจเอสเอ็มอีนั้นมีจุดศูนย์กลางใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีอายุน้อยกว่าสิบปีมีจำนวนมากถึง 70% ของธุรกิจเอสเอ็มอีทั้งหมด

หลังจากการปรับเปลี่ยนขนาดของเศรษฐกิจและธุรกิจเอสเอ็มอีให้สอดคล้องกับจีดีพีโดยรวมของประเทศแล้วประเทศไทยถือเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนในด้านการจัดระเบียบการให้กู้ยืมเงินแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเมื่อปี พ.ศ.2557 ที่ผ่านมา ธุรกิจเอสเอ็มที่ได้รับเงินกู้มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกือบหกหมื่นล้านบาท (171 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งมีจำนวนเงินกู้มากกว่าสิงคโปร์ที่มีมูลค่าเงินกู้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอีอยู่ที่ประมาณสองหมื่นล้านบาท (57 พันล้านดอลล่าร์สิงคโปร์)[2] ซึ่งเมื่อดูจากขนาดแล้ว ธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายอีกมาก ซึ่งความท้าทายทางด้านการเงินดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

· การได้รับข้อมูลและคำแนะนำที่ไม่เพียงพอจากสถาบันการเงิน

· ขั้นตอนเพื่อขอกู้ยืมเงินมีความซับซ้อนมากและไม่ได้รับความสะดวกในการดำเนินการ

· คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินไม่มีความเหมาะสม

· มีค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยที่สูง

· ขาด/ความบกพร่อง ของหลักค้ำประกัน

· ความท้าทายในด้านอื่นๆ ประกอบด้วย:

· ค่าจ้างแรงงานมีอัตราสูงขึ้น

· การเมืองไม่มั่นคง

· ขาด/ความบกพร่อง ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้าง

· ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

· กำลังซื้อของผู้บริโภคต่ำลง

· การขาดความเข้าใจในผลกระทบเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเกิดขึ้น และการที่จะทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีประสบผลสำเร็จในประเทศของตน

การเพิ่มโอกาสสู่จุดหมายเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี

โดยสรุปแล้ว ความท้าทายที่ธุรกิจเอสเอมอีในประชาคมอาเซียนกำลังเผชิญไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะยังเป็นเรื่องท้าทายที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในระบบเศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้าสูง อย่างบางประเทศในสหภาพยุโรป(European Union - EU) ซึ่งประเทศเหล่านี้สามารถเอาชนะความท้าทายในระบบการให้กู้ยืมเงินแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยการนำโซลูชันที่ใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มาปรับใช้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งในด้านการเงิน และด้านอื่นๆ ของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี

ในช่วงที่เงินตราเข้าสู่การยุคดิจิตอล ธนาคารและสถาบันการเงินในประชาคมอาเซียนสามารถพัฒนาโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ซึ่งอาจจะเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นผู้จัดทำโซลูชันดิจิตอล โดยการเป็นจับมือกับพันธมิตรกับ ธนาคารขนาดเล็กที่มีความสามารถในด้านดังกล่าว ธุรกิจฟินเทคส์ (FinTech หรือ financial technology) และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีที่กำลังมองหาช่องทางใหม่ ตัวอย่างเช่น ธนาคารสามารถปล่อยกู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านทางช่องทางอื่น หรือการใช้ข้อมูลทางการชำระเงินในบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตแก่ผู้กู้ยืม หรือการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายดิจิตอลเพื่อขยายจุดให้บริการของธนาคาร หรือการมอบชุดข้อมูลของผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีความครอบคลุมมากขึ้น

ด้วยประชาคมเศรษฐกิจ เออีซี กำลังจะเปิดตัวในสิ้นปี พ.ศ. 2558 นี้ จะมีส่วนทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีภายในภูมิภาคอาเซียนมีความเป็นเสรีมากขึ้นทั้งในด้านการค้าขายและการลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีต้องพบเจอกับปัญหาอีกมากในหลากหลายประเด็น และอาจจะกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ขัดขวางไม่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งพวกเขาจะต้องการความช่วยเหลือจากสถาบันทางการเงินเพื่อส่งเสริมในด้านพัฒนาธุรกิจของตนให้เติบโตและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในตลาด

เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดจากโอกาสในครั้งนี้ กลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินในภูมิภาคอาเซียนควรไตร่ตรองถึงบทบาทที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี และสำรวจตัวเลือกจากผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี ว่าควรจะสร้างช่องทางการเข้าถึงด้วยตัวสถาบันเอง หรือควรจะเพิ่มช่องทางใหม่ด้วยการลงนามเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ