EXIM BANK ครบรอบ 25 ปี ชูบทบาทเชื่อมผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดใหม่

พฤหัส ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๑:๒๙
พัฒนาผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้สร้างผู้ส่งออก SMEs ไทยที่แข่งขันได้ในทุกตลาด

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ในปี 2562 EXIM BANK ครบรอบ 25 ปีนับจากเปิดดำเนินงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 และก้าวสู่ปีที่ 3 ของการปรับบทบาทใหม่ตามแผนแม่บท 10 ปี (ปี 2560-2570) EXIM BANK จึงได้ทบทวนและปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและทิศทางเศรษฐกิจของไทย โดยกำหนด 6 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1. เชื่อมไทย เชื่อมโลก ด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ 2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ 3. ป้องกันความเสี่ยงด้านการค้าและการลงทุนไทยในต่างประเทศ 4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ 5. เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว EXIM BANK จะทำหน้าที่เติมเต็มช่องว่างเครือข่ายธุรกิจ เป็นตัวกลางสร้างเครือข่ายทางธุรกิจใหม่ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจรุกตลาดใหม่ (New Frontiers) โดยทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศเพื่อเชื่อมผู้ประกอบการไทย รวมทั้งสินค้าและบริการของไทย เข้ากับภาคการผลิตและผู้บริโภคในประเทศตลาดใหม่ รวมทั้งอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการในตลาดใหม่ เช่น อินเดีย แอฟริกา และเวียดนาม หลังจากการเปิดสำนักงานผู้แทน EXIM BANK แห่งแรกและแห่งที่สองในย่างกุ้งและเวียงจันทน์ และแห่งที่ 3 ในกรุงพนมเปญ เดือนมีนาคมนี้

ขณะเดียวกัน EXIM BANK จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเติมเต็มช่องว่างทางการเงิน สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้รุกตลาดใหม่ได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยมีความพร้อมทั้งด้านเงินทุนและเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่จะขยายธุรกิจได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งสามารถยกระดับการผลิตไปสู่ระบบที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับสูงได้ เพื่อสร้างมูลค่าของสินค้าไทยให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเติมเต็มช่องว่างองค์ความรู้ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีข้อมูลเชิงลึกและรอบด้าน นำไปปรับใช้ในการเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนได้อย่างประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ

ในการเติมเต็มช่องว่างเครือข่ายธุรกิจ การเงิน และองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดย่อม (Small Enterprises) ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 99% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งประเทศ และสัดส่วน GDP ของผู้ประกอบการขนาดย่อมต่อ GDP ประเทศยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับ 30% ในปี 2560 หากผู้ประกอบการกลุ่มนี้สามารถยกระดับเป็นผู้ส่งออกได้มากขึ้น จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้อีกมาก EXIM BANK จึงได้จัดตั้ง "ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า (EXIM Excellence Academy : EXAC)" ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานจัดกิจกรรมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเริ่มต้นส่งออกได้หรือขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น แบ่งตามระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ ดังนี้ 1. กลุ่มผู้ที่ยังไม่เคยส่งออก (Neo-exporters) 2. กลุ่มผู้ที่เคยส่งออกบ้างแล้ว (Mid-pros) และ 3. กลุ่มผู้ที่ส่งออกอยู่แล้ว (High-flyers) ซึ่งยังต้องการการสนับสนุนทางการเงินและข้อมูลเพื่อขยายธุรกิจส่งออกให้เติบโตได้อย่างมั่นคง โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าจะจัดกิจกรรมตั้งแต่ระดับการบ่มเพาะความรู้ที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นและขยายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ พาไปสำรวจตลาดและโอกาสการส่งออก จับคู่ธุรกิจกับผู้ส่งออกที่เป็นเทรดเดอร์หรือผู้ซื้อในต่างประเทศ จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชนมาให้คำปรึกษาแนะนำในทุกมิติ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินสนับสนุนการเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจ ส่งเสริมการขยายพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ไปจนถึงการสร้างสังคมผู้ส่งออก โดยให้ผู้ส่งออกที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งผู้ที่ผ่านการอบรมจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า กลับมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเป็นพี่เลี้ยงผู้ส่งออกรุ่นใหม่ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีชุมชนผู้ส่งออกที่เข้มแข็งและแข่งขันได้ในทุกตลาดทั่วโลก

ในโอกาสครบรอบ 25 ปี EXIM BANK พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ "สินเชื่อส่งออกเพิ่มสุข (EXIM Happier Credit)" เป็นสินเชื่อหมุนเวียนช่วงก่อนและหลังการส่งออก ผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นส่งออก (Start up) และไม่เคยได้รับสินเชื่อจาก EXIM BANK จะได้รับพิจารณาวงเงินสินเชื่อสูงสุด 700,000 บาทต่อราย ส่วนลูกค้าปัจจุบันของ EXIM BANK จะได้รับวงเงินสินเชื่อสูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย/อัตรารับซื้อลด ปีแรกอยู่ที่ 5.50% ต่อปี ปีที่ 2 อยู่ที่ Prime Rate -0.50% ต่อปี (หรือ 5.75% ต่อปี) พร้อมวงเงินสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) สูงสุดเท่ากับวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ใช้เพียงบุคคลค้ำประกัน สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอบรมของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าและค้าขายออนไลน์ หรือลงทะเบียนร่วมกิจกรรมกับ EXIM BANK จะได้รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยปีแรก 0.50% ต่อปี บริการใหม่นี้มีเป้าหมายอนุมัติวงเงินรวม 400 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดย่อมไม่น้อยกว่า 550 รายเริ่มต้นส่งออกได้หรือส่งออกได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจและความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ภายใต้บทบาทใหม่ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561 EXIM BANK มีเงินสินเชื่อคงค้างสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 108,589 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,703 ล้านบาท หรือ 18.18% เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 38,412 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการลงทุน 70,177 ล้านบาท ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 197,120 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นปริมาณธุรกิจของ SMEs เท่ากับ 106,362 ล้านบาท ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561 มีเงินให้สินเชื่อคงค้างแก่ SMEs เท่ากับ 42,906 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,765 ล้านบาท หรือ 15.53% ส่งผลให้ EXIM BANK มีกำไรสุทธิ 1,365 ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs Ratio) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ 3.78% โดยมีสินเชื่อด้อยคุณภาพจำนวน 4,103 ล้านบาท และมีเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 9,385 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,436 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นสำรองหนี้พึงกันตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 4,572 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินสำรองที่กันไว้แล้วต่อสำรองหนี้พึงกัน 205.25% ทำให้ EXIM BANK ยังคงดำรงฐานะการเงินที่มั่นคง

ขณะเดียวกัน EXIM BANK ได้ขยายบริการประกันการส่งออกเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการไทยจากการไม่ได้รับชำระเงินจากคู่ค้าในต่างประเทศ ทั้งในตลาดการค้าเดิมและตลาดใหม่ ในปี 2561 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุนเท่ากับ 92,448 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26,545 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นปริมาณธุรกิจของ SMEs จำนวน 22,278 ล้านบาท หรือ 24.10% ของปริมาณธุรกิจสะสมรวม

ในส่วนของการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายฐานการค้าและการลงทุนไปยังต่างประเทศ ปัจจุบัน EXIM BANK มีวงเงินที่ให้การสนับสนุนแก่สินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวมทั้งสิ้น 84,245 ล้านบาท และมีเงินให้สินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นปี 2561 จำนวน 39,265 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายฐานการค้าและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ส่งออกไทยมีโอกาสที่จะขยายการค้าการลงทุนระหว่างประเทศอีกมาก โดย ณ สิ้นปี 2561 มีเงินให้สินเชื่อคงค้างจำนวน 29,441 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2560 เท่ากับ 1,546 ล้านบาท

"EXIM BANK เร่งเดินหน้าพัฒนาองค์กรและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยนำพาผู้ประกอบการไทยไปสู่โอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในตลาดใหม่ ด้วยการทำงานร่วมกันกับภาครัฐและเอกชนในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยด้วยความพร้อมทั้งด้านเครือข่ายธุรกิจ การเงิน และองค์ความรู้ นำไปสู่การพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน" นายพิศิษฐ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4