บลจ.ธนชาต คาด AUM สิ้นปี 2.3 แสนล้าน เชื่อปีหน้า ลงทุนท้าทายขึ้น ต้องเลือกเพื่อสร้างโอกาส

อังคาร ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๑:๔๐
บลจ.ธนชาต ตั้งเป้าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ณ สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.3 แสนล้านบาท เชื่อสิ้นปีปรับเพิ่มได้อีก จากแรงหนุนกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี (RMF/LTF) ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. นี้ โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงิน RMF/LTF ไหลเข้ามาในอุตสาหกรรมประมาณ 5 หมื่นล้านบาท/ปี

นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า ในเดือนตุลาคมปีนี้ บลจ.ธนชาต มียอดลงทุนสุทธิตั้งแต่ต้นปีในกองทุนหุ้นไทยเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ทำให้ตอนนี้ธุรกิจกองทุนรวมมีสินทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 203,470 ล้านบาท ส่วนธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 13,734 ล้านบาท และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ที่ 15,972 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทำให้ ณ สิ้นปี 2561 สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM)เท่ากับ 2.3 แสนล้านบาท

ในปีนี้ ที่บริษัทสามารถสร้างยอดขายกองทุนหุ้นไทยสุทธิอยู่เกือบ 2 หมื่นล้าน ทำให้สัดส่วนสินทรัพย์กองทุนหุ้นของบริษัทปรับตัวจากเกือบ 4 หมื่นล้านในปีที่แล้ว มาเป็นกว่า 5 หมื่นล้านในปีนี้ คิดเป็น 1 ใน 4 ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากบริษัทได้เปิดขายกองทุนหุ้นไทยแนวใหม่ T-SmartBeta ได้กว่า 5 พันล้านบาท เนื่องจากเป็นกองทุนที่ค่อนข้างมีความเฉพาะตัว สามารถปรับกลยุทธ์การลงทุนได้ ทั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวลง และปรับตัวขึ้น แต่กองทุนที่ได้รับความนิยมสูงสุดของบริษัทในปีนี้ คือ กองทุนหุ้นปันผลอย่าง T-DIV และ T-DIV2 ที่ยอดลงทุนสุทธิทั้ง 2 กองทุนอยู่ที่กว่า 1.3 หมื่นล้าน (31 ต.ค. 61) เนื่องจากเป็นกองทุนที่ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเมื่อประมาณเดือนมีนาคมปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบันสามารถจ่ายปันผลได้กองทุนละ 6 ครั้งแล้ว ซึ่งคาดว่าจะยังคงได้รับความนิยมในปีหน้าเช่นกัน

ส่วนเป้าหมายการออกกองทุนในปีหน้า บริษัทก็คาดว่าจะนำเสนอกองทุนหุ้นในรูปแบบต่างๆเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าต่อไป เนื่องจากเชื่อว่าในระยะยาวแล้ว สินทรัพย์ประเภทหุ้นยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ

ด้านมุมมองการลงทุนในปีหน้า นายโชติช่วง ธีรขจรโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์มหภาค ให้มุมมองว่า ทิศทางเศรษฐกิจโลกในปีหน้ายังสามารถขยายตัวต่อเนื่อง แต่จะเติบโตในอัตราที่ช้าลง หลังแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นต่างๆ ลดลง แต่ยังเชื่อว่าการเติบโตของสหรัฐ จะยังคงช่วยให้เศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตต่อไปใน ครึ่งแรกของปี 2561 ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในรอบปัจจุบัน ถือว่ายาวนานที่สุด นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และคาดว่าจะสามารถขยายตัวต่อไปได้ไม่ต่ำกว่า 2 ปี และคาดว่าภาวะถดถอยในระยะถัดไปคงไม่ได้รุนแรงมากอย่างที่หลายๆ คนกลัว แต่รอบการถดถอยอาจกินเวลานานกว่าปกติพอสมควรทีเดียว

สำหรับในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา ความกังวลต่อทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ทำให้ตลาดอยู่ใน Mode Risk-Off เงินทุนจึงผันผวนสูง ซึ่งคาดว่าในปีหน้า ภาวะความผันผวนจะยังคงมาจากปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าขยายตัวช้าลง ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้า โดยเฉพาะกับจีนที่ดูจะไม่สามารถคลี่คลายได้ในเร็ววัน นอกจากนั้นนโยบายการเงินในหลายประเทศตึงตัวขึ้น การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ความผันผวนของค่าเงิน และประเด็นการเมืองในสหรัฐฯ ยูโรโซน และกลุ่มโอเปก ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตาต่อไป

ส่วนการลงทุนต่างประเทศ ในปีหน้าบริษัทมองว่า การลงทุนในตลาดเกิดใหม่ในเอเชียน่าสนใจกว่าภูมิภาคอื่นเพราะในปีนี้ ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง แต่เศรษฐกิจและกำไรของบริษัทยังขยายตัวได้ ทำให้ค่า P/E อยู่ที่ 12 เท่าเท่านั้น

ในปีหน้า บลจ.ธนชาต มองว่าสำหรับการลงทุนใน หุ้นไทยยังคงน่าสนใจกว่าหุ้นต่างประเทศ เพราะในปีหน้าความเสี่ยงของไทยดูจะมีแค่เรื่องเดียวคือการเมืองหลังการเลือกตั้ง ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงระยะเวลานั้นน่าจะมีความ ผันผวนหรือปรับลดลงอยู่บ้าง แต่จะเห็นได้ว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่า SET Index ในปีหน้าจะซื้อขายบน P/E ที่ประมาณ 15 – 16 เท่า หรือ ระหว่าง 1,750 – 1,850 จุด แม้ว่า P/E ตลาดหุ้นไทยอาจไม่ได้ต่ำมากเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน แต่ปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศมีน้อยกว่า ประกอบกับแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติที่น่าจะน้อยกว่าในปีนี้ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้จากค่าเงินบาทที่อ่อนลง เพราะเชื่อว่าในช่วงไตรมาส 1 ปี 2019 ค่าเงินบาทจะแกว่งตัวระหว่าง 32.00 – 33.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้หุ้นไทยในปีหน้ายังคงน่าสนใจ

และสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้คาดว่าจะให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก แต่เชื่อว่าตราสารหนี้ไทยจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าและมีความเสี่ยงต่ำกว่าตราสารหนี้ต่างประเทศ เพราะคาดว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของไทยจะค่อยเป็นค่อยไปตามหลังสหรัฐฯ อยู่มาก

ส่วนการลงทุนในทองคำนั้น ในแง่หนึ่งถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวลงมากกว่าที่คิดกันไว้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า และอีกแง่ก็จากโอกาสที่เงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าในระยะต่อไปด้วย

สำหรับการจัดพอร์ตลงทุน ควรพิจารณาจากความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนสามารถรับได้ โดยแนะนำให้มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยและตราสารหนี้ไทยสูงกว่าการลงทุนในต่างประเทศ และมองการลงทุนในระยะยาวมากกว่า เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและกระจายความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมในอนาคต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และดูรายละเอียดการจ่ายเงินปันผล พร้อมขอรับหนังสือชี้ชวน และคู่มือการลงทุนได้ในวันและเวลาทำการเสนอขายที่ บลจ. ธนชาต โทรศัพท์ 0-2126-8399 หรือ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร. 1770 หรือผู้สนับสนุนการขาย หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ บลจ.ธนชาต แต่งตั้งwww.thanachartfund.com

คำเตือน

- ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน คู่มือการลงทุน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

- ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุน มากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ