เพราะเหตุใด??... ฟันผุ จึงเสี่ยงติดเชื้อจนตาบอดได้

พฤหัส ๒๗ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๑๓
จากข่าวดังบนโลกโซเชี่ยลมีเดีย ในกรณีที่ฟันผุทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามเข้าสู่ไซนัส คนไข้มีอาการตาโปน ร่วมกับการมองเห็นแย่ลง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อบริเวณฟันได้ลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบลูกตาที่อยู่ภายในเบ้าตานั่นเอง เนื่องจากตำแหน่งโครงสร้างของฟันอยู่ใกล้กับบริเวณดวงตา หากมีการติดเชื้อที่ฟันหรือฟันผุ เชื้อโรคจากบริเวณฟันจะสามารถขึ้นไปถึงเบ้าตาได้หลายทางด้วยกัน เช่นผ่านไปทางเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้าขึ้นสู่เบ้าตาโดยตรง หรือเชื้อจากฟันอาจจะทะลุเข้าสู่โพรงไซนัสและผ่านเข้าสู่เบ้าตาทางช่องว่างของกระดูกที่กั้นระหว่างไซนัสกับเบ้าตา หรือเชื้ออาจจะเข้าสู่แขนงของหลอดเลือดดำที่บริเวณใบหน้า แล้วไหลย้อนเข้าสู่บริเวณเบ้าตาจนนำไปสู่การติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนไข้ที่มีฟันผุจึงมีโอกาสติดเชื้อ

ที่เบ้าตาตามมา

ผู้ที่มีเบ้าตาติดเชื้อ จะมีอาการดังนี้ ได้แก่ ปวดตา ตาแดง เปลือกตาบวมปิด มีขี้ตามากขึ้น เยื่อบุตาขาวอาจจะบวมออกมาคล้ายวุ้น กลอกตาไม่ได้ทำให้เห็นภาพซ้อน ตาโปนมากขึ้น อาจมีตามัวลง และมีไข้ร่วมด้วยในบางราย หากการติดเชื้อเป็นรุนแรง อาจจะมีก้อนฝีหนองขึ้นมาในเบ้าตาและตาโปนมากจนดึงรั้งเส้นประสาทตาที่อยู่ด้านหลังลูกตาให้เกิดความเสียหาย และเกิดการสูญ

เสียการมองเห็นตามมาได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากการติดเชื้อในเบ้าตาลามเข้าสู่สมอง จะทำให้มีอาการซึมลง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โดยทั่วไป การติดเชื้อในเบ้าตาไม่ได้เกิดจากกรณีฟันผุเพียงอย่างเดียว โดยสาเหตุหลักของการติดเชื้อในเบ้าตา มีทั้งหมด 3 ประการหลัก ได้แก่

1. การที่หนังตาหรือเปลือกตาได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บเป็นแผลและมีการติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อสามารถลุกลามเข้าไปจนเกิดการติดเชื้อในเบ้าตาตามมาได้

2. การติดเชื้อที่ลามมาจากอวัยวะที่อยู่ใกล้ดวงตา นอกจากฟันผุแล้ว ที่พบได้บ่อยกว่า คือ ไซนัสอักเสบ ที่สามารถลามเข้าสู่เบ้าตาและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ถุงน้ำตาหรือต่อมน้ำตาติดเชื้อ ก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อใน

เบ้าตาตามมาได้เช่นกัน

3. การติดเชื้อที่ลามมาจากอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลจากดวงตา ก็สามารถแพร่เชื้อไปที่เบ้าตาได้โดยผ่านทางกระแสเลือด เช่น กรณีที่เป็นปอดอักเสบ , ฝีในตับหรือระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ เป็นต้น ทั้งขึ้นอยู่กับสภาวะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ความรุนแรงและปริมาณของเชื้อโรค

สำหรับการป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อที่เบ้าตา ที่เราสามารถทำได้คือ หากมีอาการของการติดเชื้อที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในร่างกาย ควรรีบพบแพทย์และทำให้รักษาอาการติดเชื้อให้หายเร็วที่สุด หรือหากกรณีที่มีอาการของการติดเชื้อที่เบ้าตาแล้ว ควรพบจักษุแพทย์ตั้งแต่ระยะแรก เพื่อตรวจละเอียด รวมทั้งรับการรักษาโดยให้ยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือดดำ ในบางรายหากรุนแรงจนมีก้อนฝีหนองอาจจะต้องผ่าตัดระบายหนองออกเพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียการมองเห็นถาวรตามมา

บทความโดย : แพทย์หญิงอุษณีย์ สีพงษ์พันธ์ จักษุแพทย์เฉพาะทาง ชั้น 3 โรงพยาบาล

เวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02–836-9999 ต่อ 3621-2

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา