deCODE genetics เผยผลการวิจัย ชี้แฝดแท้ไม่ได้เหมือนกันหมดเสมอไป

ศุกร์ ๐๘ มกราคม ๒๐๒๑ ๐๘:๐๐
การตรวจวิเคราะห์จีโนมเซลล์สืบพันธุ์ของแฝดและนำไปเปรียบเทียบกับจีโนมเซลล์สืบพันธุ์ของญาติสนิท ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่ deCODE genetics พบการกลายพันธุ์ทีปรากฏให้เห็นในแฝดแท้คนใดคนหนึ่งเท่านั้น และสืบหาย้อนกลับไปยังวันแรก ๆ หลังเริ่มตั้งครรภ์

ในบทความหัวข้อ Differences between germline genomes of monozygotic twins (ความแตกต่างระหว่างจีโนมเซลล์สืบพันธุ์ของแฝดแท้) ซึ่งเผยแพร่ในวารสาร Nature Genetics วันนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ deCODE genetics ได้ค้นหาการกลายพันธุ์ที่ปรากฏให้เห็นในแฝดแท้ (monozygotic twins) คนใดคนหนึ่งเท่านั้น

ในสายงานมนุษย์พันธุศาสตร์นั้น จีโนมของแฝดแท้มักถูกมองว่าเหมือนกัน ซึ่งหากพบความแตกต่างระหว่างแฝดคู่หนึ่งก็มักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อมมากกว่ากรรมพันธุ์ สมมติฐานที่ว่านี้มีการนำไปใช้หลายศตวรรษแล้ว เพื่อคลี่คลายบทบาทที่กรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อมมีต่อโรคและฟีโนไทป์อื่น ๆ

นักวิทยาศาสตร์พบแฝดแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกเป็นแฝดที่มีการกลายพันธุ์แบบเดียวกันทั้งคู่ และอีกกลุ่มพบการกลายพันธุ์พัฒนาการที่ปรากฏให้เห็นในคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่ความถี่สูง

H?kon J?nsson นักวิทยาศาสตร์ที่ deCODE Genetics และผู้เขียนรายงานดังกล่าว กล่าวว่า "การกลายพันธุ์เกิดขึ้นเมื่อเซลล์แบ่งตัว และเซลล์ลูกอาจรับการกลายพันธุ์ที่เป็นผลพวงจากเซลล์ที่กลายพันธุ์นี้ในบุคคลหนึ่ง การกลายพันธุ์ที่ปรากฏให้เห็นในแฝดคนใดคนหนึ่งนั้น เปิดโอกาสให้เราย้อนกลับไปยังช่วงการแบ่งเซลล์ที่นำไปสู่พัฒนาการของแฝดได้"

การสืบย้อนการกลายพันธุ์ที่แตกต่างกันระหว่างแฝดแต่ละคนนั้นบ่งชี้ว่า การกลายพันธุ์เกิดขึ้นในระยะการเจริญของเอ็มบริโอวันแรก ๆ เมื่อเอ็มบริโอประกอบด้วยเซลล์หลายตัว

"แฝดแท้ทั้งสองกลุ่มนี้ทำให้เรามองเห็นพัฒนาการของเอ็มบริโอที่มีการแบ่งตัวเล็กน้อยหลังการปฏิสนธิซึ่งเป็นตอนที่เอ็มบริโอมีเซลล์หลายตัว" Kari Stefansson ซีอีโอของ deCODE genetics กล่าว "สิ่งนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง ที่ทำให้เราได้ใช้การกลายพันธุ์เป็นไฟส่องทางสู่พัฒนาการของมนุษย์ในช่วงแรก ๆ เช่นนี้"

H?kon J?nsson และคณะ ได้ตรวจวิเคราะห์จีโนมของแฝดแท้ 387 คู่ รวมถึงบิดามารดา คู่สมรส และบุตร เพื่อติดตามความแตกต่างของการกลายพันธุ์ ผู้เขียนรายงานพบว่า ฝาแฝดมีความแตกต่างกันโดยการกลายพันธุ์เชิงพัฒนาการเบื้องต้นเฉลี่ย 5.2 ครั้ง และในประมาณ 15% ของฝาแฝด แฝดคนหนึ่งมีการกลายพันธุ์บ่อยครั้งมาก ขณะที่แฝดอีกคนไม่มี

ความแตกต่างทางกายภาพหรือพฤติกรรมระหว่างแฝดแท้นั้นมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม เมื่อว่ากันตามสมมติฐานที่ว่าแฝดแท้มีความแตกต่างทางพันธุกรรมน้อยมาก อย่างไรก็ดี โรคออทิซึมและความผิดปกติทางพัฒนาการอื่น ๆ ซึ่งแฝดคนใดคนหนึ่งอาจมี นั้นมีความเชื่อมโยงกับการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ผู้เขียนรายงานจึงสรุปได้ว่า บทบาทของปัจจัยทางพันธุกรรมที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างทางฟีโนไทป์นั้นถูกประเมินต่ำไป

Thora Kristin Asgeirsdottir, PR and Communications deCODE genetics, โทร: 00354 -570 1909, 00354 -894 1909, อีเมล: [email protected]

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1395021/deCODE_twins.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4