ผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพจากมลพิษฝุ่นจิ๋ว PM2.5 และข้อปฏิบัติตัวที่สำคัญ

พฤหัส ๑๖ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๐:๓๒
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยมีความเป็นห่วงผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพจากมลพิษฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบนไม่ว่าจะเป็นจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย หรือจังหวัดใกล้เคียง โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กล่าวไว้ว่า “การหายใจด้วยอากาศที่มีคุณภาพถือเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน” ดังนั้นเมื่ออนุภาคมลพิษอากาศขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 มี ส่วนประกอบสำคัญหลัก คือ คาร์บอนอินทรีย์ สาร PAHs เกลือซัลเฟต เกลือไนเตรท โลหะหนัก มีสัดส่วน เปลี่ยนไปบ้างตามแหล่งกำเนิดมลพิษและฤดูกาล เนื่องจาก PM2.5 มีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงจึงเข้าสู่ทุกเซลล์ของระบบอวัยวะได้อย่างรวดเร็ว เมื่อสูดหายใจเข้าไป จึงอาจมีผลกระทบต่อแทบทุกระบบอวัยวะของร่างกาย จะผลกระทบมากหรือน้อย ขึ้นกับปัจจัยสำคัญ ดังนี้ 1.ระดับความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ร่างกายได้รับ 2.ระยะเวลาสะสมที่ร่างกายได้รับ PM2.5 3.สัดส่วนของสารประกอบชนิดต่าง ๆใน PM2.5 4. สภาวะของร่างกายขณะได้รับ PM2.5 (ทารกในครรภ์มารดาและช่วงวัยต่าง ๆ ความไวต่อมลพิษของบุคคล ความ เจ็บป่วยที่มีอยู่เดิม ความแข็งแรงของร่างกาย)
ผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพจากมลพิษฝุ่นจิ๋ว PM2.5 และข้อปฏิบัติตัวที่สำคัญ

ผลกระทบดังกล่าวอาจมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ยังไม่ปรากฏอาการ ไม่มีการอักเสบไม่ปรากฏอาการแต่มีการอักเสบแฝงในระบบอวัยวะจนเกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ทั้งฉับพลันทันทีทันใด แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง โดยผลกระทบตามระยะต่าง ๆ อาจทำให้เกิดโรคขึ้นใหม่ หรือทำให้โรคเดิมรุนแรงขึ้นทำให้เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมจนทำให้อวัยวะทำงานเสื่อมเร็วและรุนแรงขึ้นอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง ตัวอย่างผลกระทบจาก PM2.5 ต่อระบบอวัยวะสำคัญหลักในการดำรงชีวิต ได้แก่ ระบบการหายใจ (เช่น โพรงจมูกอักเสบทั้งแบบภูมิแพ้ และติดเชื้อหลอดคอ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ) การอักเสบจาก PM2.5 ส่งเสริมให้ระบบการหายใจมีการอักเสบมากขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อได้รับสารก่อแพ้และการอักเสบจาก PM2.5 ยังทำให้ติดเชื้อ (เช่นไวรัสไข้หวัด ไวรัส ไข้หวัดใหญ่ แบคทีเรีย)ได้ง่ายและรุนแรงมากขึ้นหลายเท่า และจำนวนไม่น้อยที่เกิดการอักเสบทั้งแบบภูมิแพ้และแบบติดเชื้อผสมผสานกัน ระบบหัวใจ (กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว) ระบบหลอดเลือด (หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเสื่อม โรคstrokeของหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดดำอุดตัน) ระบบสมอง(สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม สมาธิสั้นและระบบจิตประสาท (อารมณ์แปรปรวน ความผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย) และมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ(โดยเฉพาะมะเร็งปอด)

ดังนั้น PM2.5 จึงเป็นมลพิษที่เป็นสาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิตทั้งแบบฉับพลัน เฉียบพลัน และทำให้อายุขัยสั้นลง เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยทั้งฉับพลันและเฉียบพลันอาจรุนแรง ถึงกับต้องไปรับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินหรือต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ โรคระบบการหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดหรือทำให้โรคเรื้อรังดังกล่าว มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นรวมทั้งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด

ส่วนระดับค่าเฉลี่ยของ PM2.5 รายวัน นิยมใช้ในการศึกษาวิจัยผลกระทบต่อการสูญเสีย ชีวิตและสุขภาพในระยะสั้นและค่าเฉลี่ยรายปี นิยมใช้ในการศึกษาวิจัยผลกระทบระยะยาวต่อการเกิดโรคเรื้อรังของระบบอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งโรคมะเร็ง และช่วงอายุขัย ส่วนค่า PM2.5 รายชั่วโมงมีผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน ส่วนจะมากน้อยแตกต่างกันตามปัจจัยทั้ง 4 ที่กล่าวข้างต้น จึงนิยมใช้เตือนประชาชนในการวางแผนบริหารความเสี่ยงในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจาวันในชั่วโมงถัดไป

แม้จะไม่มีค่า PM2.5 ที่ต่ำสุดที่ถือว่าปลอดภัยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำความเป็นไปได้ที่ประเทศต่าง ๆ ควรมีแผนการดำเนินการกำหนดเป้าหมายให้ระดับ PM2.5 ไม่เกินค่าที่แนะนำเพื่อลดผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพให้เหลือน้อยเท่าที่จะบริหารจัดการได้ตามหลักฐาน งานวิจัยทั่วโลกที่ใช้ประกอบคำแนะนา(ค่าเฉลี่ยรายวันไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม และค่าเฉลี่ยรายปี ไม่เกิน 10 มคก./ลบ.ม) ส่วนแต่ละประเทศจะกำหนดค่ามาตรฐานของประเทศตนเองอย่างไรขึ้นอยู่กับระดับมลพิษ PM2.5 การชั่งความสมดุลเรื่องชีวิตและสุขภาพกับงบประมาณการลงทุนเพื่อปรับปรุงสภาวะแวดล้อมของแต่ละประเทศ ตลอดจนความเข้าใจ ความตั้งใจและความจริงจังในการปรับปรุงคุณภาพอากาศของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยพิจารณาจากการมีฝ่ายปกครองมีคำมั่นสัญญาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม กำหนดนโยบาย งบประมาณ แผนการดำเนินการ วิธีการดำเนินการและการประเมินผลที่มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนทันต่อสถานการณ์แนวโน้มระดับมลพิษอากาศ จากการศึกษาในต่างประเทศในหลายประเทศพบว่างบการลงทุนเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศมีความคุ้มทุนสูงมากหลายสิบเท่าและเห็นผลดีอย่างรวดเร็วทั้งใน ด้านชีวิต สุขภาพ และเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับอากาศที่มีคุณภาพได้ ตัวอย่าง เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย เป็นต้น

จากการศึกษาวิจัยพบว่าประชากรของประเทศไทยได้รับผลกระทบด้านชีวิตและสุขภาพ จากฝุ่นมลพิษแทบทุกภาคมาอย่างยาวนานกว่าทศวรรษและทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงฤดูแล้ง(ช่วง เดือนธันวาคม-เมษายน) โดยเฉพาะ 3-5ปีล่าสุด โดยแหล่งกำเนิดมลพิษที่เป็นปัญหาและมีผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนมากที่สุดในช่วงฤดูแล้งคือ การเผาในพื้นที่เกษตรเพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตร (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อย ข้าวโพด และข้าว ในทุกภาคยกเว้นภาคใต้) และยังมีการทำเกษตรพืชเชิงเดี่ยวใน พื้นที่ภูเขาบ่อยครั้งที่ไฟลุกลามออกนอกพื้นที่ปลูกกลายเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งของไฟป่า(ภาคเหนือตอนบน) ตลอดจนมีการเพิ่มการเผาพื้นที่เกษตรจากการส่งเสริมอุตสาหกรรม เกษตรในประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน ทำให้พื้นที่ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ได้รับผลกระทบจาก PM2.5 ในช่วงฤดูแล้งกันอย่างถ้วนทั่ว รวมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ได้รับ PM2.5 จากการเผาอุตสาหกรรมเกษตรเป็นหลักด้วยเช่นกัน เพราะกระแสลมที่พัดมวล PM2.5 จากแหล่งกำเนิดเข้าสู่กรุงเทพฯและปริมณฑลร่วมกับสภาพความกดอากาศ การกักขังอากาศไม่มีการถ่ายเทเอื้อให้มลพิษ PM2.5 ลอยแขวนในบรรยากาศอยู่นาน ทำให้สัดส่วนแหล่งกำเนิด PM2.5 มาจากการเผาอุตสาหกรรมเกษตรมีอิทธิพลมากกว่ามลพิษจากการจราจรหรือมลพิษจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวโดยสรุปได้ว่ามลพิษ PM2.5 ในประเทศไทยในช่วงฤดูแล้งเกิดจากการเผาอุตสาหกรรมเกษตร อ้อย ข้าวโพด และข้าว เป็นหลัก และถูกซ้ำเติมด้วยการเผาอุตสาหกรรมเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งสาธารณรัฐกัมพูชา และสาธารณรัฐเมียนมาร์

คำแนะนำหลักสำหรับประชาชนในการดูแลตนเองช่วงวิกฤตมลพิษ

ติดตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณที่ตัวเองอยู่หรือใกล้เคียงที่สุดเป็นระยะ ๆ โดยเลือกดัชนีที่สะท้อนผลกระทบต่อสุขภาพในช่วงเวลาชั่วโมงล่าสุดเป็นสำคัญ หากไม่มีค่าคุณภาพอากาศในบริเวณใกล้เคียงที่ตัวเองอยู่การใช้เครื่องวัด PM2.5 แบบพกพา แม้ไม่แม่นยำเท่าเครื่องมาตรฐาน แต่ได้ค่าสอดคล้องกันเป็นอย่างดี มีประโยชน์ในการติดตามแนวโน้มค่ามลพิษส่วนบุคคลและสามารถร่วมกันทำเป็นเครือข่ายในพื้นที่ที่ละเอียดขึ้น (แต่มีข้อจำกัดหากวัดในที่ความชื้นสูงมาก จึงต้องหมั่นตรวจสอบและปรับค่า) ไม่ควรใช้ดัชนีคุณภาพอากาศรายวันมาใช้ในการวางแผนดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันปิดประตูหน้าต่าง เพื่อไม่ให้มลพิษอากาศเข้ามาสะสมในอาคาร และใช้เครื่องฟอกอากาศในอาคารที่ทำงานหรืออยู่อาศัย เช่น ห้องทำงาน ห้องนอน หรือห้องที่อยู่อาศัยเป็นเวลานาน หากปิดห้องนาน ๆ ระบบไหลเวียนอากาศไม่เพียงพอ (รู้สึกอึดอัด ปวดหรือมึนศีรษะ)ให้เปิดแง้มห้องเพื่อระบายอากาศระยะสั้น ๆ แล้วปิดตามเดิม อาจต้องทำสลับเช่นนี้จนคุณภาพอากาศลดลงมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับแต่ละบุคคลควรสวมหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ (N-95) และสวมให้ถูกวิธี จำเป็นต้องเลือกขนาดที่ใส่ได้กระชับกับรูปจมูกและใบหน้า หากเริ่มอึดอัดหรือเหนื่อยให้ถอดออกเพียงชั่วครู่ ก็จะรู้สึกสบายขึ้นแล้วรีบสวมใหม่ ทำสลับกันไปเช่นนี้จนดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยกับตนเอง การใส่หน้ากากN95 ที่มีวาล์วระบายลมหายใจออกจะทำให้อึดอัดน้อยลงใส่ได้นานขึ้นหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคารหรือในอาคาร(โรงยิม)ที่ไม่มีระบบฟอกอากาศนาน ๆ หรืออาจต้องงดออกกำลังกายขึ้นกับระดับคุณภาพอากาศในช่วงเวลานั้นและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคลหลีกเลี่ยงการอยู่ในอาคารที่ไม่มีระบบฟอกอากาศ (เช่น โรงแรม ศูนย์การค้า ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ที่ไม่มีระบบฟอกอากาศ) ถ้าจำเป็นต้องอยู่ควรสวมหน้ากาก N-95และทำตามข้อ 3ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือโรคระบบหายใจเรื้อรัง เช่นหอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหมั่นสังเกตอาการ โรคกำเริบ ถ้ามีอาการควรใช้ยาหรือรักษาเบื้องต้นตามที่แพทย์เคยแนะนำและไปพบแพทย์โดยเร็วหากอาการไม่หายเป็นปกติผู้ที่ไม่มีโรคประจาตัวหรือแข็งแรง ถ้ามีอาการผิดปกติที่รบกวนชีวิตประจาวันควรรีบพบแพทย์เช่นกัน อาการสำคัญที่ควรรีบไปพบแพทย์อย่างฉุกเฉิน ได้แก่ แน่นอกหรือเจ็บอกหรือเจ็บท้องใต้ลิ้นปี่เหมือนมีของหนักกดทับ เหนื่อยหอบผิดปกติ ปวดมึนศีรษะ

ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือแขนขาซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน มุมปากตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน มองไม่เห็นฉับพลัน อาการไอเป็นชุด ๆ ไอมีเสียงดังหวีด มีไข้และหอบเหนื่อย เป็นต้นสวมแว่นตาขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันดวงตาจากมลพิษ ใช้น้ำเกลือมาตรฐานล้างตาหากรู้สึกระคายเคืองตาใช้น้ำเกลือล้างจมูก เพื่อล้างฝุ่นควันลดอาการคัดจมูก หรือ กลั้วคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอไม่เป็นผู้ก่อมลพิษเอง เช่น ไม่เผาทุกชนิด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้รถควันดำ

ผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพจากมลพิษฝุ่นจิ๋ว PM2.5 และข้อปฏิบัติตัวที่สำคัญ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4