เผยผลสำรวจ ชี้คนไทยส่วนใหญ่ต้องการปรับโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมเปิดใจรับการเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

พฤหัส ๒๐ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๐:๓๗
รายงานล่าสุด โดยองค์กรอุตสาหกรรมอาหารแห่งเอเชีย หรือ Food Industry Asia (FIA) และบริษัทวิจัยตลาด IGD ระบุว่า คนไทยเกือบทั้งประเทศ หรือราวร้อยละ 99 สนใจปรับมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 82) กล่าวว่า พึงพอใจที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนสูตรหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร หากยังคงรักษารสชาติและความอร่อยไว้ได้

รายงาน "การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพในประเทศไทย" ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกโดย FIA และ IGD ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคและผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อทำความเข้าใจในความพยายามของผู้ประกอบการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการปรับเปลี่ยนส่วนประกอบเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งยังต้องการทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการปรับส่วนประกอบของอาหารเพื่อให้ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาทุพโภชนาการ 2 ลักษณะในเวลาเดียวกัน คือ ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งได้รับอาหารมากเกินไป คนอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้รับอาหารน้อยเกินไป การได้รับอาหารมากเกินไปทำให้เกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต (NCDs) เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของคนไทย ด้วยเหตุนี้ทั้งรัฐบาลและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารจึงพยายามแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชากรในเชิงรุก ตั้งแต่การติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงข้อมูลด้านสารอาหารอย่างชัดเจน ไปจนถึงการวางแผนในเชิงปฏิบัติ รายงานนี้ยังเน้นว่าการปรับเปลี่ยนสูตรของผลิตภัณฑ์อาหารจะสนับสนุนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค

มิสเตอร์ แมททิว โคแวค ผู้อำนวยการบริหาร FIA กล่าวว่า บริษัทผู้ผลิตอาหารของไทยให้การสนับสนุนวาระสุขภาพแห่งชาติด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารมากยิ่งชึ้น ทั้งนี้ ร้อยละ 88 ของบริษัทที่ทำการสำรวจระบุว่าได้เริ่มปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เพื่อปรับปรุงคุณค่าของสารอาหาร ในขณะที่ร้อยละ 5 ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อภูมิทัศน์ด้านอาหารของประเทศไทย

ความพยายามของผู้ผลิตอาหารของไทยดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับการรับรู้และการยอมรับต่อการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารของผู้บริโภค เนื่องจาก 8 ใน 10 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจเห็นด้วยว่า ผู้ผลิตอาหารควรดำเนินการในเชิงรุก อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงไม่พร้อมที่จะยอมแลกระหว่างรสชาติกับประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยร้อยละ 82 ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจระบุว่าพร้อมยอมรับผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนสูตร หากบริษัทผู้ผลิตอาหารสามารถรักษารสชาติที่มีอยู่เอาไว้ได้

จากอุปสงค์ด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่เพิ่มขึ้น บริษัทที่ลงทุนในการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในเชิงพาณิชย์เป็นอย่างดี โดยรายงานยังระบุด้วยว่า การเสริมสร้างสุขภาพของคนไทยจะสามารถดำเนินการได้ดียิ่งขึ้นหากรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วม ผู้ผลิตอาหารราวร้อยละ 82 กล่าวว่า แรงจูงใจในเชิงผลประโยชน์ทางภาษีจากรัฐบาล คือกลไกสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น

มิสเตอร์โคแวค กล่าวเสริมว่า "การที่ FIA จะผลักดันการดำเนินการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียในหลายภาคส่วน ซึ่งความร่วมมือนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง"

มิส ซาราห์ บาร์แรตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IGD กล่าวว่า "IGD ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของสาธารณชนในวงกว้างได้อย่างเหมาะสม ด้วยการใช้ผลวิจัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีของ IGD ผลการศึกษาล่าสุดที่บริษัทร่วมมือกับ FIA จัดทำขึ้นเน้นให้เห็นว่าคนไทยใส่ใจในสุขภาพ และต้องการให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการปรับเปลี่ยนสูตรอาหาร

"บริษัทมั่นใจว่านี่คือโอกาสสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและรับมือกับความท้าทายที่สำคัญที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มกำลังเผชิญอยู่ การวิจัยให้ข้อมูลเชิงลึกจะทำให้เรารู้ว่าอุตสาหกรรมและรัฐบาลจะสามารถทำงานร่วมกันได้ในลักษณะใดเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย บริษัทหวังที่จะได้เห็นการร่วมมือกันที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหมู่ผู้บริโภค"

ผลสำรวจที่น่าสนใจจากรายงานฉบับดังกล่าว ได้แก่

ผู้บริโภคให้ความใส่ใจอย่างมากกับคุณภาพและรสชาติของผลิตภัณฑ์ โดยร้อยละ 94 ของผู้ที่เข้าร่วมในการสำรวจระบุว่า เมื่อต้องเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญก็คือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยร้อยละ 80 บอกว่า รสชาติสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 83 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจยังระบุด้วยว่า ฉลากผลิตภัณฑ์ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและสารอาหารคือ 1 ใน 3 ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

การเปลี่ยนแปลงสูตรหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มต่างไปจากเดิม กล่าวคือ แต่เดิมอุตสาหกรรมอาหารจะให้ความสำคัญในการกำจัดไขมันทรานส์และการลดแคลลอรี่ แต่ในปัจจุบันกลับให้ความสำคัญกับการลดปริมาณเกลือและคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ยังรวมถึง การยกเลิกการใช้สี/กลิ่นสังเคราะห์ และสารกันบูด ตลอดจนการเพิ่มไฟเบอร์ วิตามินและแร่ธาตุจำเป็นลงไปในอาหารและเครื่องดื่ม

การรักษารสชาติ เป็นความท้าทายระดับต้นๆ ในการเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์อาหาร ทว่าการคงไว้ซึ่งรสชาติของผลิตภัณฑ์และต้นทุนก็เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ การยอมรับของผู้บริโภคก็ถือได้ว่าเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหารเช่นกัน

เกี่ยวกับองค์กรอุตสาหกรรมอาหารแห่งเอเชีย (Food Industry Asia หรือ FIA)

FIA จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคม 2553 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มบทบาทของอุตสาหกรรมอาหารในฐานะพันธมิตรที่วางใจได้ในด้านการพัฒนานโยบายเชิงวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย

FIA ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ โดยรวมผู้นำธุรกิจในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อหาแนวคิดใหม่ๆ ร่วมกันในการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนตลอดจนสนับสนุนโนบายต่างๆ ในระดับภูมิภาคอันจะก่อให้เกิดผลดีแก่อุตสาหกรรมอาหารโดยรวม ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FIA ได้จาก http://foodindustry.asia

เกี่ยวกับ IGD

IGD เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ที่ทำหน้าที่วิจัยและให้การอบรม IGD มีหน่วยงานย่อยที่ให้บริการด้านข้อมูลเชิงลึกด้านการค้าสำหรับอุตสาหรรมสินค้าอุปโภคบริโภค โดยผลกำไรที่ได้จากการให้บริการจะนำไปสนับสนุนการดำเนินงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรขององค์กร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๒๔ เม.ย. เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๒๔ เม.ย. อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๒๔ เม.ย. กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๒๔ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๒๔ เม.ย. SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๒๔ เม.ย. 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ