'เคน หู' รองประธานหัวเว่ย ชี้ '5G' สร้างมูลค่าใหม่ให้ภาคอุตสาหกรรมเปิดโอกาสการเติบโตใหม่ทางธุรกิจ

พฤหัส ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๔:๑๔

ในงาน Annual Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายเคน หู (Ken Hu) รองประธานหัวเว่ยกล่าวกับบรรดาผู้นำธุรกิจจากภาคโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัลถึงมูลค่าใหม่ที่ 5G จะนำมาสู่ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน รวมถึงวิธีการที่เราทำงานและเชื่อมต่อถึงกัน ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งใน การสร้างมูลค่าใหม่ที่ไปไกลเกินกว่าตลาดผู้บริโภค

'เคน หู' รองประธานหัวเว่ย ชี้ '5G' สร้างมูลค่าใหม่ให้ภาคอุตสาหกรรมเปิดโอกาสการเติบโตใหม่ทางธุรกิจ

นายเคน หู ยังกล่าวถึงประเด็นการเร่งปรับใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมว่า "เรื่องของนวัตกรรมไม่มีวิธีการสำเร็จรูป เราต้องมุ่งเน้นไปที่ความต้องการที่แท้จริง ในสถานการณ์จริง และสร้างศักยภาพต่าง ๆ ขึ้นมาให้ตอบโจทย์ ความต้องการเหล่านั้น นี่คือความท้าทาย แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับทุก ๆ คนที่มีส่วนร่วม"

การวางเครือข่าย 5G ทั่วโลกมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว ในฐานะผู้นำด้าน 5G ประเทศจีนได้ติดตั้งสถานีฐานมากกว่า 600,000 สถานีในเมืองต่าง ๆ มากกว่า 300 แห่ง ซึ่งทำหน้าที่รองรับการเชื่อมต่อของสัญญาณ 5G กว่า 160 ล้านโครงข่ายทั่วประเทศ ปัจจุบัน บริการ 5G ในจีนมีความเร็วระดับหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และมีบริการ 5G ในหลากหลายขอบเขต ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศมากกว่า 20 อุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการสาธารณสุข ท่าเรือ เหล็ก กริดไฟฟ้า เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมการผลิต

นายเคน หู ยังระบุว่า "การปรับใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ขยับจากการตรวจสอบเชิงเทคนิคสู่การติดตั้งเพื่อใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว สถิติล่าสุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 ผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ทั้งสามของจีนได้ดำเนินโครงการนวัตกรรม 5G แล้วกว่า 5,000 โครงการ และลงนามในข้อตกลงทางธุรกิจด้าน 5G แล้วมากกว่า 1,000 รายการ"

เขายังเล่าถึงข้อสังเกต 4 ประการเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการผลักดันนวัตกรรม 5G สำหรับภาคอุตสาหกรรมไว้ดังนี้

ประการแรก ภาคอุตสาหกรรมต้องระบุความต้องการที่แท้จริงให้ได้ โดยอิงจากสถานการณ์การใช้งานทางธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง ขณะที่หลายภาคอุตสาหกรรมแสดงออกชัดเจนว่าพวกเขาพร้อมที่จะรับเอาเทคโนโลยี 5G ไปใช้งาน นายเคน หู ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมสำหรับรูปแบบการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง และประเมินว่า 5G เป็นเครื่องมือที่ถูกต้องสำหรับงานนั้น ๆ หรือไม่ "นี่เป็นวิธีที่ทำให้เราระบุได้ว่าส่วนใดคือความต้องการที่แท้จริงที่คุ้มค่าต่อการลงทุน"

หัวเว่ยเสนอเกณฑ์ 4 ข้อเพื่อใช้ประเมินความต้องการที่แท้จริง ได้แก่ ความเกี่ยวข้องเชิงเทคนิค, ศักยภาพทางธุรกิจ, ความพร้อมด้านห่วงโซ่คุณค่า (value chain maturity) และการวางมาตรฐานกลาง จากหลักเกณฑ์ข้างต้นนี้ สถานการณ์ทั่วไป 4 ประการที่จะแสดงให้เห็นความต้องการที่แท้จริงของการใช้ 5G คือ ระบบควบคุมจากระยะไกลหรือ remote control, ระบบ Video Backhaul ที่ใช้ในการสตรีมมิงวิดีโอ, ระบบ Machine Vision และระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์หรือ real-time positioning

ประการที่สอง โครงข่ายต้องได้รับการปรับให้เข้ากันได้กับทุกสถานการณ์ โครงข่ายถือเป็นรากฐานสำคัญของบริการ 5G ที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์โครงข่าย ตลอดจนการวางแผน การก่อสร้าง การบำรุงรักษา รวมถึงการปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของการใช้งานแต่ละกรณีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายและผู้ค้าต้องทำงานร่วมกันและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยอิงจากความรู้ความเข้าใจเชิงลึกที่มีต่อปัญหาในระดับอุตสาหกรรม

ประการที่สาม อีโคซิสเต็มอันเฟื่องฟูของอุปกรณ์ 5G เชิงอุตสาหกรรมคือกุญแจสำคัญ จากการคาดการณ์ของหัวเว่ย ภายในสิ้นปี 2563 ราคาโมดูล 5G โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐ และจะลดลงจนถึง 40 ดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2565 ซึ่งจะทำให้อีโคซิสเต็มของอุปกรณ์ 5G สมบูรณ์มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ประการที่สี่ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมต้องพัฒนาศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อรองรับตลาด 5G ในภาคธุรกิจ เทคโนโลยี 5G เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล อย่างไรก็ตาม โซลูชันนี้ไม่สามารถทำงานให้ครบวงจรได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น นอกจากการเชื่อมต่อแล้ว ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมยังต้องพัฒนาบริการที่ครบวงจร เช่น บริการดำเนินการด้านคลาวด์ การพัฒนาแอปพลิเคชันในภาคอุตสาหกรรม และผสานรวมระบบอย่างครบวงจร เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์ในตลาดองค์กรซึ่งในขณะนี้ถือว่ายังขาดโซลูชันที่ครอบคลุมรอบด้านอยู่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน 2020 Global Mobile Broadband Forum สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.huawei.com/minisite/mbbf2020/en/

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4