กรุงศรีเผยผลสำรวจพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กองทุนของคนไทย แนวโน้มดีซื้อทุกปีสม่ำเสมอ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องความรู้

จันทร์ ๒๑ ธันวาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๑๒
Krungsri Customer Insight ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำรวจพฤติกรรมการซื้อกองทุนของคนไทย ผ่านช่องทาง LINE ด้วยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 502 คน จากหลากหลายอายุและอาชีพ และเป็นกลุ่มที่มีการลงทุนในกองทุนอยู่แล้วในปัจจุบัน พบคนไทยมีความสนใจซื้อกองทุนด้วยเหตุผลเพื่อใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเป็นหลัก มากกว่าเรื่องของผลตอบแทนและเป้าหมายทางการเงินส่วนบุคคล ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีความรู้ในเรื่องของกองทุนที่จำกัด ขณะที่โมบายแอปพลิเคชันเป็นช่องทางหลักในการซื้อเพิ่มกองทุนเดิมของผู้บริโภค
กรุงศรีเผยผลสำรวจพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กองทุนของคนไทย แนวโน้มดีซื้อทุกปีสม่ำเสมอ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องความรู้

ซื้อทุกปี แต่ยังซื้อในช่วงโค้งสุดท้ายของปี

ผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนอย่างกองทุน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนและออมเงินที่ได้รับความสนใจและไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนไทยในปัจจุบัน สะท้อนจากผลการสำรวจที่ผู้บริโภคส่วนมากถึง 82% ให้ความสำคัญและซื้อกองทุนเป็นประจำสม่ำเสมอในทุกๆ ปี โดยหากพิจารณาตามรายได้ต่อปีจะเห็นได้ชัดถึงแนวโน้มว่า ยิ่งผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อปีมากเท่าใดก็ยิ่งมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะซื้อกองทุนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งผลสำรวจยังพบด้วยว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคหนึ่งคนจะมีกองทุนถึง 4 กองทุน แต่ข้อสังเกตคือ รูปแบบการซื้อกองทุนยังเป็นการซื้อแบบทุ่มเงินในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีถึง 24% มากกว่าการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนที่มีเพียง 11%

ความรู้คือข้อจำกัดของการเลือกซื้อ

ผลสำรวจยังระบุให้เห็นว่า ผู้บริโภคส่วนมากถึง 60% เลือกซื้อกองทุนเดิมๆ ซ้ำๆ กันทุกปี และเลือกซื้อจากธนาคารที่ตนเองใช้งานหรือทำธุรกรรรมอยู่เป็นประจำ อีกทั้งซื้อด้วยความรู้ความเข้าใจในเรื่องกองทุนที่ตนเองอาจจะมีอยู่อย่างจำกัด และใช้ข้อมูลประเภทที่เป็นการสรุปกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงเป็นหลักในการพิจารณาเลือกซื้อกองทุน โดยอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการหาข้อมูล ขณะที่มีผู้บริโภคถึง 20% ที่ไม่ได้ค้นหาข้อมูลใดๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อ และเลือกที่จะมุ่งตรงไปยังธนาคารที่ตนเองใช้งานอยู่เป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้บริโภค 40% ที่ถือกองทุนมากกว่า 5 กองทุน และมีรูปแบบการซื้อที่มุ่งมองหาผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นหลัก โดยคนกลุ่มนี้เต็มใจที่จะเปลี่ยนไปซื้อหรือลงทุนในกองทุนใหม่ๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเพียงเรื่องรอง และซื้อกองทุนเต็มจำนวนที่ศักยภาพตนเองสามารถซื้อได้

โมบายแอปพลิเคชันเป็นช่องทางหลักในการซื้อซ้ำ

ผู้บริโภคส่วนมากถึง 51% เลือกใช้โมบาย แอปพลิเคชัน เป็นช่องทางหลักสำหรับการซื้อซ้ำหรือซื้อเพิ่มกองทุนที่มีอยู่เดิม แทนการเดินทางไปที่สาขาของธนาคารซึ่งมีอยู่ราว 36% สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการเข้าถึงของโมบายแอปพลิเคชั่นและศักยภาพความสะดวกในการใช้งานโมบายแอปพลิเคชั่น กลับกันหากเป็นการเลือกซื้อกองทุนใหม่ ช่องทางสาขายังเป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับผู้บริโภค ที่ต้องการพบหรือพูดคุยกับผู้ที่สามารถให้คำแนะนำ สะท้อนถึงบทบาทของสาขาในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน