บลจ.ไทยพาณิชย์จ่ายปันผล 3 กองทุนตปท.หุ้นอินเดีย-ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่-โกลบอลเฮลธ์แคร์ มูลค่ารวมกว่า 27 ล้านบาท

พฤหัส ๑๙ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๔๒
นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทฯ เตรียมจ่ายปันผลกองทุนต่างประเทศพร้อมกันจำนวน 3 กองทุน มูลค่ารวมกว่า 27 ล้านบาทในวันที่ 24 มีนาคม 2563 นี้ สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2562 – วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นอินเดีย (SCBINDIA) จ่ายปันผลในอัตรา 0.2133 บาทต่อหน่วย ซึ่งได้มีการจ่ายระหว่างกาลแล้วเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562 จำนวน 0.1100 บาทต่อหน่วย คงเหลือจ่ายงวดนี้ 0.1033 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 8 รวมจ่ายปันผลจำนวน 0.9083 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2558) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ iShares India 50 ETF ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (NASDAQ) บริหารงานภายใต้ความดูแลของ BlackRock และมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของ CNX NIFTY Index เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของ CNX NIFTY Index TR USD
บลจ.ไทยพาณิชย์จ่ายปันผล 3 กองทุนตปท.หุ้นอินเดีย-ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่-โกลบอลเฮลธ์แคร์ มูลค่ารวมกว่า 27 ล้านบาท

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่(SCBEMBOND) จ่ายปันผลในอัตรา 0.2791 บาทต่อหน่วยนับเป็นการจ่ายปันผลครั้งที่ 4รวมจ่ายปันผลจำนวน0.6897 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนJPMorgan Funds – Emerging Markets Investment GradeBond Fund ชนิดหน่วยลงทุนShare Class C (ACC) ลงทุนด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ(USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่บริหารงานโดยJ.P Morgan Asset Management

สำหรับอีก1 กองทุน คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์(SCBGHC) สำหรับงวดผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2562 – วันที่ 29 กุมภาพันธ์2563 โดยจ่ายปันผลในอัตรา 0.1584 บาทต่อหน่วยนับเป็นการจ่ายปันผลครั้งที่ 4 รวมจ่ายปันผลจำนวน0.5737 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558) ทั้งนี้กองทุน SCBGHC มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Janus Global Life SciencesFund ชนิดหน่วยลงทุน I Share Class (InstitutionalShare Class) สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในการดำเนินชีวิต (Life Sciences) หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตได้แก่ บริษัทด้านการวิจัย พัฒนาผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องสุขภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตัวเอง การแพทย์หรือเภสัชกรรมรวมไปถึงบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตหลักมาจากผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการจดสิทธิบัตร หรือตลาดอื่นใดที่ได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตเป็นต้น

นายณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นอินเดียมีความผันผวนมากขึ้นด้วยค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลง ซึ่งเกิดจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ตลาดมีความกังวลต่อดุลการค้าของอินเดียว่าจะมีการขาดดุลเพิ่มเนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันเป็นหลักถึงเกือบร้อยละ 80ของความต้องการด้านพลังงานเชื้อเพลิงในประเทศ รวมไปถึงเมื่อช่วงต้นปี 2562 มีการปะทะกันระหว่างอินเดียและปากีสถานบริเวณดินแดนแคชเมียร์ ที่ทำให้องค์ประกอบโดยรวมของตลาดอินเดียไม่ดีเหมือนตลาดอื่นๆ ในเอเชีย ทั้งนี้ หลังจากที่นาย นเรนทระ โมที ได้ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งและมีเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำให้ตลาดปรับตัวดีขึ้นอย่างไรก็ดี ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ธนาคารกลางอินเดียได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องของตลาดและเศรษฐกิจรวมไปถึงนโยบายจากรัฐบาลที่ออกมาเพิ่มทุนให้ธนาคารรัฐที่มีหนี้เสียและนโยบายปฏิรูประบบธนาคารเพื่อจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องและสามารถที่จะปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจต่อไป อย่างไรก็ดีธนาคารกลางอินเดียมีการปรับลดดอกเบี้ยลงมาอย่างต่อเนื่องในปี 2562 จากอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6 มาอยู่ที่ 5.15 ซึ่งยังสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีกหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19ยังไม่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยราคาน้ำมันที่ต่ำลงอย่างหนักในช่วงหลังจะช่วยเรื่องเงินเฟ้อสูงในอินเดียได้

สำหรับภาพรวมการลงทุนตราสารหนี้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวค่อนข้างผันผวนโดยในช่วงครึ่งปีแรกราคาของตราสารปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในหลายประเทศที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลงทำให้มีเงินทุนไหลเข้าตราสารหนี้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ได้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่านอกจากนี้ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่มีท่าทีผ่อนคลายลงก็เป็นอีกปัจจัยสนับสนุนให้นักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีต่อตราสารกลุ่มนี้สำหรับการแพร่ระบาดของCOVID-19 ในช่วงต้นปี 2563และการประกาศสงครามราคาน้ำมันของซาอุดิอาระเบียกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่กดดันให้มีเงินทุนไหลออกจากตราสารเสี่ยงทั่วโลกจากความไม่แน่นอนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากทั้งสองเหตุการณ์อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้คาดว่านโยบายการเงินและการคลังฉุกเฉินที่ประกาศออกมาในหลายประเทศจะช่วยประคับประคองและจำกัดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนภาพรวมหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ ตั้งแต่ต้นไตรมาส4/2562 ตลาดหุ้นในกลุ่มพัฒนาแล้วปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังได้รับแรงหนุนจากจากสภาพคล่องที่ขยายตัวภายหลังธนาคารกลางของสหรัฐฯ และ สหภาพยุโรปได้ดำเนินการมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QuantitativeEasing) และแสดงจุดยืนที่จะดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกทั้งประเด็นสงครามทางการค้าดูมีท่าทีที่ดีขึ้น หลังสหรัฐฯและจีนบรรลุข้อตกลงทางการค้า Phase I ได้สำเร็จ ประกอบกับการเมืองในสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มที่ดีขึ้นภายหลังการจัดการเลือกตั้งและพรรคConservative ของ นายบอริส จอห์นสันครองเสียงข้างมากในสภา อีกทั้งยังครองเสียงเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อน ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนให้ร่างข้อตกลงBrexitฉบับใหม่ผ่านสภาได้ในที่สุด

อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกเกิดเผชิญความผันผวนตลาดหุ้นทั่วโลกถูกกดดันอย่างหนักจากโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้น หลังพบการกระจายตัวของผู้ป่วยไปในหลาย ประเทศสร้างความกังวลถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวทั่วโลกที่ชะลอตัวลงการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลงรวมถึงการหยุดชะงักและการขาดตอนของโซ่อุปทาน (SupplyChain Disruption) ซึ่งคาดว่าตลาดหุ้นทั่วโลกอาจเผชิญความผันผวนอยู่ในระยะสั้นแต่อย่างไรก็ดี การปรับฐานของราคาที่เกิดขึ้น ทำให้ Valuation ของกลุ่ม Healthcare มีความน่าสนใจมากขึ้นอีกทั้งในระยะยาวนั้น กลุ่ม Healthcare ยังคงได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ รวมถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นและความเจริญที่ขยายตัวทั่วโลกที่จะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมต่อไป

ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ SCBAM Call Centerโทร.02-777-7777 กด 0 กด 6หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ