การรักษาลิ้นหัวใจ ผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MITRAL VALVE REPAIR)

พฤหัส ๐๘ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๕๕
การรักษาลิ้นหัวใจ ผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MITRAL VALVE REPAIR)

โรคลิ้นหัวใจที่พบมากในคนไทยคือ ความเสื่อมของลิ้นหัวใจตามวัยและโรคหัวใจรูห์มาติก นอกจากนี้ยังพบจากสาเหตุอื่น เช่น ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ซึ่งลิ้นหัวใจที่พบว่ามีปัญหาส่วนใหญ่คือ ลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral Valve) ที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย หากความเสียหายไม่มากจนเกินไป และไม่มีโรคร่วมอื่นๆที่ต้องทำผ่าตัดร่วม ปัจจุบัน สามารถทำการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: Mitral Valve Repair) ที่ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องตัดกระดูกสันอก (Sternum) ช่วยให้แผลเล็ก เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นาน กลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ

ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: Mitral Valve Repair) เป็นการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจโดยใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ออกแบบเป็นพิเศษและใช้กล้องที่ทำให้เห็นภาพอย่างละเอียดใส่ผ่านรูขนาดเล็ก 4 รูบริเวณซี่โครงด้านขวาเพื่อให้มองเห็นภาพที่มีรายละเอียดชัดเจน โดยจะใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมผ่านท่อที่ใส่จากหลอดเลือดบริเวณขาหนีบเพื่อช่วยพยุงการทำงานของปอดและหัวใจชั่วคราวให้แพทย์เข้าไปผ่าตัดซ่อมแซมและเปลี่ยนลิ้นหัวใจได้อย่างราบรื่น โดยไม่จำเป็นต้องตัดกระดูกสันอก (Sternum) เหมือนในอดีต

วิธีนี้นอกจากใช้เวลาผ่าตัดไม่นานอยู่ที่ประมาณ 3 ? 4 ชั่วโมง ยังช่วยให้แผลมีขนาดเล็กประมาณ 4 - 5 เซนติเมตรเท่านั้น ทั้งยังเสียเลือดน้อย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อบริเวณกระดูกสันอก เพราะไม่ต้องเลื่อยกระดูกสันอก ใช้เวลาพักฟื้นไม่นานก็กลับไปใช้ชีวิตทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ วิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์เป็นสำคัญ

ศัลยแพทย์หัวใจจะพิจารณาการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: Mitral Valve Repair) จากอาการและความผิดปกติของผู้ป่วยและผลการตรวจวินิจฉัยการทำงานของลิ้นหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) ที่แสดงความผิดปกติของลิ้นหัวใจได้ชัดเจนเป็นสำคัญ หากต้องเข้ารับการผ่าตัดแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจจะพิจารณาอายุ สภาพร่างกายของผู้ป่วย โรคประจำตัว หรือโรคต่างๆ ที่พบร่วม รวมถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจที่เกิดปัญหา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจตามวิธีมาตรฐานได้ การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็กคืออีกทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง

ข้อดีของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้คือ 1.ไม่ต้องตัดกระดูกสันอก (Sternum) 2.แผลเล็ก เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย 3.ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ 4.ลดระยะเวลาการพักฟื้น 5.ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ 6.หมดกังวลเรื่องความไม่สวยงามจากแผลผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: Mitral Valve Repair) ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเป็นสำคัญ หากผู้ป่วยมีโรคร่วมอื่นๆ ที่ต้องผ่าตัดหลายโรค อาจไม่สามารถผ่าตัดรักษาด้วยวิธีนี้ได้ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีผ่าตัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ รพ.หัวใจกรุงเทพ พร้อมให้การรักษาโรคหัวใจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและทีมสหสาขาตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและได้ผลลัพท์ที่ดี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รพ.หัวใจกรุงเทพ โทร. 02-310-3000 หรือโทร. 1719

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา