Double Dot QA จากงานวิจัยสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์โชว์ผลงาน อุปกรณ์ตรวจสอบมุมการฉายรังสีรักษามะเร็ง พร้อมต่อยอดในเชิงพาณิชย์

ศุกร์ ๒๐ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๖:๓๐
Double Dot QA จากงานวิจัยสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์โชว์ผลงาน อุปกรณ์ตรวจสอบมุมการฉายรังสีรักษามะเร็ง พร้อมต่อยอดในเชิงพาณิชย์

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดงานประชุมวิชาการ International Symposium on Technology Trends in Radiation Therapy (TTRT 2019) เพื่อเผยแพร่ความรู้รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการใช้เทคโนโลยีรังสีรักษาทางการแพทย์ซึ่งเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งโดยภายในงานมีการบรรยายทางวิชาการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ คอร์สฝึกอบรมด้านการเขียนโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ในงานรังสีรักษา การจัดแสดงเครื่องมือและผลงานวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน งานนี้เป็นครั้งแรกที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้นำเสนอนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีชื่อว่า "Double Dot QA" ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากผลงานวิจัยของ อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ วิจัยและพัฒนาผู้ประกอบการ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมตัวแรกที่ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ของคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

จากโจทย์การรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยเครื่องเร่งอนุภาคหรือเครื่องฉายรังสี ที่ปล่อยพลังงานรังสีความเข้มสูงมาทำลายเซลล์มะเร็งจากภายนอก ในปัจจุบันเทคนิคการฉายรังสีสมัยใหม่นั้นมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีความจำเป็นในการใช้เครื่องมือประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพสูงตาม นวัตกรรม Double Dot QA เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แนวคิดการประมวลผลภาพแทนการติดเซนเซอร์ที่หัวฉายรังสี ทำให้การวิเคราะห์มุมการฉายรังสีมีความแม่นยำและละเอียดมากขึ้น อีกทั้งตอบโจทย์การใช้งานของนักฟิสิกส์การแพทย์ในการประกันคุณภาพเครื่องเร่งอนุภาค โดยเฉพาะการตรวจสอบความแม่นยำของมุมการฉายรังสีในเทคนิคการฉายรังสีสมัยใหม่

อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด กล่าวว่า "นวัตกรรม Double Dot QA (ดับเบิ้ลดอทคิวเอ) เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจสอบความแม่นยำมุมการฉายรังสีรอบตัวผู้ป่วยมะเร็งของเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษา โดยในการฉายรังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งนั้น ความแม่นยำของมุมการฉายนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และนักฟิสิกส์การแพทย์ได้ทำการประกันคุณภาพมุมอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ อุปกรณ์มาตรฐานวัดความเอียง (Inclinometer) ซึ่งพบว่า ความสามารถไม่เพียงพอต่อการประกันคุณภาพมุมของเครื่องเร่งอนุภาครังสี สำหรับการฉายเทคนิคใหม่ อาทิเช่น Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT) นวัตกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ๓ หน่วยงานหลัก คือ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์

เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศออสเตรเลียที่ร่วมสนับสนุนผลักดันผลงานวิจัย และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สนับสนุนทุนต่อยอดจากงานวิจัยสู่การผลิตอุปกรณ์ต้นแบบพร้อมทดสอบเพื่อให้พร้อมสำหรับการจัดจำหน่าย อุปกรณ์ดังกล่าวอาศัยแนวคิดสำคัญ คือ"การวัดมุมจากจุดสองจุดผ่านตัวรับภาพแบบเรียลไทม์" ที่มีความสามารถในการวัดมุมหัวฉายรังสีแบบต่อเนื่อง (Dynamic mode) ด้วยความละเอียดสูงสุด ๐.๐๐๑ องศา ทำงานด้วยความเร็ว ๓๐ Hz (วัดมุมได้ ๓๐ มุมต่อหนึ่งวินาที) โดยมีหลักการทำงานที่ง่ายใช้เวลาในการติดตั้งอุปกรณ์น้อยกว่า ๑ นาที จากเดิมที่ใช้เวลา ๒๐ - ๓๐ นาทีในการติดตั้ง และมีความสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตรวจจับปริมาณรังสี ทำให้การประกันคุณภาพมุมฉายรังสีผ่านอุปกรณ์ Double Dot QA สามารถเริ่มวัดมุมการฉายรังสีได้โดยอัตโนมัติ และสามารถเทียบกับแผนการรักษาได้โดยตรง อีกทั้งมีความแม่นยำสูงที่สุดเทียบกับสินค้าในตลาดปัจจุบัน" ทั้งนี้นวัตกรรม Double Dot QA พร้อมต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และสร้างประโยชน์ให้กับวงการทางการแพทย์ของประเทศต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ