โรงพยาบาลพระรามเก้าเผยแผนไอพีโอ คาดพร้อมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไตรมาส 4 ปีนี้เสริมแกร่งความสามารถการแข่งขัน ขยายฐานลูกค้าในระดับนานาชาติ

พุธ ๐๓ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๕๔
บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน) พร้อมยกระดับการทำงาน มุ่งสู่ Professional Healthcare Community และประกาศแผนขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนครั้งแรกหรือไอพีโอ จำนวนไม่เกิน 180,000,000 หุ้นและอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน จำนวนไม่เกิน 20,000,000 หุ้น เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตั้งเป้าระดมทุนสนับสนุนการก่อสร้างอาคารใหม่และการปรับปรุงอาคารปัจจุบันและการก่อสร้างสถานที่สำหรับพนักงานและบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับการขยายตัวของดีมานด์และเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้เข้าใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติโดยได้จัดงานบรรยายสรุปข้อมูลสำคัญในการเสนอขายหุ้นไอพีโอในครั้งนี้ให้กับนักลงทุนทั่วไปในวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา คาดว่าจะสามารถเปิดให้จองซื้อหุ้นได้ในวันที่ 16 - 19 ตุลาคมนี้ และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 4 ปีนี้

นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท โรงพยาบาล พระรามเก้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ตลอดเวลากว่า 26 ปีของการดำเนินธุรกิจและให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยในระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) หรือการรักษาโรคซับซ้อนโรงพยาบาลพระรามเก้ามุ่งคำนึงถึงคุณภาพของบริการความปลอดภัยและความคุ้มค่าสำหรับผู้เข้ารับบริการเป็นอันดับแรกเสมอมาโดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลฯ เล็งเห็นทิศทางการเติบโตของความต้องการบริการทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากหลายปัจจัยเช่น การก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินว่า ในปี 2563 จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วนสูงถึงร้อยละ 19.1 และในปี 2583 ประเทศไทยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 32.1 นอกจากนี้ ความนิยมในบริการด้านสุขภาพของประเทศไทยจากชาวต่างชาติ และการผลักดันของภาครัฐ เพื่อพัฒนาประเทศไทยเป็น Medical Hub ซึ่งช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาลอีกด้วย"

"จากจุดแข็งของโรงพยาบาล ได้แก่ ความสามารถในการรักษาโรคซับซ้อนด้วยทีมแพทย์และบุคคลากรสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์และอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย บริการที่มีความคุ้มค่า (Value for Money) และมีความเป็นมิตรที่ทำให้โรงพยาบาลฯ มีฐานผู้ใช้บริการที่เหนียวแน่นเสมอมา และที่ตั้งในทำเลที่มีศักยภาพในพื้นที่ New CBD (New Central Business District) อย่างเขตห้วยขวางและบริเวณโดยรอบ ซึ่งมีการขยายตัวของชุมชนเมืองทั้งจากประชากรที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ และความเชื่อมั่นในบริการคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ซึ่งได้รับการรับรองจาก Joint Commission International ประเทศสหรัฐอเมริกา (JCI) โรงพยาบาลพระรามเก้ามั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจที่เข้มแข็งและขยายฐานผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป" นายแพทย์เสถียรกล่าวเสริมโรงพยาบาลพระรามเก้ายังมีการเสริมจุดแข็งทางธุรกิจด้วยกลยุทธ์การแข่งขันสำคัญ เพื่อเร่งการเติบโตทางธุรกิจและการขยายฐานลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

การขยายเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มช่องทางเข้าถึงผู้ใช้บริการใหม่ๆ โดยปัจจุบันโรงพยาบาลพระรามเก้ามีโรงพยาบาลพันธมิตรทั้งหมด 9 แห่งในจังหวัดสำคัญของประเทศ ซึ่งจะทำการส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนไตมายังโรงพยาบาลพระรามเก้า การเพิ่มกลุ่มลูกค้าคู่สัญญาองค์กร ด้วยการตลาดเชิงรุกกับบริษัทประกันและบริษัทต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงสถานที่ตั้งโรงพยาบาล การขยายฐานผู้ใช้บริการชาวต่างชาติ ผ่านเครือข่ายพันธมิตรและกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) และชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย (Expatriate) โดยมีชาวเมียนมาร์ จีน ญี่ปุ่นและกัมพูชาเป็นผู้ใช้บริการชาวต่างชาติหลักของโรงพยาบาล โรงพยาบาลมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนจำนวนผู้เข้ารับบริการเป็นร้อยละ 15 ภายในปี 2565 โดยมีสถาบันทางการแพทย์และศูนย์การแพทย์ที่โดดเด่นกว่า 22 แห่ง และบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายเป็นปัจจัยดึงดูด การสร้างอาคารใหม่และปรับปรุงอาคารปัจจุบัน โดยโรงพยาบาลทุ่มงบกว่า 2,000 ล้านบาทเพื่อสร้างอาคารใหม่สูง 16 ชั้น ภายใต้แนวคิด Co-Healthy Space ที่พร้อมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการภายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 ด้านการปรับปรุงอาคารปัจจุบันจะช่วยเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคซับซ้อนและผู้ป่วยภาวะวิกฤติ โดยตั้งเป้าเพิ่มจำนวนเตียงจดทะเบียนจาก 166 เตียงในปัจจุบัน เป็นประมาณ 313 เตียง ในปี 2565

การขยายพื้นที่การให้บริการครั้งนี้ ยังทำให้โรงพยาบาลสามารถขยายขอบเขตการให้บริการให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion & Wellness) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ทั้งกลุ่มที่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพ และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากไลฟ์สไตล์ของผู้คนในยุคปัจจุบัน โดยมีบริการใหม่ๆ ที่เริ่มให้บริการแล้ว เช่น ศูนย์สุขภาพเส้นผม ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมความงาม ศูนย์รักษาอาการปวดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์ตรวจสุขภาพครบวงจรที่พร้อมให้บริการตรวจสุขภาพในทุกช่วงอายุ เดินหน้าสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิตอล (Digital Hospital) ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับบริการทางการแพทย์และกระบวนการทำงานภายในโรงพยาบาล ทั้งการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์และกระบวนการทำงานพร้อมทั้งอำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัย และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้รับบริการ โดยปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยและติดตามการรักษาในรูปแบบที่เรียกว่า "ดิจิตอลเฮลท์" (Digital Health) เช่น โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วย (Praram 9 Patient Mobile Application) ห้องระบบศูนย์บัญชาการควบคุม (Command Center) อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถใส่ติดตัว (Medical Wearable Device) รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องสุขภาพและการรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ระยะไกล (Telemedicine)

มุ่งเน้นการตลาดเชิงรุกและการปรับภาพลักษณ์องค์กรเพื่อดำเนินธุรกิจในฐานะ Professional Healthcare Community หรือ ศูนย์รวมด้านการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยได้รับความไว้วางใจมากที่สุด ที่มอบบริการการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาลแบบองค์รวมอย่างเต็มรูปแบบและไร้รอยต่อในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นคอมมูนิตี้ สำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพใจกลางเมือง ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของทุกคน โดยใช้การสื่อสารและการตลาดอย่างรอบด้านเพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับโรงพยาบาล ชูศักยภาพของโรงพยาบาล ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ต่อประชาชนทั่วไป แต่ยังรวมไปถึงการสร้างความรักต่อองค์กรในกลุ่มบุคคลากรขอองค์กรด้วย โรงพยาบาลพระรามเก้ามีผลประกอบการที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 2559 และ 2560 มีรายได้รวม 1,996.4 ล้านบาท 2,272.5 ล้านบาท และ 2,455.2 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยแบบ

ทบต้น (CAGR) ร้อยละ 10.9 ต่อปี และในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2561 โรงพยาบาลฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,295.3 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560

ในปี 2558 2559 และ 2560 โรงพยาบาลพระรามเก้ามีกำไรสุทธิ 189.3 ล้านบาท 259.8 ล้านบาท และ 262.3 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) ที่ร้อยละ 17.7 ต่อปี และในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2561 โรงพยาบาลฯ มีกำไรสุทธิปรับปรุง 124.8 ล้านบาท

นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ ยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนจำนวนผู้รับบริการชาวต่างชาติ โดยการเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงและคุณภาพการให้บริการผู้ป่วยต่างประเทศเช่น ทีมงาน Cultural Support สำหรับหลายประเทศและการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศเมียนมาร์ ประเทศจีน และประเทศกัมพูชา สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการความชำนาญของโรงพยาบาลพระรามเก้า เพื่อเข้ามารับการรักษาในประเทศไทย

นายแพทย์เสถียรยังกล่าวเสริมว่า "เรามั่นใจว่าจะสามารถสร้างอัตราการเติบโตได้สูงขึ้นกว่าเดิมในอนาคต ด้วยกลยุทธ์การแข่งขันและการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรต่างๆ เช่น การเพิ่มจำนวนเตียงและความสามารถในการรักษาผู้ป่วยโรคซับซ้อนที่สร้างรายได้ประมาณร้อยละ 40 จากรายได้จากกิจการโรงพยาบาลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีและความร่วมมือทางการแพทย์ ซึ่งทำให้โรงพยาบาลฯ ขยายฐานลูกค้า โดยยังสามารถรักษาระดับคุณภาพและความคุ้มค่าไว้ได้เป็นอย่างดี"

นายอนุวัฒน์ ร่วมสุข กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย กล่าวว่า "การทำไอพีโอครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะสนับสนุนการดำเนินการของโรงพยาบาลพระรามเก้า ในการก้าวสู่การเป็นศูนย์รวมด้านการดูแลสุขภาพที่ได้รับความไว้วางใจจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้โรงพยาบาลสามารถเติบโตไปสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมนำนักลงทุนและประชาชนทุกท่านร่วมเติบโตและก้าวสู่สังคมสุขภาพแห่งอนาคตไปพร้อมกัน ตามวิสัยทัศน์โรงพยาบาลในการเป็นศูนย์รวมด้านการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยได้รับความวางใจมากที่สุด"

โรงพยาบาลฯ มีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างอาคารใหม่และการปรับปรุงอาคารปัจจุบัน สนับสนุนการก่อสร้างสถานที่สำหรับพนักงานและบุคลากรทางการแพทย์ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ การลงทุนอื่นๆ และการขยายธุรกิจของบริษัทฯ (ถ้ามี) และชำระคืนเงินกู้ยืม (ถ้ามี)

"การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ จะมีการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180,000,000 หุ้น โดยประกอบไปด้วย การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 167,500,000 หุ้น ให้แก่ประชาชนทั่วไป และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 12,500,000 หุ้น เพื่อเสนอขายให้แก่กรรมการและ/หรือผู้บริหารที่เป็นผู้ก่อตั้งของบริษัทฯ และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน จำนวนไม่เกิน 20,000,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถเปิดให้จองซื้อหุ้นได้ในวันที่ 16 - 19 ตุลาคมนี้ และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในลำดับถัดไป ภายใต้ชื่อย่อ "PR9" " นายอนุวัฒน์กล่าวปิดท้าย

สามารถติดตามข้อมูลและกำหนดการสำคัญได้ที่ http://investor.praram9.com/th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๓ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบถุงใส่ยารักษ์โลกให้โรงพยาบาลกบินทร์บุรี
๑๖:๑๒ lyn around เปิดตัวคอลเลคชั่นสุดพิเศษ Sakura Spirit ผสานกลิ่นอายเฟมินีนแบบฝรั่งเศสเข้ากับป็อปคัลเจอร์สไตล์ญี่ปุ่น
๑๕:๐๗ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ สำนักงานเขตประเวศ จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ BKK Learning Workshops เรียนฟรี ! ทุกวันศุกร์ - วันอาทิตย์ ตลอดเดือน
๑๕:๒๗ ไทยวา เผยทิศทางธุรกิจปี 67 ชูนวัตกรรมเกษตรและอาหาร มุ่งสู่การเป็นผู้นำระดับโลก พร้อมเดินหน้าขยายแพลตฟอร์มธุรกิจใหม่
๑๕:๐๘ หัวเว่ย เปิดตัว HUAWEI nova 12 Series สมาร์ทโฟนกล้องสวยระดับ Hi-res แชะชัดทุกชอต
๑๕:๕๖ ซินเน็คฯ Q1/67 ทิศทางดี รับเทรนด์ AI หนุนตลาดไอที-สมาร์ทโฟนคึกคัก พร้อมลุยตลาดซอฟต์แวร์รับการใช้จ่ายไอทีพุ่ง
๑๕:๐๕ FWD ประกันชีวิต นำทีมผู้บริหารตัวแทนทุกระดับ ร่วมงาน FWD Elite Summit 2024 เพื่อเปิดประสบการณ์สู่ความก้าวหน้าและต่อยอดความสำเร็จ ณ กรุงไทเป
๑๕:๑๓ ไทวัสดุ ฉลองเปิดสาขาที่ 80 ที่แรกแห่งปี ไทวัสดุ x บีเอ็นบี โฮม สาขาอุดรธานี กุดสระ รับโปรฯพิเศษแบบไม่ต้องลุ้น ฟรีคูปองรวมมูลค่าสูงสุด 2,800 บาท เฉพาะ 25-28 เม.ย. 2567
๑๕:๑๒ นิทรรศการแสดงงานศิลปะของ Meguru Yamaguchi ครั้งแรกในประเทศไทย ที่ Maison JE
๑๕:๑๔ HARLEY-DAVIDSON(R) นำซีรีส์สารคดีเรื่อง Push The Limit: Harley-Davidson Racing กลับมาฉายต่อใน ซีซั่น 2 บน