เมืองเจียงเหมินรุกเดินหน้าเปิดประตูสู่เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า

จันทร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๗:๒๘
ในฐานะบ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเล เมืองเจียงเหมินได้ดำเนินงานอย่างเต็มกำลังเพื่อสร้างการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมที่รู้จักกันในชื่อ "Qiaomengyuan" (Dream Incubator for Overseas Chinese หรือพื้นที่เพาะฝันสำหรับชาวจีนโพ้นทะเล) จัดตั้งกองทุนพัฒนาสตาร์ทอัพและนวัตกรรมมูลค่า 2 พันล้านหยวน รวมทั้งสร้างศูนย์กลางการคมนาคมสำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพิร์ล โดยรัฐบาลเทศบาลนครเจียงเหมินระบุว่า การดำเนินงานเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เมืองเจียงเหมินเป็นแหล่งรวมชาวจีนโพ้นทะเลที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมเร่งผลักดันการเปิดประตูสู่ภายนอก

สำหรับชาวจีนโพ้นทะเลเกือบ 4 ล้านคนจาก 107 ประเทศและดินแดนนั้น เจียงเหมินถือเป็นบ้านของบรรพบุรุษของพวกเขา ทำให้เมืองแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นบ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเล โดยแต่ไหนแต่ไรมา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเมืองเจียงเหมินล้วนกระตุ้นให้เหล่าชาวจีนโพ้นทะเลทั้งในและต่างประเทศรู้สึกมีอารมณ์ร่วม เช่นเดียวกับคุณ Li Wenda ประธานของลีกุมกี่ กรุ๊ป (LEE KUM KEE Group) เจ้าของฉายา "อาณาจักรแห่งซอสปรุงรส" โดยลีกุมกี่ กรุ๊ป ได้ตั้งโรงงานขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัทในเขตซินหุ้ย เมืองเจียงเหมิน เมื่อปีพ.ศ.2538 จนปัจจุบันบริษัทได้ก้าวขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารของจีนด้วยมูลค่าการผลิตกว่า 2 หมื่นล้านหยวน ซึ่งคุณ Li กล่าวอยู่เสมอว่า "ซินหุ้ยเป็นบ้านเกิดของผม และต้นกำเนิดของลีกุมกี่" ทั้งนี้ จากข้อมูล ณ สิ้นปี 2559 เมืองเจียงเหมินได้รับเงินบริจาคมูลค่า 7.41 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง และเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 2.361 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐจากชาวจีนโพ้นทะเล

เมืองเจียงเหมินให้ความสำคัญกับคนเก่งหรือคนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งนอกจากจะเป็นทรัพยากรที่จำเป็นแล้ว พลังและความคิดสร้างสรรค์ของคนกลุ่มนี้ยังมีบทบาทอย่างยิ่งในการส่งเสริมนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ เจียงเหมินมุ่งมั่นเสมอมาที่จะเชื่อมโยงโลกผ่านทางชาวจีนโพ้นทะเล ด้วยการเปิดพื้นที่สนับสนุนนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการให้แก่ชาวจีนโพ้นทะเลจากทั่วโลก ซึ่งรวมถึง World Youth Congress of Jiangmen และ Dream Incubator ดังที่กล่าวถึงในข้างต้น โดยพื้นที่เพาะฝันแห่งนี้ได้ให้การต้อนรับคนเก่งระดับหัวกะทิกว่า 810 ราย อีกทั้งยังได้เชิญโครงการราว 250 โครงการที่มีการลงนามแล้วหรือวางแผนที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่แห่งนี้ อันจะนำมาซึ่งการระดมความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อประสานเข้าด้วยกัน นอกเหนือจากนี้ การประชุม Global Conference of the Cantonese ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นในเมืองเจียงเหมิน จะดึงดูดชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกกลับคืนสู่รากเหง้าของบรรพบุรุษ ตลอดจนมองหาช่องทางการลงทุนที่เป็นไปได้ โดยเมืองเจียงเหมินได้จัดตั้งกรมการประสานงาน 19 แห่งในประเทศต่างๆ เพื่อขยายเครือข่ายชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก

ขณะเดียวกันการวางแผนพัฒนากลุ่มเมือง (Urban Cluster) ภายในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า หรือ Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area ที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อช่วงต้นปีนี้ ถือเป็นนิมิตหมายว่า ประตูสู่การค้าระดับโลกบริเวณปากแม่น้ำเพิร์ลกำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เทียบชั้นเขตอ่าวที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกอย่างนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก และโตเกียว เจียงเหมินถือเป็นส่วนสำคัญของเขตอ่าวในภูมิภาคจีนตอนใต้ โดยเชื่อมต่อสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ฮ่องกง และมาเก๊า เข้ากับมณฑลกวางตุ้งฝั่งตะวันตก นอกจากนี้ เจียงเหมินยังได้จัดสรรเงินลงทุน 4 พันล้านหยวนเพื่อสร้าง Jiangmen Station ซึ่งจะเนรมิตให้เมืองเจียงเหมินกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งแบบบูรณาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในมณฑลกวางตุ้งฝั่งตะวันตกเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ทั้งนี้ เจียงเหมินครอบคลุมพื้นที่ 9,504 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของขนาดพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ทว่ามีความหนาแน่นด้านการพัฒนาเพียง 11.6% จึงยังเหลือพื้นที่และศักยภาพสำหรับการพัฒนาและยกระดับอีกมาก ยกตัวอย่างเช่น เขตเศรษฐกิจ Greater Guanghai Bay Economic Zone ซึ่งเป็นที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเพิร์ลที่ยังไม่มีใครเข้าไปใช้ประโยชน์ คาดว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นเขตเศรษฐกิจระดับมณฑลที่ใหญ่ที่สุดของกวางตุ้ง โดยมีพื้นที่วางผังประมาณ 3,240 ตารางกิโลเมตร และความหนาแน่นในการพัฒนาที่ดินอยู่ที่ 5%

นอกจากนี้ได้มีความพยายามในการรวบรวมใบรับรองและใบอนุญาตต่างๆ ให้เป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจเพียงใบเดียว เพื่อปรับปรุงการบริการของรัฐบาลให้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นผู้นำของประเทศในการยกระดับประสิทธิภาพการบริหาร ซึ่งสามารถดึงดูดคณะผู้แทนจากเมืองต่างๆ กว่า 100 เมือง ในขณะเดียวกัน การจัดตั้งกลไกการติดตามรายการค่าธรรมเนียมและการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้นได้ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ และยังเป็นแม่เหล็กดึงดูดเหล่าผู้นำอุตสาหกรรม อาทิ Siemens และ Knorr-Bremse Group, CRRC Guangdong Company และ Guangdong FUWA Engineering Group อีกด้วย

ข้อมูลสถิติแสดงให้เห็นว่า เจียงเหมินเป็นบ้านของธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อยจำนวนกว่า 48,000 แห่ง เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม เจียงเหมินจะสนับสนุนการติดต่อสื่อสารและความร่วมมือระหว่างชาวจีนโพ้นทะเลกับผู้ประกอบการ ทั้งในสาขาธุรกิจและการค้า วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และสาธารณสุข โดยเมืองเจียงเมินจะสนับสนุนนโยบายสิทธิพิเศษต่างๆ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย ควบคู่กับการขยายขอบข่ายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีภายในเขตอ่าวเพิ่มมากขึ้น

ที่มา: รัฐบาลเทศบาลนครเจียงเหมิน

AsiaNet 70881

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital