ไฟเซอร์ ประเทศไทย ผนึก ทีเซลล์ (TCELS) ลงนามความร่วมมือประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย

อังคาร ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๔:๐๓
สถานการณ์ของเชื้อดื้อยาในปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาวิกฤตที่สำคัญของมนุษยชาติซึ่งจัดอยู่ในขั้นอันตรายและมีแนวโน้มเลวร้ายมากขึ้นในอนาคตจนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก สั่นคลอนความมั่นคงระบบสุขภาพของทุกประเทศ โดยคร่าชีวิตประชากรโลกในแต่ละปีสูงถึง 7 แสนคน และคาดว่าใน พ.ศ.2593 การเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอาจจะสูงถึง 10 ล้านคนซึ่งผู้เสียชีวิตเกือบครึ่งอยู่ในทวีปเอเชีย มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดสูงถึง 4.7 ล้านคน อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล คิดเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.5 พันล้านล้านบาท ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อปัญหานี้และเชิญชวนรัฐบาลของประเทศต่างๆ ร่วมกันจัดการ ดังนั้น ประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การอนามัยโลกรวมถึงประเทศไทยจึงมีหน้าที่ๆจะร่วมดำเนินการป้องกันควบคุม และแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งในประเทศไทยรัฐบาลเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 ของกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อยกระดับการทำงานให้สามารถหยุดยั้งปัญหาเชื้อดื้อยาทั้งประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าปี 2564 ผู้ป่วยเชื้อดื้อยาลดลงร้อยละ 50โดยมีองค์กรต่างๆ ร่วมประกาศเจตนารมณ์การขับเคลื่อนงานเพื่อแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) แพทยสภาเครือข่าย รพ. ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ เป็นต้นเพื่อร่วมแก้ปัญหาดังกล่าวเนื่องจากปัญหามีความซับซ้อนมากจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน ทุกองค์กรในระบบยา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ไฟเซอร์ ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผู้วิจัยยาและชีวเวชภัณฑ์ระดับโลก โดยได้ลงนามความร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCEL: Thailand Center of Excellence for Life Sciences) เมื่อไม่นานมานี้เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564

มร.เซลิมเซสกิน ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "ประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งไฟเซอร์ ประเทศไทย ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมและบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวโดยได้ร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือทีเซลส์ (TCELS) ทำงานอย่างบูรณาการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับ Antimicrobial Resistance (AMR) หรือ การดื้อยาของเชื้อโรค ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ อาทิ การสนับสนุนการวิจัย บุคลากร การเสริมองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมแก่บุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาลทุกระดับรวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนทั่วไป รวมถึงการสนับสนุนการศึกษา ผ่านการเผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการร่วมจัดทำสื่อการให้ความรู้ และการดำเนินกลยุทธ์ในด้านการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยยกระดับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ"

นอกจากนี้เมื่อกลางปีที่ผ่านมา บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย ยังได้ร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia One Health University Network) หรือ "ซีโอฮุน" (SEAOHUN) ซึ่งมีเครือข่ายมหาวิทยาลัย 72 แห่ง ในแถบภูมิภาคอาเซียน ร่วมสร้างศักยภาพการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health ประกาศเจตจำนงร่วมกันในการจัดการภัยคุกคามอันเกิดจากการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย ด้วยการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ไปจนถึงการให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขชุมชนทั่วประเทศไทยรวมถึงประเทศสมาชิกภายในเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างการใช้ยาปฏิชีวนะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งความร่วมมือระหว่างซีโอฮุนและไฟเซอร์ในครั้งนั้นเป็นการสร้างโอกาสให้กับ บริษัท ไฟเซอร์ ได้ยกระดับการดำเนินงานด้านการแบ่งปันความรู้และการพัฒนาขีดความสามารถ ผ่านการเผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการร่วมจัดทำสื่อการให้ความรู้ และการดำเนินกลยุทธ์ในด้านการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม โดยมีหน่วยงานเครือข่ายของซีโอฮุนเป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ภายในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อช่วยยกระดับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ

"ไฟเซอร์ ประเทศไทย มีความมุ่งมั่นเดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งในความร่วมมือกับบุคลากรและสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ ตลอดจนมหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และชุมชนท้องถิ่นในการสนับสนุนการศึกษาด้านสุขภาพและการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนการเข้าถึงยาและวัคซีนที่มีคุณภาพเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความพร้อมที่จะนำแนวทางยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทยไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ในการลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ตลอดจนลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศจากปัญหาปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ" มร.เซลิม กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ เดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเดือนที่มีสัปดาห์แห่งการรณรงค์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย(World Antibiotic Awareness Week) ที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะรณรงค์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพให้แก่ประชาชนด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนทั่วไปให้เกิดความร่วมมือในวงกว้างเพื่อนำไปสู่การบรรลุผลของแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่วางไว้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4