กรมควบคุมโรค สาธารณสุข สานความร่วมมือกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวะมหิดล

พฤหัส ๒๕ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๐๘
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ เยี่ยมชมการดำเนินงานภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ให้การต้อนรับและประชุมหารือการประสานความร่วมมือในการเพิ่มศักยภาพการวิจัยและพัฒนาระบบงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยได้นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ มาประยุกต์เชิงบูรณาการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและช่วยตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ณ ห้องประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกรมควบคุมโรคและภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะช่วยเสริมพลังในการพัฒนาด้านสุขภาพและการแพทย์ให้เข้มแข็ง ทั้งด้านการศึกษาวิจัย พัฒนาและกำหนดมาตรฐานทางวิชาการและเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านป้องกันควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพของประชาชน ทั้งตอบสนองการส่งเสริมประเทศไทยก้าวเป็น ฮับการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาคอาเซียน

เทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Bio-Medical Engineering) เป็นวิชาชีพที่มีความต้องการในตลาดสูงทั่วโลกและมีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2550 มาถึงปัจจุบัน ผลิตวิศวกรชีวการแพทย์ที่มีคุณภาพและความเชี่ยวชาญป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท นานาชาติ และปริญญาเอก นานาชาติ ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย มีคณะแพทยศาสตร์ ถึง 3 คณะ และมีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ถึง 4 แห่ง

รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวว่า ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก้าวหน้าด้วยการใช้พหุศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงในการวิจัย ออกแบบ พัฒนาผลิตระบบและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สร้างประโยชน์ต่อวงการแพทย์ สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น 1. การเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ การวินิจฉัยโรค และการปรับปรุงการสร้างเครื่องมือทาง การแพทย์ 2. วิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา บนพื้นฐานของการใช้โพลิเมอร์นำส่งยารักษาโรคมะเร็งได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3. การประมวลผลชั้นสูงในการแพทย์ เช่น การพัฒนาระบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของสรีรวิทยาของมนุษย์การแสดงผลภาพและการประมวลผลภาพทางการแพทย์ การจัดระบบประมวลผลแบบคลาวด์ทางการแพทย์ (Medical Cloud Computing) และโทรเวช เป็นต้น และ 4. วิศวกรรมฟื้นฟูและอวัยวะประดิษฐ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๒๒ เสนา ตอกย้ำความสำเร็จ ในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
๐๙:๑๑ EP พร้อมเดินหน้ารับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม ดันผลงานปี67โตทะยาน 4 เท่า หลังได้รับการสนับสนุนเงินกู้ Project Finance จาก
๐๙:๓๘ BEST Express บุก บางบัวทอง เปิดแฟรนไซส์ขนส่งสาขาใหม่ มุ่งศึกษาพื้นที่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ตอบความต้องการตรงจุด
๐๙:๑๗ ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด
๐๙:๓๗ CPANEL APM ร่วมต้อนรับคณะนักธุรกิจชาวกัมพูชา พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิต Precast จ.ชลบุรี
๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้