ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย รณรงค์ให้รู้จัก ป้องกัน กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก

จันทร์ ๒๑ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๓๘
สถิติโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในอันดับที่ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพก ซึ่งผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจะมีอัตราการเสียชีวิตในปีแรกร้อยละ 17% และสัดส่วน 80% ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม รวมทั้งจากข้อมูลมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ พบว่าประชากรไทยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 80 - 90% ยังไม่ได้รับการประเมินและรักษา เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย (The Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand = RCOST) ร่วมกับบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมรณรงค์ให้ผู้สูงอายุทุกคนตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน และปรึกษาแพทย์หากพบว่าตนมีความเสี่ยง โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.อารี ตนาวลี ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย , พันเอก รศ.นพ.ทิพชาติ บุณยรัตพันธุ์ ประธานจัดงานประชุมวิชาการประจำปีราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 , รศ.นพ.สัตยา โรจนเสถียร ประธานอนุสาขาโรคกระดูกพรุน ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ , ศ.นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ์ ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามาธิบดี , ศ.ดร.นพ.ทวี ทรงพัฒนาศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพระมงกฏเกล้า , รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันท์ ผู้เขี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเภสัชกรหญิง ภัทรพร วิมลวัตรเวที ผู้จัดการ บริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) เข้าร่วมงาน

ศ.นพ.อารี ตนาวลี ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคกระดูกพรุน คือภาวะที่ร่างกายมีความแข็งแกร่งของกระดูกลดน้อยลง ส่งผลให้กระดูกหักเกิดง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ เมื่อผู้ป่วยหกล้มจะมีความเสี่ยงกระดูกหักง่าย ไม่ว่าจะเป็นการหกล้มในท่ายืนจากชีวิตประจำวัน หรือบางรายอาจจะมีกระดูกสันหลังยุบจากการที่นั่งกระแทกก้นแรง หรือยกของหนักที่เฉียบพลันเกินไป โดยรวมภาวะกระดูกหักจากสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เราเรียกว่า ภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ทางราชวิทยาลัยฯ ในกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคกระดูกพรุน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปให้รู้จักโรคกระดูกพรุน และแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้เข้ารับการประเมินและตรวจรักษาอย่างเหมะสม ในรูปแบบสื่อวีดิทัศน์ที่เข้าใจง่าย

พันเอก รศ.นพ.ทิพชาติ บุณยรัตพันธุ์ ประธานจัดงานประชุมวิชาการประจำปีราชวิทยาลัย แพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 กล่าวว่า งานประชุมวิชาการของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย จัดเป็นประจำทุกปี ซึ่งวันนี้ตรงกับวันกระดูกพรุนโลก ทางราชวิทยาลัยฯ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการกระดูกหักจากโรคกระดูกกระพรุน

รศ.นพ.สัตยา โรจนเสถียร ประธานอนุสาขาโรคกระดูกพรุน ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ กล่าวว่า หลังจากที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วพบว่า ตำแหน่งที่ทำให้เกิดกระดูกหักมากและบ่อยคือ กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ กระดูกซี่โครง กระดูกต้นแขน กระดูกสันหลัง ซึ่งอาการของการเกิดกระดูกหักมักสัมพันธ์กับการล้ม และแม้คนไข้จะล้มแบบธรรมดาครั้งเดียว หรือล้มแบบเบา ๆ คนไข้ก็สามารถที่จะมีสะโพกหักได้

ศ.นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โรคกระดูกพรุนเมื่อเป็นแล้ว ผลที่ตามมาคือจะมีกระดูกหัก และพบบ่อยที่สุดคือช่วงกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังยุบ และกระดูกสันหลังหักพบถึง 50% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน อาการแสดงที่สังเกตง่าย ๆ คือ ตัวเตี้ยลงมากกว่า 4 เซนติเมตร หลังโก่ง และหลังโค้ง

ศ.ดร.นพ.ทวี ทรงพัฒนาศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพระมงกฏเกล้า กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคกระดูกพรุนคือ การเกิดกระดูกหักจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความทรมานและเดือดร้อนไปถึงผู้ดูแล รวมทั้งเกิดโรคแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น แผลกดทับ โรคปอดบวม โรคแทรกซ้อนทางหัวใจ หลอดเลือดต่าง ๆ ซึ่งสามารถเกิดตามมาได้ และถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาผ่าตัดเสร็จแล้ว อาจจะตามมาด้วยการไม่สามารถใช้ชีวิตได้ 100 % หรืออาจจะเกิดความพิการขึ้นได้ หรืออาจจะมีอันตรายถึงกับชีวิตได้ด้วย

รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันท์ ผู้เขี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การป้องกันโรคกระดูกพรุน คนไข้สามารถเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็กได้ โดยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม หมั่นออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้หญิงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ควรมาพบแพทย์ ส่วนผู้ที่ตรวจพบแล้วว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อที่แพทย์จะได้แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยา และการปฎิบัติตัวที่เหมาะสม

เภสัชกรหญิง ภัทรพร วิมลวัตรเวที ผู้จัดการ บริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทแอมเจนรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์ให้ความรู้กระดูกพรุนสู่ประชาชน เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4