กระตุกต่อมคิด ธุรกิจ กับสังคม จากงาน SET Social Impact Day 2017 “วันนี้ไม่มีใครสามารถที่จะบินได้ด้วยปีกข้างเดียว”

พุธ ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๔๔
ระยะสองสามปีมานี้มีการพูดถึงการทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) กันมากขึ้น บ้างยังสงสัยว่า ภาคธุรกิจกับสังคมจะเติบโตไปพร้อมกันได้อย่างไร บ้างก็ยังแย้งว่า ธุรกิจต้องกำไรก่อน แล้วค่อยคืนกลับสังคม ขณะที่ เริ่มบทพิสูจน์แล้วว่า การคิดถึงสังคม ตั้งแต่แรกเริ่มของการตั้งธุรกิจ ใส่ในวัตถุประสงค์เลยก็สามารถทำให้ธุรกิจนั้นมีกำไรได้

ในงาน SET Social Impact Day 2017: Partnership for the Goals "รวมพลังเพื่อความยั่งยืน" ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้เป็นเจ้าภาพจัดมาเป็นปีที่ 2 จึงได้รับความสนใจจากภาคธุรกิจ บริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ กิจการเพื่อสังคม กันอย่างเนืองแน่น กว่า 500 คน แต่ละกิจกรรมที่ได้ออกแบบไว้ ไม่ว่าจะเป็นการนำบรรดาผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม คนรุ่นใหม่ ที่เต็มไปด้วยพลังมาออกบูธ และเปิดโอกาสให้ระเบิดไอเดีย นำเสนอเรื่องราวที่พวกเขาตั้งใจจะให้เกิดขึ้น การเสวนา บอกเล่าประสบการณ์ ในช่วง "ความรู้จากผู้ลงมือทำจริง สู่การต่อยอดธุรกิจและสังคมที่ดี" และการเชิญ กูรูแบรนด์ดิ้ง อย่าง ดร.ศิริกุล เลากัยกุล Brand Strategist & Sustainability Advisor, The Brand Being Consultant Co., Ltd มากระตุกต่อมคิดแบบแรงๆ โดยเฉพาะในช่วงท้ายกับประโยคที่ว่า

"ประวัติศาสตร์ พิสูจน์มาแล้วว่า การเติบโตต้องมีการรวมพลัง ดังนั้น ถ้าเราอยากได้อนาคตที่ยั่งยืน การที่จะร่วมกันทำ เป็นพันธมิตร มันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ขอให้เรานึกไว้คำเดียวเลยว่า วันนี้ไม่มีใครสามารถที่จะบินได้ด้วยปีกข้างเดียว"

ดร.ศิริกุล ยังได้ฉายภาพเล่าเรื่องวิวัฒนาการของธุรกิจกับการทำเพื่อสังคม ที่เริ่มจากเจ้าของธุรกิจชอบและอยากทำความดี ก็เกิดโครงการ มีการบริจาค มีมูลนิธิ จากนั้นก็มีการพูดถึงว่า ต้องทำให้เป็นเรื่องเป็นราวเป็นรูปธรรม มีคนรับผิดชอบ ได้มาตรฐาน คำนึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ก็เกิดเป็นซีเอสอาร์ และต้องการให้เกิดความยั่งยืน ก็เกิดแนวคิดที่จะต้องมีความร่วมมือกัน สร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคม จนนำไปสู่แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะต้องคำนึงถึงทั้ง คน สังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจ ไปพร้อมๆ กัน รวมถึงการเกิดพลังคนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมาก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม ซึ่งดร.ศิริกุล ระบุชัดเจนว่า การจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จจะต้องหาพันธมิตรมาทำงานร่วมกันให้ได้

"อย่างไรก็ตาม การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคม นั้นมีเพียงพลัง ความมุ่งมั่น ยังไม่พอ การจะไปได้ไกลกว่า มีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน ก็จะต้องหาทางให้ธุรกิจกับกิจการสังคมมาเป็นพลังความร่วมมือกันจริงๆ ขณะที่ในทุกกระบวนการทำงานจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก โดยธุรกิจใหญ่ ไม่ควรทำเพียงเป็นโค้ช แต่ควรจะต้องช่วยกันบอกเล่าประกาศออกไป ถึงความสำคัญของการมีกิจการเพื่อสังคม และจะต้องช่วยสร้างระบบนิเวศน์ให้กิจการเพื่อสังคม ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และต้องถ่ายทอดเทคนิคการทำโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม และการทำงานร่วมกันจะต้องเป็นลักษณะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญธุรกิจจะต้องมีความเชื่อมั่นว่า ความเจริญเติบโตของ SE จะส่งผลต่อความเติบโตของแบรนด์ ในที่สุด ดังที่เรียกว่า Share Value อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เลือกมาทำ ต้องสอดคล้องกับแบรนด์ จึงจะยั่งยืน"

ดร.วิสุทธิ วิทยฐานกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าเป็นมิติที่ดี ที่มีการพูดถึงเรื่องกิจการเพื่อสังคมกันเยอะขึ้น การมีธุรกิจเพื่อสังคม (SE) เกิดขึ้นที่ไหน แสดงว่าคนรอบข้างมีส่วนร่วมใน SE ได้ และจะทำให้เมืองไทยมีสิ่งดีๆ มากมาย ซึ่ง แนะนำว่า จะทำกิจการเพื่อสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมให้ได้ผล ขอให้คิดและทำเรื่องเดียวก็พอ โดยทำเรื่องที่ถนัด มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ หากทุกคนต่างคนต่างทำในความเชี่ยวชาญ สังคมก็จะดีขึ้น

ส่วนบริษัทที่ทำธุรกิจสื่อสารอย่าง "ดีแทค" ที่กำลังทำเรื่องสร้าง Young Smart Farmer โดยทำงาน ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเนคเทค ในการใช้เทคโนโลยี มาช่วยทำให้เกษตรกร เข้าไปสู่การเป็น สมาร์ทฟาร์มเมอร์ กลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรอายุต่ำกว่า 50 ปี ต้องการเป็นเจ้าของกิจการ คุณ อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ให้สูตรสำเร็จในการทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อสร้างผลกระทบที่ดีให้เกิดขึ้นว่าจะต้องมี 4 shares คือ Share Goal, Share Game, Share Success แล้วก็ที่สำคัญที่สุดคือ Share Failure

"Share goal หรือ เป้าหมาย ที่พันธมิตรจะต้องชัดเจน เช่น ต้องการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อ boost up GDP ช่วยคนที่เป็นรากของเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันเราก็จะต้องมีเป้าหมายเดียวกันว่า อยากจะเอาเทคโนโลยีไปช่วยเติมเต็มช่องว่างนั้น Share game คือเราทำงานร่วมกับเกษตรกร กระทรวง เรามีการกำหนดการทำงานที่ชัดเจนว่าจะร่วมกันทำงาน ไม่ใช่ว่าเอกชนคือจ่ายเงินอย่างเดียว แต่เราจะต้องลงพื้นที่ด้วยกัน ลองผิดลองถูกด้วยกัน และ Share Success คือแน่นอนว่าเรามีความสำเร็จมากมายเราก็จะต้องแชร์ยิ้มไปด้วยกัน แต่ที่สำคัญคือ Share Failure หมายถึงเมื่อมีความล้มเหลว เราก็จะเอาความล้มเหลว นั้นกลับมาคิดร่วมกันเสมอว่า มันผิดที่ตรงไหนแล้วเราจะร่วมพัฒนาไปในทางไหน อันนี้ก็เป็นสูตรสำคัญในเรื่องของการมีพันธมิตร หรือ Partnership ซึ่งเร็วๆนี้ เราจะนำโครงการความร่วมมือต่างๆ ของเราไป ชิงรางวัลกับสหประชาชาติในปีหน้าด้วย"

ด้าน พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ซึ่งทำกิจกรรมเพื่อสังคมทั้งสามด้านคือ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม และทำมาหลายเรื่อง ก็พบและเรียนรู้ว่า การทำงานให้เกิดอิมแพค จะต้องมีพันธมิตร นำไปสู่ความคิดและการทำงานรูปแบบใหม่ๆ ที่เข้าถึงชุมชนมากขึ้น เช่นการทำงาน ร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน "เราได้คุยกับคุณมีชัย วีระไวทยะ ซึ่งแนะนำให้เราเปลี่ยนวิธีทำงาน จากลงพื้นที่ไปทุกชุมชน ที่ร้องขอมาก็เปลี่ยนเป็นเลือกชุมชนมาหนึ่งชุมชน มาทำต่อเนื่อง แล้วก็เอาความเชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพของทางโรงพยาบาลเข้าไปร่วมทำงาน"

ด้านคนรุ่นใหม่ อย่าง ณัชชา โรจน์วิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ และผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ บริษัท บลิกซ์ พ็อพ ผลิตภัณฑ์ของเล่นที่คำนึงถึงพัฒนาการ ความเก่ง ความฉลาด ทักษะทางสังคม ความสุข ของเด็ก โดยเฉพาะเด็กพิเศษ ฉายภาพชัดเจนว่า พลังที่มีคงไปไม่ได้ไกลหากขาดสปอนเซอร์ และพาร์ทเนอร์ชิพ ซึ่งจากการได้รับความร่วมมือจาก รพ.สมิติเวช และอีกหลายแห่ง ทำให้สามารถระดมทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์ให้โรงเรียนสอนคนตาบอดทั่วประเทศ 16 แห่ง และศูนย์การศึกษาพิเศษอีก 30 แห่ง

การเป็น SE เราไม่ได้มองถึง profit สูงสุด แต่ว่าเราต้องอยู่รอดได้ จากโครงการนี้เราได้เริ่มขยายออกไปในเรื่องการออกบูธ ออกงานทั้งหลาย เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เราได้เดินมาจนถึงทุกวันนี้ก็เพราะว่าเรามีสปอนเซอร์และพาร์ทเนอร์ชิพ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ SET ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งให้เราได้มีโอกาสประชาสัมพันธ์ตัวเอง ประชาสัมพันธ์บริษัทของเรา ว่าเราทำอะไร เราอยากจะช่วยสังคมในแง่มุมไหน ต้องขอบคุณ media ด้วยที่ให้ความสำคัญ วันนี้เราเป็นจุดเล็กๆ แต่เขาให้ความสำคัญว่าเราจะช่วยกันเปลี่ยนสังคม สุดท้ายอยากจะฝากเพื่อนๆ SEด้วยกันดีกว่าว่า อย่าลืมแรงบันดาลใจของตัวเอง จริงๆ แล้วพลังที่ดีที่สุดก็คือแรงบันดาลใจของเรา มันจะให้พลังกับเราตลอดเวลาว่าเราจะเดินต่อไปยังไง ตัวเราเองก็มีพลังสำคัญก็คือน้องๆ ทุกวันนี้ไปเจอน้องๆก็รู้สึกว่าเราได้เติมพลัง ก็อยากให้ทุกท่านลองชาร์จพลังกับตัวเองบ่อยๆ จะได้มีกำลังเดินต่อไปในธุรกิจนี้

และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ การจัดงาน SET Social Impact Day 2017 ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดขึ้น พร้อมทำหน้าที่เป็นจิ๊กซอสำคัญในการเชื่อมโยงแต่ละภาคส่วนให้มาเจอกัน เป็นพันธมิตร และยังเดินหน้าต่อในเรื่องนี้ ดังคำบอกเล่าของ นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย "ทางตลาดหลักทรัพย์จะได้เดินหน้า ทำเรื่องการสร้างพันธมิตร ซึ่งเป็นเป้าหมายข้อที่ 17 ของ SDG ต่อไป และเชื่อเลยค่ะว่า เรื่องดีเหล่านี้เป็นเรื่องที่จะสามารถเติบโตต่อไปได้ ในสังคมไทย อย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจเข้าไปเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการ SET Social Impact สามารถเข้าถึงข้อมูลและกิจกรรมต่างๆ ผ่าน เว็บไซต์ www. SETSocialImpact.com"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ