ก.ล.ต. เสนอร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ศุกร์ ๐๓ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๐๒
ก.ล.ต. เสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ให้เป็นการออมที่รองรับการเกษียณมากยิ่งขึ้น สร้างกลไก ช่วยให้สมาชิกมีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสม รวมทั้งผลักดันและส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ ซึ่งจะสอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า “ในปี 2564 ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ จากการเพิ่มสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ เป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่แรงงานในระบบส่วนใหญ่ยังมีรายได้หลังเกษียณที่ไม่เพียงพอ การออมเพื่อการเกษียณจึงเป็นวาระแห่งชาติที่มีการบรรจุทั้งในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ในปัจจุบัน PVD ซึ่งเป็นแหล่งเงินออมสำคัญรองรับการเกษียณแก่ลูกจ้าง ยังมีสมาชิก เพียง 3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนลูกจ้างภาคเอกชนในระบบ* และมีจำนวนสมาชิกที่ได้รับเงินหลังเกษียณมากกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำที่พึงมี** เพียงร้อยละ 24 ของจำนวนสมาชิก PVD เท่านั้น”

ก.ล.ต. จึงได้เสนอหลักการการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 เพื่อเพิ่มศักยภาพ PVD ให้รองรับการเกษียณของลูกจ้างและช่วยผลักดันให้แรงงานในระบบมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 โดยมีหลักการสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้

(1) สนับสนุนให้นายจ้างที่มี PVD เป็นสวัสดิการอยู่แล้ว จัดให้ลูกจ้างสมัครเป็นสมาชิกได้โดยอัตโนมัติเว้นแต่ลูกจ้างจะปฏิเสธ (2) ส่งเสริมกลไกที่ช่วยให้สมาชิกมีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสม โดยกำหนดให้กองทุนเลือกนโยบายการลงทุนให้แบบอัตโนมัติสำหรับสมาชิกที่ไม่เลือกนโยบายการลงทุนด้วยตนเองที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของสมาชิก เช่น อายุ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (3) เพิ่มประสิทธิภาพ PVD เช่น การปรับปรุงกลไกการคุ้มครองสมาชิกให้ได้รับความเป็นธรรม โดยกำหนดคุณสมบัติ บทบาทหน้าที่ ของคณะกรรมการกองทุน การแจ้งให้สมาชิกทราบถึงความเพียงพอของเงินออม โดยการนำเสนอการคาดการณ์เงินออมยามเกษียณ การกำหนดมาตรฐานข้อบังคับและการรับจดทะเบียน PVD เพื่อลดภาระกับภาคเอกชน และการเพิ่มความยืดหยุ่นในการออมให้ลูกจ้าง และ (4) การพัฒนา PVD เพื่อรองรับร่าง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ซึ่งเป็นกองทุนการออมภาคบังคับของแรงงานภาคเอกชนในระบบ

หมายเหตุ

ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2562 จากกระทรวงการคลังและกระทรวงแรงงาน

** ข้อมูลจากบทศึกษาในโครงการศึกษาวิเคราะห์ระดับสินทรัพย์การออมขั้นต่ำที่ผู้เกษียณอายุพึงมีสำหรับการประกันคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน (วัยสูงอายุ) โดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2561 พบว่าเงินก้อนพึงมี ณ วันเกษียณอายุขั้นต่ำ 3 ล้านบาท หรือเดือนละ 12,500 บาทเป็นเวลา 20 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024