“ดัชนีฯ เดือนมิถุนายน 2562 ลดลงต่อเนื่องอยู่ที่โซนทรงตัวเป็นเดือนที่สาม โดยข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน ขณะที่นักลงทุนคาดหวังการเมืองคลี่คลายภายหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่หนุนความเชื่อมั่นนักลงทุน”

พฤหัส ๐๖ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๓:๕๙
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนมิถุนายน 2562 ว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงต่อเนื่องอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว (Neutral) เป็นเดือนที่สาม โดยผลสำรวจพบว่าปัจจัยต่างประเทศจากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ขณะที่คาดหวังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่และนโยบายภาครัฐ เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุน"

ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนมิถุนายน 2562 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้

- ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (สิงหาคม 2562) อยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" (Neutral) (ช่วงค่าดัชนี 80 - 119) โดยลดลง 16.56% มาอยู่ที่ระดับ 87.20

- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศทรงตัวอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)

- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ลดลงมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนรายบุคคลลดลงมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ อยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral) เช่นเดิม

- หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดธนาคาร (BANK)

- หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA)

- ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์ทางการเมือง

- ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

"ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลงโดยอยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเป็นเดือนที่สาม โดยกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากเกณฑ์ร้อนแรงมาอยู่ที่เกณฑ์ซบเซา กลุ่มบัญชีนักลงทุนรายบุคคลลดลงจากเกณฑ์ทรงตัวมาอยู่ที่เกณฑ์ซบเซา ขณะที่กลุ่มสถาบันในประเทศและกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศลดลงเล็กน้อยอยู่ที่เกณฑ์ทรงตัวเช่นเดิม

ในช่วงเดือนพฤษภาคม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ เคลื่อนไหวลดลงจากระดับสูงสุดของเดือนที่ 1682 จุด ในช่วงต้นเดือน และทยอยลดลงต่อเนื่องมาระดับต่ำสุดที่ 1604 จุดในช่วงกลางเดือน จากนั้นดัชนีฯปรับฟื้นตัวขึ้นมาเคลื่อนไหวในช่วง 1620-1630 จุด โดยทิศทางการลงทุน ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดเป็นปัจจัยจากต่างประเทศจากความกังวลการเจรจาสงครามทางการค้าที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและขยายสู่อุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐและจีน รองลงมาคือสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการพิจารณางบประมาณภาครัฐปี 2563 ล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตาม นักลงทุนบางส่วนมองว่าสถานการณ์การเมืองและนโยบายภาครัฐที่ต่อเนื่องภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นการลงทุนมากที่สุด โดยการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศหนุนความเชื่อมั่นในลำดับรองลงมา สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกที่ต้องติดตามได้แก่ ความคืบหน้าข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และนโยบายทางเศรษฐกิจของจีนเพื่อรองรับสงครามทางการค้าและเทคโนโลยี ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ ความเสี่ยงและ ทิศทาง BREXIT ภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เทเรซ่า เมย์ แนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงนโยบายของกลุ่มอียูภายหลังการเลือกตังรัฐสภายุโรป นโยบายของภาครัฐของรัฐบาลชุดใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศและการส่งออก ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม"

ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนมิถุนายน 2562

"ผลจากดัชนีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับ 1.75% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และอายุ 10 ปีมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงในอีก 12 สัปดาห์ข้างหน้านับจากวันที่ทำการสำรวจ (17 พ.ค. 62) อันเป็นผลมาจากความกังวลจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ"

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนมิถุนายน 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. รอบเดือนมิถุนายนนี้ อยู่ที่ระดับ 50 ลดลงจากครั้งที่แล้ว แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน (Unchanged)" สะท้อนมุมมองของตลาดที่เพิ่มขึ้นว่าการประชุม กนง. ในเดือนมิถุนายนนี้มีโอกาสที่จะคงดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.75 ต่อไป โดยยังคงให้น้ำหนักกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ทิศทางดอกเบี้ยในตลาดโลก และอัตราเงินเฟ้อ เช่นเดิม

- ดัชนีคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 5 ปี ในรอบการประชุม กนง. สิงหาคม 2562 (ประมาณ 12 สัปดาห์ข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 36 ลดลงอย่างมากจากครั้งที่แล้ว และย้ายมาอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน (Unchanged)" จากระดับ 2.10% ณ วันที่ทำการสำรวจ (17 พ.ค. 62) เช่นเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ที่ดัชนีคาดการณ์ลดลงค่อนข้างมากจากครั้งที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 31 และมาอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน (Unchanged)" จากระดับ 2.54% ณ วันที่ทำการสำรวจ (17 พ.ค. 62) โดยปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ อุปสงค์อุปทานในตลาดตราสารหนี้ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลก และ Fund flow จากต่างชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital