เปิดตัวพืชทางเลือกแทนสับปะรดพื้นที่พิษณุโลก-อุตรดิตถ์ แนะเร่งจัดการ แก้ปัญหาผลผลิตล้น

ศุกร์ ๑๔ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๐:๓๐
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแนวทางบริหารจัดการสับปะรดในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri – Map) ที่สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์สับปะรด ปี 2560 – 2569 และยุทธศาสตร์สับปะรดด้านการผลิต ระยะที่ 1 (ปี 2561 – 2564) ซึ่งจังหวัดพิษณุโลก และอุตรดิตถ์ จัดอยู่ในจังหวัดกลุ่มที่ 2 คือ อยู่ห่างไกลจากที่ตั้งของโรงงานแปรรูปสับปะรด กำหนดให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสับปะรดเพื่อการบริโภคผลสด (กลุ่มที่ 1 คือ จังหวัดที่อยู่ในรัศมีรอบกลุ่มโรงงานแปรรูปสับปะรด 100 กิโลเมตร เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสับปะรดเพื่อส่งโรงงานฯ)

ผลการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก (สศท.2) ถึงแนวทางบริหารจัดการสับปะรดใน 2 จังหวัดดังกล่าว ดังนี้ การปลูกสับปะรดในพื้นที่ความเหมาะสมมาก (S1) และปานกลาง (S2) จังหวัดพิษณุโลก มีการปลูกสับปะรดในพื้นที่ S1 และ S2 จำนวน 1,695 ไร่ และจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 2,342 ไร่ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมุ่งเน้นให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนสายพันธุ์เป็นสับปะรดบริโภคผลสดที่มีคุณภาพ ทั้งด้านการผลิตและกระบวนการตรวจรับรองมาตรฐาน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น เช่น MD2 พันธุ์ฉีกตา หรืออื่นๆ ที่ตลาดมีความต้องการ รวมทั้งควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการภายใต้การส่งเสริมเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่

การปลูกสับปะรดในพื้นที่ความเหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) จังหวัดพิษณุโลก มีการปลูกสับปะรดในพื้นที่ S3 และ N รวมจำนวน 9,224 ไร่ โดยในพื้นที่ดังกล่าว มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจเหมาะสมสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ 2 ชนิด ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ มีต้นทุนการผลิต 14,280 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 34,500 บาท/ไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 20,220 บาท/ไร่ ซึ่งตลาดส่งออกทั้งสหภาพยุโรปและเอเชียยังคงมีความต้องการมะม่วงน้ำดอกไม้คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีต้นทุนการผลิต 4,722 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 6,559 บาท/ไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 1,837 บาท/ไร่ โดยภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทยมีแนวโน้มต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการปลูกสับปะรดในพื้นที่ S3 และ N จำนวน 6,227 ไร่ มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจเหมาะสมสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ได้แก่ มะขาม สามารถจำแนกเป็น 2 ชนิด คือ มะขามหวาน มีต้นทุนการผลิต 7,493 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 18,450 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 10,957 บาท/ไร่ และมะขามเปรี้ยว มีต้นทุนการผลิต 3,233 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 8,440 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 5,207 บาท/ไร่ ซึ่งต้นทุนการผลิตมะขามหวานจะสูงกว่าเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา อาทิ ปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผลต่อคุณภาพผลผลิตและราคาที่จำหน่ายได้เพิ่มมากขึ้น มะม่วงหิมพานต์ มีต้นทุนการผลิต 4,337 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 13,370 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 9,033 บาท/ไร่ ซึ่งผลผลิตทั้งมะขามและมะม่วงหิมพานต์ เกษตรกรจะจำหน่ายให้แก่พ่อค้ารับซื้อจากจังหวัดเพชรบูรณ์ และปัจจุบันปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ด้าน นายบุญลาภ โสวัณณะ ผู้อำนวยการ สศท.2 กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ยังมี 2 ชนิดสินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่ ถั่วเหลือง และ มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพทั้งด้านพื้นที่และด้านเศรษฐกิจสำหรับปลูกทดแทนสับปะรดในพื้นที่ S3 และ N โดยผลผลิตถั่วเหลืองยังไม่เพียงพอ ไทยต้องนำเข้ามากถึงเกือบร้อยละ 95 แต่เนื่องจากขาดแคลนแรงงานผลิต การดูแลที่ค่อนข้างยาก เกษตรกรจึงได้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ภาครัฐควรหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา สนับสนุนให้มีการวิจัยพัฒนาเครื่องจักรกลทดแทนการใช้แรงงานคนเพื่อลดต้นทุน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์ดีและราคาเป็นธรรมเพื่อให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูก ตลอดจนจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาตลอดอายุการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับมันสำปะหลัง ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ อีกทั้งมีความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลและแป้งมันสำปะหลังในประเทศเพิ่มขึ้น ภาครัฐจึงควรเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ จาก 5 ตันต่อไร่ ในปี 2562 เป็น 7 ตันต่อไร่ ในปี 2569 ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ การทำระบบน้ำหยด และการผลิตมันเส้นเอง ตลอดจนเพิ่มมาตรการกำกับดูแลการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่ไปกับการขยายตลาดส่งออก ลดการพึ่งพาตลาดจีนเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการค้า

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์สับปะรดด้านการผลิต ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องร่วมกันวางแนวทางหรือนโยบายสำหรับแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังโดยเร็ว และควรให้ความสำคัญการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการเพิ่มมูลค่า ช่วยแก้ปัญหาเรื่องราคาสินค้าแก่เกษตรกรได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด เพื่อติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ที่จะเป็นปัญหาหรือส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร และเร่งแก้ปัญหาภาคเกษตรในพื้นที่ สำหรับผู้ที่สนใจผลการศึกษาเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร สศท.2 โทร. 0 5532 2650 และ 0 5532 3658 หรือ e-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?