ก.ล.ต. มุ่งพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย พร้อมยกระดับการคุ้มครองผู้ลงทุน

พุธ ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๓:๔๗
ก.ล.ต. ส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทย โดยปรับเปลี่ยนเกณฑ์ให้เหมาะกับสภาวะตลาดและความต้องการของผู้ลงทุนในปัจจุบัน เพื่อให้ตราสารหนี้เป็นทางเลือกสำคัญของการระดมทุน ในขณะที่มีการคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

นางจารุพรรณ อินทรรุ่ง ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า "ตลาดตราสารหนี้ถือเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของเศรษฐกิจไทย ควบคู่กับตลาดตราสารทุนและระบบธนาคารพาณิชย์ ที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้มีอัตราการเติบโตมากอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศมาอยู่ที่ร้อยละ 75 ในช่วงระยะ 20 ปีที่ผ่านมา โดย ณ 30 กันยายน 2560 มียอดมูลค่าคงค้างตราสารหนี้เอกชน 3.78 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นหุ้นกู้ร้อยละ 92 และตั๋วเงินอีกร้อยละ 8"

"ก.ล.ต. ยึดหลักสร้างความสมดุลระหว่างการอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจใช้ตราสารหนี้เป็นทางเลือกในการระดมทุนได้โดยไม่มีภาระมากจนเกินไป คู่กับการมีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนในระดับที่เหมาะสม เพราะตราสารหนี้ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนได้ โดยความเข้มอ่อนของหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลการออกและเสนอขาย

ตราสารหนี้จะแยกตามประเภทผู้ลงทุน โดยหากเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไปในวงกว้าง จะมีเกณฑ์ที่เข้มมากกว่าการเสนอขายในวงจำกัด ที่มีทั้งการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ และการเสนอขายต่อผู้ลงทุนแบบจำกัดจำนวนผู้ลงทุนอยู่ในวงแคบ ซึ่งเกณฑ์จะมีความผ่อนปรนมากกว่า"

อย่างไรก็ดี สืบเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา พบว่า มีกรณีบริษัทที่ออกตราสารหนี้บางแห่งใช้ช่องทางการระดมทุนแบบจำกัดจำนวนผู้ลงทุนไปอย่างผิดวัตถุประสงค์ คือ กระจายการขายช่องทางนี้ไปยังผู้ลงทุนรายใหญ่ ซึ่งไม่รู้จักคุ้นเคยกับบริษัท ประกอบกับผู้ลงทุนมีพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทน (search for yields) ในขณะที่บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวกลางในการเสนอขายตราสารหนี้เหล่านี้ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนที่เพียงพอ จึงทำให้ผู้ลงทุนมองข้ามความเสี่ยงในการลงทุน ก.ล.ต. จึงอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนมากขึ้น อาทิ จำกัดการขายตั๋วเงิน ให้ใช้ระดมทุนเฉพาะวงจำกัดไม่ให้กระจายวงกว้าง มีการเพิ่มกลไกการคุ้มครองผู้ลงทุนมากขึ้น เช่น การขายหุ้นกู้ระยะยาวให้ผู้ลงทุนรายใหญ่ ต้องมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และมีการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในชั้นหลักการไปแล้วในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา และกำลังจะเปิดรับฟังความคิดเห็นในชั้นการยกร่างประกาศ ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้" นางจารุพรรณ กล่าวเสริม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้