ปวด...อย่าละเลย โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

พฤหัส ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๒๕

แพทย์ประสาทวิทยาอายุรศาสตร์ รพ.พระรามเก้า

อาการปวดบริเวณใบหน้า หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงเพราะฟันผุหรือเกิดจากเหงือกอักเสบ แต่เมื่อรักษาอาการภายในช่องปากแล้ว กลับพบว่าอาการปวดใบหน้าไม่ได้หายตามไปด้วย หรือแท้ที่จริงแล้วการเกิดอาการปวดที่ใบหน้าอาจมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทคู่ที่ 5 (Trigerminal nerve) ที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากใบหน้า ลิ้น ฟัน ปาก เหงือก และควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร ถูกกดทับหรือเกิดจากปลอกประสาทเสื่อม ซึ่งโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ

พญ.ปฏิมา วีณะสนธิ แพทย์ประสาทวิทยาอายุรศาสตร์ รพ.พระรามเก้า กล่าวว่า โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่บริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งหรืออาจปวดบริเวณแก้ม เหงือกและฟันอย่างรุนแรง โดยอาการปวดจะเกิดขึ้นเองอย่างฉับพลัน เป็นระยะสั้นๆ และเกิดซ้ำๆ ลักษณะการปวดแปล๊บคล้ายไฟฟ้าช็อต เจ็บปวดรุนแรงจนผู้ป่วยบางรายไม่สามารถสัมผัสใบหน้า เคี้ยวอาหาร และแปรงฟันได้ตามปกติ ซึ่งสร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก บางครั้งอาการปวดจะกระตุ้นให้มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า การตรวจวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้โดยการสอบถามอาการจากผู้ป่วยและตรวจร่างกายร่วมด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนอื่น แต่ถ้าผู้ป่วยมีความผิดปกติในระบบประสาทส่วนอื่นแพทย์จะส่งตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (Magnetic resonance imaging) หรือ MRI และเมื่อตรวจพบอาการของโรคนี้แล้วแพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine) และอ็อกคาร์บาซีพีน (Oxcarbazepine) ที่ออกฤทธิ์ลดความไวของเส้นประสาท สามารถลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดทั้งชนิดที่เกิดขึ้นเอง และเมื่อถูกกระตุ้น แต่เมื่อหยุดกินยาผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดใบหน้าเกิดขึ้นมาอีกได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา หรือมีอาการรุนแรงเช่น มีเนื้องอกไปกดทับเส้นประสาท ต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งเป็นการรักษาที่จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากอาการปวดใบหน้าได้สูง ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยการให้ยาต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอว่ามีความผิดปกติจากการแพ้ยาหรือไม่ ถ้าพบว่าแพ้ยาก็ควรหยุดยาทันทีแล้วรีบมาพบแพทย์ อีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยไม่ควรเพิ่มขนาดของยาที่ทานเอง และหากพบว่าตนเองป่วยและต้องใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

โรงพยาบาลพระรามเก้าแนะนำว่าหากผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวควรเข้ารับการรักษาหรือพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้รับการรักษาหากปล่อยไว้อาการจะเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ