ตะคริว ขณะออกกำลังกาย อันตรายหรือไม่ ?

อังคาร ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๑:๕๓
ในสนามแข่งขันกีฬาต่างๆ เรามักพบการบาดเจ็บของนักกีฬาอย่างกะทันหัน ซึ่งหนึ่งในสาเหตุของการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย มาจากการเกิดตะคริวขณะออกกำลังกาย ซึ่งใครที่เคยเป็นตะคริว ก็คงทราบดีว่ามันเจ็บปวดและทรมานแค่ไหน แม้จะเป็นเวลาเพียงช่วงสั้นๆ ก็ตาม ... คำถามต่อมาก็คือ ตะคริวเกิดขึ้นได้ยังไง เกิดจากอะไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน และจะทำอย่างไรล่ะ ? เมื่อเกิดตะคริวระหว่างการเล่นกีฬา คำตอบเหล่านี้จะมีคำตอบครับ ติดตามอ่านสาระความรู้ดีๆ จากแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา โรงพยาบาลลานนากันได้เลยครับ

ตะคริว … เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อทุกมัด แต่ส่วนใหญ่ในนักกีฬา หรือผู้ออกกำลังกาย มักพบที่กล้ามเนื้อน่อง ขา แสดงอาการมักนานไม่เกิน 2 นาที แต่ในบางรายอาจนานถึง 5 นาทีหรือมากกว่านั้นก็เป็นได้

ตะคริวขณะออกกำลังกายอันตรายมั้ย … แม้ว่าตะคริว จะไม่ใช่อาการที่ทำให้เสียชีวิต แต่ก็สามารถกลับกลายจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายได้เช่น เกิดตะคริวระหว่างการว่ายน้ำ นี่ก็เป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง ที่มักเป็นสาเหตุของการจมน้ำ รวมทั้งกิจกรรมระหว่างวัน อย่างการขับรถ หากเกิดตะคริวระหว่างทาง ก็อาจกลายเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุได้เช่นกัน

*** เป็นตะคริวระหว่างว่ายน้ำ … ถ้าคุณว่ายน้ำแล้วเกิดตะคริว อันดับแรกให้ตั้งสติก่อนอย่าตกใจเกินเหตุ สำรวจว่าหากขาแตะพื้นได้ ให้หยุดและยืดบีบนวดกล้ามเนื้อจนตะคริวหลายตัว แต่หากน้ำลึกเหยียดขาไม่ถึง พยายามนอนหงายเพื่อลอยตัวไว้ และยืดขาออกไป งอข้อเท้าเข้าหาตัว หรือบีบนวดจนตะคริวคลายตัว หรือเรียกหาคนรอบข้างช่วยเหลือ จะเป็นการดีที่สุด ***

ออกกำลังกาย เป็นตะคริวเกิดจากอะไร ?! แล้วจะป้องกันได้อย่างไร ?

- กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง หากใช้งานหนักจะเสี่ยงเป็นตะคริวได้ง่ายกว่า ...

ป้องกันได้โดยเพิ่มการฝึกความทนทานของกล้ามเนื้อ และบริหารกล้ามเนื้อส่วนที่ไม่สมดุล หรืออ่อนแรง โดยอาจจะค่อยๆ เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เคยเป็นตะคริว เพราะถ้ากล้ามเนื้อแข็งแรง โอกาสเกิดตะคริวก็น้อยลง

- กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ใช้งานมาก หรือตึงไปจะทำให้เกิดตะคริวได้บ่อย ป้องกันได้โดยการอบอุ่นร่างกาย Warm Up รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ ดังนั้น ทุกครั้งก่อนที่ท่านจะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ท่านต้องให้เวลากับการ Warm – upให้เพียงพอและรวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อด้วย

- เกิดจากร่างกายเกิดการขาดน้ำ

ป้องกันได้ด้วยทานน้ำให้เพียงพอ การรับประทานน้ำก่อนการออกกำลังกายประมาณ 1 ชั่วโมง ประมาณ 200 ซีซีขึ้นไปละดื่มน้ำทุก 15 นาที ระหว่างออกกำลังกาย โดยค่อยๆ จิบไปเรื่อยๆ จะช่วยทำให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำมาก ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น และอาจทำให้เกิด "Heat Stroke" ได้อีกด้วย

นี่เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งของการเกิดตะคริวขณะออกกำลังกาย แต่จริงๆ แล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดตะคริวได้ ฉะนั้นการดูแล อบอุ่นร่างกาย และเตรียมพร้อมก่อนออกกำลังกาย จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะป้องกันการเกิดตะคริวได้ อย่างไรก็ตาม หากใครที่มีอาการผิดปกติบ่อยๆ ก็ควรมารับคำปรึกษาจากแพทย์ ก็จะเป็นการดีที่สุด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา มีแพทย์เวชศาสตร์ด้านการกีฬา ไว้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเล่นกีฬา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.053-999-777

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.ไกรพ วิวัฒนพณิชย์ แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา และศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลลานนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4