สวทน. ระดมกูรูหารือเข้ม เดินหน้าหามาตรการปลดล็อคการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้านเอกชนเสนอ นักวิจัยควรรู้จักตลาดก่อนสร้างผลงาน

จันทร์ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๔:๔๓
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทั้งมหาวิทยาลัย หน่วยงานให้ทุนและภาคเอกชน ร่วมประชุม "การปลดล็อคการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์" โดย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. กล่าวถึงผลความก้าวหน้าและแนวคิดในการจัดทำมาตรการปลดล็อคการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ว่า ที่ผ่านมา สวทน. พยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อเนื่องมาหลายปี บางเรื่องผลักดันไปแล้วอย่าง (ร่าง) พระราชบัญญัติการใช้ประโยชน์ผผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 บางเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการ อย่างการพิสูจน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ (Regulatory Sandbox) ผ่านการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติการพิสูจน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. …. ซึ่งเป็นกรอบดำเนินงานหรือขอบเขตพื้นที่ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออนุญาตให้เกิดการทดสอบเทคโนโลยี นวัตกรรมหรือรูปแบบการกำกับดูแลแบบใหม่ ภายใต้ขอบเขตที่จำกัดเป็นการชั่วคราว เพื่อศึกษาผลกระทบ และแนวทางการออกกฎหมาย กฎระเบียบ การกำกับดูแลที่เหมาะสมสำหรับการบังคับใช้เป็นการทั่วไป โดยมีเป้าหมายให้ธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกจากนี้ ยังมีแนวทางในการสนับสนุนนวัตกรรมให้กับธุรกิจ SMEs และ Startup เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมตามความต้องการภาครัฐ (Small Business Innovation Research & Small Business Technology Transfer) หรือ SBIR / STTR รวมถึงการสร้างศักยภาพให้หน่วยบริหารจัดการเทคโนโลยี (TLOs) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การอนุญาตให้ใช้สิทธิกับบริษัทด้วย

"ที่ผ่านมา สวทน. ได้มีมาตรการส่งเสริมด้านการนำงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ผ่านมาตรการการให้สิทธิทางภาษี ซึ่งก็ประสบความสำเร็จพอสมควร โดยเห็นได้จากการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาที่เติบโตขึ้น จากร้อยละ 0.25 ต่อจีดีพีของประเทศ เมื่อปี 2549 จนถึงร้อยละ 0.78 ในปี 2559 แต่นอกเหนือจากมาตรการทางภาษีที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาแล้ว เรายังต้องมีมาตรการด้านอื่น ๆ ที่ดำเนินการควบคู่ไปด้วย เพื่อผลักดันให้เกิดการนำงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งสิ่งสำคัญคือระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ได้จริง ในฐานะหน่วยงานจัดทำนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงได้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทั้งมหาวิทยาลัย หน่วยงานให้ทุนและภาคเอกชน มาช่วยระดมความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการประชุมครั้งนี้ โดยความเห็นที่ได้จากการประชุมทั้งหมด สวทน. จะนำไปวิเคราะห์และขับเคลื่อนให้เกิดความชัดเจนและใช้ได้จริงต่อไป" ดร.กิติพงค์ กล่าว

ดร.กิติพงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยงานให้ทุน มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน ได้ให้ความคิดเห็นที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปศึกษาเพื่อพัฒนาให้เกิดมาตรการส่งเสริมการนำงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งเรื่องทำอย่างไรให้งานวิจัยขายได้ ความพร้อมและขีดความสามารถของมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและเอกชนที่พร้อมขับเคลื่อนให้เกิดมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ซึ่งได้มีการระดมความคิดทั้งในส่วนปัจจัยที่จะปลดล็อกให้เกิดนำผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง เรื่อง Technology Transfers ที่จะสามารถทำให้การบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ยิ่งดีขึ้น รวมถึงการสร้างศักยภาพให้หน่วยบริหารจัดการเทคโนโลยี (TLOs) ว่า ไทยควรพัฒนาหรือส่งเสริมอย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

ด้านผู้แทนจากมหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนว่า ผลงานวิจัยของไทยมีอยู่เยอะแต่ไม่ได้ออกสู่ตลาด เนื่องจากไม่รู้จักตลาด มองตลาดไม่เป็น ทำให้ผลงานไม่ถูกนำมาต่อยอด จึงอยากให้มีหน่วยงานกลางที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดมาเป็นพี่เลี้ยง (mentors) ให้กับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยที่ต้องการนำผลงานวิจัยออกสู่ตลาด ซึ่งเชื่อว่าหากมีการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านการตลาด จะทำให้สามารถสร้างสตาร์ทอัพได้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก สอดคล้องกับความเห็นของผู้แทนภาคเอกชน ที่เสนอในที่ประชุมว่า งานวิจัยแต่ละชิ้นควรมองถึงความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ ต้องมีการทำแผนธุรกิจ และอยากให้มีการเปลี่ยนมุมมองว่าคุณค่าของงานวิจัยไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยีอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความต้องการและขนาดของตลาดด้วย ถ้านักวิจัยรู้จักตลาด การที่จะทำให้งานวิจัยขายได้ก็จะเป็นเรื่องไม่ยาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ