บทวิเคราะห์เอคเซนเชอร์เผยธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสี่ยงสูญรายได้บริการชำระเงินร่วม 5 พันล้านเหรียญภายในปี 2025

พุธ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๔:๒๑
- สำหรับประเทศไทยนั้น ธนาคารมีรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินประมาณ 17% หรือราวหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเสี่ยงที่จะถูกทดแทนด้วยระบบชำระเงินดิจิทัลและการแข่งขันจากภาคนอกธนาคาร

- ทว่าด้วยระบบชำระเงินดิจิทัลที่กำลังขยายตัว ธนาคารจะสามารถเจาะโอกาสธุรกิจมูลค่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญเพื่อเป็นแหล่งรายได้บริการชำระเงินใหม่ได้ หากมีการปรับรูปแบบธุรกิจโดยใช้นวัตกรรม

รายงานฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) เปิดเผยว่า 14.3% ของรายได้บริการชำระเงินที่ธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยได้รับ อาจถูกแทนที่ด้วยการชำระเงินดิจิทัลที่กำลังขยายตัวและการแข่งขันจากภาคธุรกิจนอกภาคธนาคาร (non-bank) เพราะการชำระเงินกลายเป็นธุรกรรมที่ทำได้โดยทันที ไม่ต้องมีคนช่วยจัดการ และไม่มีค่าใช้จ่าย

รายงานฉบับนี้พบว่า รายได้บริการชำระเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 6.1% ต่อปี จาก 2.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2019 เป็นร่วม 3.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2025 ทั้งนี้ หากธนาคารเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีล่าสุดเข้ามาใช้และเน้นให้บริการที่ให้มูลค่าเพิ่มแก่ลูกค้า จะสามารถเจาะส่วนแบ่งจากตลาดมูลค่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และดันรายได้ให้เติบโตเพิ่มขึ้นได้

รายงานหัวข้อ "Banking Pulse Survey: Two Ways To Win" เป็นรายงานจากการใช้โมเดลวิเคราะห์รายได้และความเสี่ยงที่เอคเซนเชอร์พัฒนาขึ้น เพื่อประเมินแนวโน้มการชำระเงินของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้ค้า เทคโนโลยี และ กฎระเบียบต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเสริมด้วยข้อมูลจากการสำรวจผู้บริหารที่ดูแลด้านการชำระเงิน 240 คนใน 22 ประเทศ เพื่อให้ทราบว่าผู้บริหารมีแผนจะลดผลกระทบและใช้ประโยชน์จากการพลิกโฉมของวงการการชำระเงินอย่างไร จึงจะเสริมสร้างความภักดีของลูกค้า รายได้ และอัตราการทำกำไร

"โลกแห่งการชำระเงินที่ทำได้โดยทันที ไม่ต้องมีคนช่วยจัดการ และไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร จะยังคงอยู่กับเราต่อไป ทำให้ มาร์จิ้นของธุรกิจน้อยลง ๆ จนเกิดแรงกดดัน จากทั้งคู่แข่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) เฟื่องฟูมาก" นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทยกล่าว "เมื่อระบบการชำระเงินที่ทันสมัย มีพัฒนาการที่ดีมากในอาเซียน โดยหลาย ๆ ประเทศได้นำระบบการชำระเงินทันที (instant payment) มาใช้แล้ว รายได้ที่มาจากลูกค้าในปัจจุบันจึงน้อยมาก ๆ หรือเกือบจะเป็นศูนย์ ยกเว้นธุรกิจบัตรต่าง ๆ ประเด็นที่เร่งด่วนสำหรับภูมิภาค จึงเป็นการหาทางเลือกแหล่งรายได้อื่นและประหยัดต้นทุนให้ได้"

"ตลาดการชำระเงินกำลังบูม และมีโอกาสมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสำหรับผู้ที่มีความพร้อมลงทุนในเทคโนโลยีใหม่และใช้โมเดลธุรกิจที่ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วย ธนาคารที่ตามไม่ทันจึงมีความเสี่ยงที่จะถูกทิ้งห่างในตลาดบริการชำระเงิน"

รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า ในอีก 6 ปีข้างหน้า ธนาคารต่าง ๆ จะมีแรงกดดันมากขึ้นในด้านรายได้ธุรกรรมจากบัตรต่าง ๆ และค่าธรรมเนียม เพราะธุรกรรมชำระเงินทำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ส่งผลให้รายได้บริการการชำระเงินสัดส่วน 9.6% ในภูมิภาคนี้ ต้องสั่นคลอน นอกจากนี้ การแข่งขันจากธุรกิจนอกภาคธนาคารในด้าน invisible payment การชำระเงินจึงทำผ่านทางกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ได้ รายได้ของธนาคารราว 3.1% จึงสั่นคลอนด้วยเช่นกัน อีกทั้งระบบการชำระเงินทันทียังเข้ามาทดแทนการใช้บัตร การโอนและชำระรายการต่าง ๆ สามารถทำได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งธนาคารอาจไม่ได้สนใจเท่าใดนัก แต่ก็อาจกระทบต่อรายได้ 1.7% ของบริการการชำระเงินส่วนนี้

สถานการณ์จะเข้มข้นจากรายได้ธุรกรรมจากบัตรและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ลดลง โดยทั้งกฎระเบียบและเทคโนโลยีก็จะเป็นปัจจัยทำให้ธนาคารมีบทบาทด้านการชำระเงินน้อยลงด้วย ซึ่งในระหว่างปี 2015-2018 รายได้จากธุรกรรมบัตรเครดิตองค์กรของธนาคารทั่วโลกนั้น ลดลง 33% ขณะที่รายได้ธุรกรรมบัตรเดบิตลดลงเกือบ 15% ส่วนรายได้จากบัตรเครดิตลดลงเกือบ 12%

รายงานฉบับนี้พบว่า อุตสาหกรรมธนาคารมีความตระหนักเกี่ยวกับความท้าทายจากเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อบริการชำระเงิน โดยกว่า 2/3 หรือ 71% ของผู้บริหารที่สำรวจจากทุกตลาด เห็นพ้องว่ามีหลายธุรกรรมการชำระเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ทำได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย และเกือบ 3/4 หรือ 73% ก็เชื่อว่าการชำระเงินส่วนใหญ่ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางแล้ว หรือจะทำได้ภายในอนาคตอันใกล้คือ 12 เดือนข้างหน้า ผู้บริหาร 78% ยังกล่าวว่าการชำระเงินในปัจจุบัน สามารถทำได้โดยทันที หรือจะทำได้ภายในอนาคตอันใกล้คือ 12 เดือนข้างหน้านี้

"การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลของระบบการชำระเงินในภูมิภาคจะส่งผลกระทบเชิงลึกต่อผู้ประกอบการทุกรายในอุตสาหกรรม ซึ่งธนาคารจะต้องเปลี่ยนในระดับฐานรากเกี่ยวกับมุมมองต่อรายได้ในส่วนนี้" นายนนทวัฒน์กล่าว "แต่ก่อนธนาคารมีรายได้หลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากช่องทางเหล่านี้ แต่ก็กำลังจะเสียส่วนนี้ไปเมื่อมีการแข่งขันเข้มข้นขึ้น จึงต้องพัฒนาโมเดลธุรกิจดิจิทัลสำหรับการแข่งขันยุคใหม่"

เพื่อรับมือกับความท้าทายในตลาด 18% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า ประเด็นสำคัญสำหรับธนาคารคือ การสร้างความปลอดภัยในการทำธุรกรรมการชำระเงินสำหรับรายย่อย และราว 1/4 หรือ 22% ได้ระบุถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ การเรียนรู้ของเครื่อง และนวัตกรรมศูนย์รวมการชำระเงิน ในฐานะแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องนำมาปรับใช้เข้ากับระบบหลัก ๆ เพื่อให้การชำระเงินทำได้ต่อเนื่องและฉับไว

สำหรับประเทศไทยนั้น ธนาคารมีรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินประมาณ 17% หรือราวหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเสี่ยงที่จะถูกทดแทนด้วยระบบชำระเงินดิจิทัลและการแข่งขันจากภาคนอกธนาคาร รายงานฉบับนี้ ประเมินว่ารายได้บริการชำระเงินในไทย จะเพิ่มขึ้นประมาณ 5.2% ต่อปี จากร่วม 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2019 เป็น 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2025 จึงมีโอกาสการสร้างรายได้อีก 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ธนาคารสามารถทำได้เมื่อนำเทคโนโลยีใหม่และโมเดลธุรกิจใหม่ในเชิงนวัตกรรมเข้ามาใช้

นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย

เกี่ยวกับการสำรวจ Accenture 2019 Global Payments Survey

เอคเซนเชอร์จัดทำการสำรวจออนไลน์ในกลุ่มผู้บริหารที่ดูแลบริการชำระเงินสำหรับรายย่อยและองค์กร ให้กับธนาคารขนาดใหญ่ทั่วโลก ทั้งจากออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน (แผ่นดินใหญ่และฮ่องกง) เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นอรเวย์ สิงคโปร์ สเปน สวีเดน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา การสำรวจนี้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 14 ก.พ. – 10 มี.ค. 2562 โดยมีเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนรวม (overall margin of error) ไม่เกิน 1.55 จากจุดกึ่งกลางระดับความเชื่อมั่นที่ 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์

เกี่ยวกับเอคเซนเชอร์

เอคเซนเชอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ดิจิทัล การบริหารเทคโนโลยีและการปฏิบัติการชั้นนำของโลก และด้วยประสบการณ์ การทำงานอย่างลึกซึ้ง ผนวกกับศักยภาพที่สมบูรณ์แบบในกว่า 40 อุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมทุกสายงานของธุรกิจ พร้อมด้วยเครือข่ายการให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เอคเซนเชอร์สามารถร่วมมือกับลูกค้า เชื่อมต่อธุรกิจและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ยกระดับองค์กรของลูกค้าให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและสมรรถภาพสูง สามารถสร้างคุณค่าอันยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้นได้ ปัจจุบันเอคเซนเชอร์ มีพนักงานประมาณ 492,000 คนในกว่า 120 ประเทศ เอคเซนเชอร์มุ่งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำงานมีคุณภาพดีขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.accenture.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๒๑ งานวิจัย Kaspersky เผย ผลร้ายจากภัยคุกคามเป็นตัวกระตุ้นรูปแบบพฤติกรรมทางไซเบอร์ของนักการศึกษามากที่สุด
๐๘:๓๓ ซินเน็คฯ จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมกางแผนสร้างการเติบโต สู่เป้ารายได้ 40,000
๐๘:๓๘ BRR ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น แบบ Hybrid ประจำปี 2567 ผถห. เคาะจ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น - ชูสตอรี่ ESG สู่ความยั่งยืน
๐๘:๑๖ DEMI HAIR CARE SCIENCE เปิดตัวผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูผมเสียอย่างล้ำลึก ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
๐๘:๓๔ ซีอีโอ BBGI ร่วมงาน OECD Global Forum on Technology ขึ้นเวทีเสวนาระดับโลกในหัวข้อ Sustainable Production ที่กรุงปารีส
๐๘:๒๓ ฟันโอ-ทิวลี่ คว้ารางวัล 2023 Top Influential Brands Award สุดยอดแบรนด์ที่ทรงอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากที่สุด
๐๘:๔๗ เฮอริเทจ จัดโปรแรง เอาใจคนรักผลไม้ ลดสูงสุดกว่า 15%
๐๘:๕๘ ต้อนรับฤดูร้อนสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนกับ GAMBERO ROSSO DI MAZARA กุ้งแดงมาซาร่า-ราชินีแห่งท้องทะเลซิซิลี ที่ห้องอาหารอิตาเลียน
๐๘:๔๐ Tinder ส่งฟีเจอร์ใหม่ Share My Date แชร์แผนการออกเดทในแอพฯ แบบเรียลไทม์ให้เพื่อน-ครอบครัว
๐๘:๐๘ เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็นฮ่องเต้ซินโดรม