“สันติ”สั่งเอ็กซิมแบงก์ปรับกลยุทธ์ หนุนผู้ส่งออกเจาะตลาดใหม่รายประเทศ

พุธ ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๐๔
รมช.คลัง กำชับนโยบายเอ็กซิมแบงก์ เร่งสำรวจตลาดใหม่เอื้อผู้ส่งออก แนะประสานทูตพาณิชย์ชี้ช่องทางขยายตลาด เช็คสินค้ารายประเทศที่ขาดแคลน พร้อมให้เอ็กซิมแบงก์อุ้มผู้ส่งออก ลดผลกระทบจากปัญหาโควิด-19
สันติสั่งเอ็กซิมแบงก์ปรับกลยุทธ์ หนุนผู้ส่งออกเจาะตลาดใหม่รายประเทศ

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังผู้บริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK รายงานผลการดำเนินงานว่า ได้สั่งการให้ผู้บริหาร EXIM BANK วางกลยุทธ์เพื่อเตรียมความพร้อมแผนการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ส่งออก ให้ครอบคลุมธุรกิจทุกรูปแบบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก สตาร์ทอัพ และธุรกิจขนาดกลาง ทั้งในด้านการให้เครดิต การหาช่องทางการค้าขาย การขยายตลาดใหม่ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าและบริการเพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันได้มากขึ้น

ดังนั้น ได้เร่งให้ เอ็กซิมแบงก์ ไปจัดทำฐานข้อมูลรายประเทศ และรวบรวมเป็นสถิติ พร้อมจัดทำการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด- 19 เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการ สามารถนำไปพิจารณาช่องทางการทำตลาดของสินค้า เพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่างๆได้คล่องตัวมากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้เอ็กซิมแบงก์ พิจารณาการสนับสนุนด้านสินเชื่อ ธุรกรรมการเงินที่เกี่ยวข้อง ทั้งประกันการส่งออก และ Letter of Credit หรือ LC ภายใต้ภารกิจของธนาคารที่เป็นส่วนสำคัญของการขยายตลาดส่งออกของไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากที่ต้องประสบปัญหาการชะลอตัวของภาคการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้เอ็กซิมแบงก์ ควรทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อลักษณะค้ำประกันการส่งออกให้มีประสิทธิภาพ ควรจะต้องทำหน้าที่ในการเจาะตลาด หาตลาด หรือแหล่งข้อมูลใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ส่งออกมีช่องทางในการจำหน่ายและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น

“อยากเห็นเอ็กซิมแบงก์ไปสำรวจภารกิจตัวเองโดยต้องทำหน้าที่มากกว่าการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ ไม่เช่นนั้นก็เหมือนกับสถาบันการเงินทั่วๆไป ไม่ใช่ธนาคารเพื่อการส่งออก เอ็กซิมแบงก์ต้องสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ ทั้งในด้านการค้ำประกัน การสอดส่องดูแลว่าประเทศที่เป็นคู่ค้าของเรามีความน่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร โดยประสานกับทูตพาณิชย์ดูว่าประเทศนั้น ต้องการสินค้าประเภทไหน บางสินค้าผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตได้ดีมีคุณภาพ เพียงแต่ผู้ประกอบการไม่มีข้อมูล ฉะนั้นอาจจะต้องประชาสัมพันธ์ว่าประเทศไหนมีความต้องการสินค้าประเภทใดเพื่อที่ผู้ประกอบการไทยจะได้หาช่องทางส่งออกไป ผมมองว่าสิ่งเหล่านี้คือภารกิจที่สำคัญของเอ็กซิมแบงก์ ”

ทั้งนี้หลังจากรัฐบาลปลดล็อกการเดินทาง คาดว่าทุกคนจะมุ่งออกไปหาตลาด ทำให้การแข่งขันสูง ในช่วงนี้จะมีมาตรการสนับสนุนอย่างไร เช่นในด้านเงินทุนอาจจะปล่อยกู้กับการค้ำประกันหรือสนับสนุนในด้านการตลาด เช่น ประสานกับทูตพาณิชย์ของไทยในแต่ละประเทศสำรวจดูว่าสินค้าอะไร เซ็กเตอร์ไหนที่มีโอกาส อาจจะจัดสัมมนาให้กับสมาคมผู้ประกอบการ โดยเชิญทูตพาณิชย์มาให้ข้อมูล หากต้องการเงินทุนก็เติมให้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เอ็กซิมแบงก์ เป็นคำตอบในการที่จะรีสตาร์ทการส่งออกที่ได้ชะงักไป ให้กลับมาได้ และทำให้เอ็กซิมแบงก์เป็นองค์กรหนึ่งที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๒๒ เสนา ตอกย้ำความสำเร็จ ในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
๐๙:๑๑ EP พร้อมเดินหน้ารับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม ดันผลงานปี67โตทะยาน 4 เท่า หลังได้รับการสนับสนุนเงินกู้ Project Finance จาก
๐๙:๓๘ BEST Express บุก บางบัวทอง เปิดแฟรนไซส์ขนส่งสาขาใหม่ มุ่งศึกษาพื้นที่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ตอบความต้องการตรงจุด
๐๙:๑๗ ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด
๐๙:๓๗ CPANEL APM ร่วมต้อนรับคณะนักธุรกิจชาวกัมพูชา พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิต Precast จ.ชลบุรี
๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้