ดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟด ไม่เป็นไรจริงหรือ

จันทร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๖:๑๕
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ยังคงมุมมองเดิมว่าธปท.จะคงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้ แต่จะเริ่มมีแรงกดดันให้ต้องปรับขึ้น จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯที่ลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) ที่ลดลง ในขณะที่ประเด็นเงินทุนไหลออกรุนแรงยังไม่น่ากังวล จากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังแข็งแกร่งโดยเฉพาะภาคต่างประเทศ

ตามการคาดการณ์ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ จะมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในปีนี้ และอีก 3 ครั้งในปีหน้า ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฟดขยับไปอยู่ที่ 2.0-2.25% ณ สิ้นปี 2018 ซึ่งหากดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ยังคงไว้ที่ 1.5% จะทำให้ดอกเบี้ยเฟดสูงกว่าดอกเบี้ยไทยถึง 0.75%

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอัตราดอกเบี้ยเฟดที่สูงกว่าไทยนี้อาจมีผลทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออก อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิเคราะห์ฯ คาดว่าเงินทุนจะไม่ไหลออกรุนแรงเนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังแข็งแกร่งโดยเฉพาะภาคต่างประเทศที่มองว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่องในปี 2018 โดยการส่งออกสุทธิคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 8.4 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะขยายตัวได้กว่า 6.5% อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่ไหลออกดังกล่าว แม้จะไม่รุนแรงแต่ก็อาจทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้นด้วย

นอกจากเงินทุนไหลออกแล้ว ดอกเบี้ยไทยที่เข้าใกล้หรือต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟดยังสร้างแรงกดดันให้ swap point ติดลบมากขึ้นด้วย ซึ่ง swap point นี้เป็นตัวกำหนด อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า หรือ forward rate ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่ผู้ส่งออกจะได้รับเมื่อทำสัญญา forward ขายเงินดอลลาร์ล่วงหน้าให้แก่ธนาคาร โดยอัตรา forward จะเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันหรือ spot บวกด้วย swap point ดังนั้น swap point ที่ติดลบจะทำให้อัตรา forward ต่ำกว่า spot หมายความว่า ผู้ส่งออกจะแลกเงินดอลลาร์เป็นเงินไทยน้อยลงจากการทำ forward

โดย swap point ของไทยเริ่มติดลบมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีนี้ หลังจากที่เฟดค่อยๆ ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา swap point ประเภท 6 เดือน ในตลาดในประเทศ อยู่ที่ประมาณ -3 ถึง -7 สตางค์ โดยศูนย์วิเคราะห์ฯ คาดว่าหากธปท.ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% จนถึงสิ้นปี 2018 ในขณะที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยได้ 3 ครั้ง จะทำให้ swap point ดังกล่าวติดลบถึง 18 สตางค์

หากพิจารณาช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ ดอกเบี้ยนโยบายไทยก็เคยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟดในช่วงปี 2005-2006 ซึ่งเป็นช่วงที่อัตราเงินเฟ้อของทั้งสองประเทศอยู่ในระดับสูง ทำให้ธนาคารกลางทั้งสองต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว โดยดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟดมากที่สุดที่ 0.75% ทำให้ swap point ลงไปต่ำสุดที่ -12 สตางค์ ในขณะที่ Bond yield 10 ปี แกว่งตัวในกรอบ 3.9-6.7% นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนก็เคลื่อนตัวในกรอบที่กว้าง ระหว่าง 35-42 บาทต่อดอลลาร์ สะท้อนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้น หลังจากเป็นเวลาเกือบ 4 ปีที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวที่ 1.5% ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่ามีโอกาสที่จะเริ่มเห็นดอกเบี้ยกลับมาเป็นขาขึ้นในปีหน้า แต่จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4