ประเทศไทยจัดงานประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ใช้ Live Streaming ถ่ายทอดสดการประชุมเป็นครั้งแรกแก่บุคลากรทางการแพทย์

พฤหัส ๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๐:๓๕
ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่าง ไทย-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ เพื่อการวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (HIV-NAT) ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จัดการอบรมวิชาการในระดับนานาชาติ "19th Bangkok International Symposium on HIV Medicine" ขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์และวิทยากรทั้งจากไทยและต่างประเทศเข้าร่วมงานกว่าหกร้อยคน พร้อมกันนี้ยังได้เปิดตัวเทคโนโลยีการประชุมระบบ Live streaming สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมงานประชุมได้

ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า HIV-NAT ได้จัด "งานประชุมวิชาการ "Bangkok International Symposium on HIV Medicine" ต่อเนื่องมา 19 ปีแล้ว โดยในปีนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำเทคโนโลยี Webcast หรือ Live Streaming หรือการถ่ายทอดสดมาใช้ ซึ่งช่วยสร้างสีสันให้กับงาน เป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อขยายโอกาสให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกเข้าถึงความรู้ได้กว้างขึ้นและอำนวยความสะดวกให้แก่ท่านที่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมงานได้ ขอขอบคุณ ViiV Healthcare และ GSK ที่เห็นถึงประโยชน์ของการถ่ายทอดสดของงานประชุมนี้"

การอบรมวิชาการในครั้งนี้ เราคาดหวังให้บุคลากรทางการแพทย์ทั้งจากเมืองไทยและจากต่างประเทศได้รับความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์เพื่อนำไปปรับใช้ในท้องถิ่นหรือประเทศของตัวเอง อีกทั้งสร้างความรู้จักคุ้นเคยระหว่างบุคลากรทางการแพทย์จากประเทศต่างๆ เพื่อการประสานงานต่อไปในอนาคต อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย"

ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ กล่าวเสริมว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคเอดส์ปัจจุบันทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ทั่วโลกมีภาวะที่ดีขึ้นมาก เพราะมีการให้ยาต้านไวรัสเอดส์อย่างกว้างขวางกับผู้ติดเชื้อ โดยปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อที่เข้าถึงยาต้านไวรัสกว่า 17 ล้านคน เทียบกับเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วที่มีผู้ติดเชื้อเข้าถึงยาต้านไวรัสไม่ถึง 1 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยปัจจุบันมีผู้เข้าถึงยาต้านไวรัสกว่าสองแสนคน หลังจากที่ผู้ติดเชื้อรับประทานยาต้านไวรัสเป็นเวลาต่อเนื่องนาน 6 เดือน ประมาณร้อยละ 95 จะมีปริมาณเชื้อเอชไอวีเหลือน้อยมาก จนไม่สามารถแพร่ไปสู่คนอื่นได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันดีขึ้นมีสุขภาพดีขึ้น และมีอายุขัยเกือบไม่แตกต่างจากคนทั่วๆ ไป

จากรายงานของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ ในปี 2558 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกสะสม 36.7 ล้านคน เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2.1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคเอดส์ 1.1 ล้านคน สำหรับประเทศไทย จากการคาดประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ พบว่าในปี 2559 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี 426,999 คน เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6,304 คน และมีผู้เสียชีวิตที่ติดเชื้อเอชไอวี 16,122 คน

ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ยังกล่าวถึงแนวทางในการยุติปัญหาโรคเอดส์ว่า "ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ที่ดีมากในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้เหลือไม่เกินปีละ 1,000 คน ภายในปี 2573 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ต่อไป ซึ่งมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานที่สำคัญ คือ 1. การรณรงค์ให้คนไทยมีความตระหนักในการไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ โดยคนไทยทุกคนมีสิทธิตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยในการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และลดความรุนแรงของโรค 2. ผู้ติดเชื้อจะได้รับยาต้านไวรัสฟรีทันที ไม่ต้องรอให้มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีอาการป่วยเสียก่อน ผู้ติดเชื้อจึงมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่ป่วยและไม่เสียชีวิตจากเอดส์ และที่สำคัญคือ จะไม่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เพราะฉะนั้นการกินยาต้านเชื้อเอชไอวีจึงเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีที่ดีที่สุด 3. สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จะต้องเข้าถึงวิธีการป้องกันที่ครบถ้วน คือต้องให้ความรู้ความเข้าใจ ใช้ถุงยางอนามัย และให้กินยา PrEP หรือยาต้านไวรัสเอดส์ก่อนการสัมผัสเชื้อ และ 4. การลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อฯ เพื่อให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างปกติ มีโอกาสในการทำงานเหมือนคนทั่วไป และ 5. ให้ภาคประชาสังคมได้มีโอกาสเข้ามาช่วยรัฐในการเข้าถึงกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพื่อนำเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาและป้องกันอย่างทั่วถึง"

นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า "ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมและการอบรมในครั้งนี้ และได้ทดลองใช้ระบบ Live Streaming พบว่าคุณภาพของสัญญาณภาพและเสียงดีมาก ไม่มีกระตุก สำหรับวันที่สองที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานอบรมได้ ได้ใช้ระบบนี้รับชมการประชุมจากที่ทำงานซึ่งมีประโยชน์มาก ผมคิดว่าการมีเทคโนโลยีมาช่วยเป็นสื่อในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างมาก และทำให้ไม่เสียโอกาสที่จะใฝ่หาความรู้ เพื่อนำมาพัฒนาการดูแลรักษาคนไข้โรคเอดส์"

สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ สามารถติดตามข้อมูลและรับชมงานประชุมย้อนหลังได้ที่www.hivnat.org/bangkoksymposium

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้