มาตรฐานการผ่าตัดไทย ก้าวไกลสู่ AEC / วงการแพทย์ไทย เตรียมยกระดับผลักดัน มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ เป็นMedical Tourism in Thailand เพื่อก้าวไกลไปสู่มาตรฐาน AEC

อังคาร ๒๙ เมษายน ๒๐๑๔ ๑๔:๕๕
วงการแพทย์ไทย เตรียมยกระดับผลักดัน มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ เป็นMedical Tourism in Thailand รองรับเข้าสู่ AEC ( Association of Southeast Asian Nations )เน้นความร่วมมือและการสื่อสารระหว่างบุคคลากร และผู้ป่วยลดอัตราการเกิดภาวะไม่พึงประสงค์จนเกิดคดีความผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการแพทย์ภาคเอกชน และภารรัฐวิเคราะห์สถานการณ์ผลดี ผลเสีย ผลกระทบ โอกาสหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ หรือแม้แต่ชีวิตผู้คนในแต่ละวงการ โดยเงื่อนไขสำคัญการเปิดเสรีทางการค้าเต็มรูปแบบ ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจท้องถิ่นและการแข่งขันทางการค้า ระหว่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อก้าวไกลไปสู่มาตรฐานAEC

รศ. นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น กล่าวว่า รัฐบาลไทยเริ่มมีนโยบายส่งเสริมแผนกลยุทธ์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการให้บริการทางการแพทย์ หรือที่เรียกว่า Medical Tourism in Thailand เป็นการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออกและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้รวบรวมข้อมูลการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยชาวต่างชาติ พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 16.48 (ช่วง พ.ศ.2544-2550) ชึ่งจากสถิติดังกล่าวโรงพยาบาลและสถาบันการแพทย์ต่างๆจึงต้องเตรียมความ พร้อมเพื่อเข้าสู่ AEC เพื่อให้สามารถรองรับการเข้าใช้บริการของชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

" ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับการกล่าวขวัญในหมู่ชาวต่างชาติที่มีความต้องการได้รับการรักษาว่าเป็น ศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชีย โดยปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ ได้แก่ การมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การที่เดินทางเข้าประเทศได้อย่างไม่ลำบาก ค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง และความมีอัธยาศัยดีจากผู้ให้บริการ นอกเหนือจากนี้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวหลักอยู่แล้ว โดยมีการท่องเที่ยว ทางทะเล ภูเขา ศิลปะและวัฒนธรรม อาหาร ความบันเทิง และแหล่งซื้อของต่างๆ ซึ่งสามารถรองรับเหล่านักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี"รศ.นพ.วัชรพงศ์กล่าว

รศ. นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์กล่าวต่ออีกว่า สำหรับประเทศในเอเชียที่มีการบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพประเทศแรกๆได้แก่ ประเทศสิงค์โปรที่ได้พยายามสร้างตัวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์ หรือ Medical hub ซึ่งได้เน้นการสร้างชื่อเสียงในด้านการให้บริการทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แต่จุดขายของสิงคโปร์คือคุณภาพของบริการในระดับแนวหน้าของโลก ภายใต้ Bran name " Clincal Excellence" ซึ่งแนวคิดเรื่องการเป็นศูนย์กลางการให้ บริการทางการแพทย์ของเอเชียสิงคโปร์นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องหนือสัมพันธ์กับด้านการท่องเที่ยวและในส่วนนี้การพัฒนาของสิงคโปร์จึงมีความแตกต่างกับกรณีของประเทศไทยที่ต้องการผลักดันให้ไทยเป็น Medical hom Tourism in Thailand

ด้าน ผศ.นพ. มนวัฒน์ เงินฉ่ำ สาขาวิชากุมารศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์-ศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ด้านมาตรฐานการผ่าตัดของไทยที่จะก้าวไปสู่ AEC จะเน้นในเรื่องรายละเอียดการเช็คลิสข้อมูลผู้ป่วยก่อนที่จะทำการผ่าตัดว่ามีการแพ้ยา หรือไม่ ผู้ป่วยทราบชื่อในใบอนุญาติการผ่าตัดหรือลงชื่อในใบินุญาติหรือไม่ ชื่อผู้ป่วยตรงกับใบเช็คลิสที่จะทำการผ่าตัดไหม รวมถึงการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่ พยาบาล ศัลย์แพทย์ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อป้องกันความผิดพลาดและลดภาวะไม่พึงประสงค์ที่มีหลายๆอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้จนมีการฟ้องร้องคดีความต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็ชาวต่างชาติที่มาเข้ารับการรักษา ปัจจุบันเครื่องมือที่ทางวิทยาลัยแนะนำให้ใช้ คือ WHO Surgical Safety Checklist ซึ่งเริ่มใช้ทั่วไปในโรงพยาบาลที่มีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ แต่การปฏิบัติจริงอาจจะยังไม่มีความสมบูรณ์แบบมากพอ สำหรับเครื่องมือดังกล่าวนั้นจะสามารถลดความผิดพลาดได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล หรือสถาบันนั้นมีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้วอาจจะไม่ปรากฏผลที่ชัดเจน แต่หากนำไปใช้ในประเทศที่กำลังพัฒนาจะสามารถช่วยลดอัตราการเกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลายอย่างได้ประมาณ50%

" สำหรับ WHO Surgical Safety Checklist เป็นเพียงกระดาษเพียงแผ่นเดียวแต่มันสำคัญอยู่ที่วิธีการใช้งานที่ต้องมีความร่วมมือ ระหว่าง พยาบาล ศัลยแพทย์ วิศัลยีแพทย์ ต้องให้ความร่วมมือในการเช็คว่าข้อมูลทุกอย่างถูกต้องครบถ้วนพร้อมแล้วจริงๆก่อนที่จะเริ่มดำเนินการผ่าตัด รวมถึงก่อนคนไข้จะออกจากออกผ่าตัดต้องตรวจเช็คความเรียบร้อยทุกอย่างรวมถึงข้อมูลให้มีความถูกต้องพร้อมที่จะส่งต่อให้กับทีมที่ต้องดูแลผู้ป่วยต่อ ซึ่งปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติที่ไม่ใช้เพียงการขานรายละเอียดและทำการเช็คลิสเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยความร่วมมือความรอบคอบและความตั้งใจที่จะมีส่วนรวมในการปฏิบัติ " ผศ.นพ. มนวัฒน์ เงินฉ่ำ

ผศ.นพ. มนวัฒน์ เงินฉ่ำ กล่าวต่อว่า สำหรับบทบาทโรงพยาบาลในประเทศไทยเองเมื่อเข้าสู่ AEC จะต้องพยายามทำให้ได้มาตรฐานตามที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) ได้รับรองจาก ISQua หรือ The International Society for Quality in Health Care ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ให้การรองรับหน่วยงานที่รับรองคุณภาพบริการสุขภาพในประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งคิดว่าหากสามารถปฏิบัติตามมารตฐานได้จริงๆจะสามารถปรับให้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติได้ อีกส่วนที่สำคัญคือบุคคลากรที่มีความเหนื่อยล้าด้วยงานที่เพิ่มขึ้นเพราะปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น โดยจากกรณีดังกล่าว อาจทำให้เิกิดความผิดพลาดและปัญหาความผิดพลาดมักเกิดจากการกระจายงานที่ไม่ทั่วถึงทำให้บุคคลากรทำงานได้ไม่คลอบคลุมและรอบคอบอีกทั้งยังส่งผลให้การปฏิบัติงานเกิดความล่าช้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา