29 ก.ย. วันหัวใจโลก สคร.12 ห่วง แนวโน้มโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้น แนะ แนวทางปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง

พฤหัส ๒๗ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๔:๕๖
สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) ได้กำหนดให้วันที่ 29 กันยายนของทุกปี เป็นวันหัวใจโลก เพื่อสื่อสารสร้างกระแสให้ประชากรตื่นตัวต่อโรคหัวใจ โดยเน้นการป้องกัน การคัดกรอง และการดูแลรักษาไปสู่สาธารณชน สำหรับในปี 2561 กระทรวงสาธารสุข และมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดคำขวัญเพื่อการรณรงค์วันหัวใจโลกประจำปี 2561 คือ "My Heart, Your Heart : ใจเขา ใจเรา"

ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปีพ.ศ. 2558 กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ 17.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31 ของอัตราการตายทั่วโลก ส่วนประเทศไทยจากรายงานสถิติสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงปี พ.ศ.2555-2559 พบว่าอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี พ.ศ. 2555 พบอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ต่อประชากร 100,000 คน เท่ากับ 23.4 และปี พ.ศ. 2559 เท่ากับ 32.3 นอกจากนี้ ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรมการแพทย์ ปี พ.ศ. 2557 พบประเทศมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหัวใจถึง 6,906 ล้านบาทต่อปี และยังเป็นสาเหตุของการสูญเสียปีสุขภาวะในอับดับต้นๆของประชากรไทยวัยทำงาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ การมีภาวะความดันโลหิตสูง การมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะอ้วนลงพุง การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเป็นโรคเบาหวาน การไม่ออกกำลังกาย การไม่กินผักและผลไม้ ความเครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และจากข้อมูลการศึกษา Thai Registry in Acute Coronary Syndrome (TRACS) ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในคนไทยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหลอดหัวใจ คือ ภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 83.2 ภาวะความดันโลหิตสูงร้อยละ 59.5 เบาหวาน ร้อยละ 50.7 การสูบบุหรี่ ร้อยละ 32.1 และครอบครัวมีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 9.3 จะเห็นได้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวเพิ่มเติม

แนวทางการรณรงค์ในปี 2561 ได้แก่ การจัดกิจกรรมรณรงค์การที่ทำสัญญาด้วยหัวใจ ตามแนวปฏิบัติคือที่จะทำอาหารและรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น จะออกกำลังกายให้มากขึ้น และส่งเสริมหรือชักชวนให้เด็กๆ หันมาออกกำลังกายมากขึ้น สัญญาที่จะเลิกบุหรี่และช่วยคนที่เรารักหยุดสูบบุหรี่ รวมไปถึงจัดกิจกรรมกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทราบถึงปัจจัยเสี่ยง และอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ และหมั่นตรวจเช็คความเสี่ยงของแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันหรือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค1422

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud