"ป่าภูผาแดง" ภูผาของคนรักษ์ป่า

อังคาร ๑๘ พฤศจิกายน ๒๐๐๘ ๑๔:๒๗
ชาวบ้าน 4 หมู่บ้าน ใน ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ที่เคยประสบปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้านเรื่องการใช้ประโยชน์ในแนวเขต ซึ่งถูกประกาศให้เป็น "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง" เมื่อ ปีพ.ศ.2542 แม้ว่าพวกเขาจะตั้งถิ่นฐานทำกินมาก่อนการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ราวพ.ศ. 2460 อีกทั้งข้อพิพาทดังกล่าวดูเหมือนว่าจะยังไม่สิ้นสุดลง แต่ "วันนี้" ชาวบ้านในแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ก็มิได้หวาดหวั่นต่อชะตาที่พวกเขาไม่มีสิทธิกำหนดเอง พวกเขายังคงต้องดำเนินชีวิตตามครรลองของธรรม (มะ) ชาติ ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่มีนัยยะใหม่ในการเคร่งครัดต่อการ "อาศัยอยู่กับป่า" ควบคู่กับการ "ปกป้องดูแลป่า" ที่เคยเป็นของพวกเขา ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า "คนอยู่กับป่ามาได้" และอยู่ได้ด้วยองค์ความรู้ไม่ใช่อยู่ได้ด้วยสิทธิกำหนด

หลังจากเหตุการณ์เผชิญหน้าระหว่างรัฐกับประชาชาชนในเขตป่าภูผาแดงเกิดขึ้นเมื่อปี 2548 กรณีขับไล่ชาวบ้านออกนอกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในขณะที่ชาวบ้านยืนยันว่า "คนอยู่มาก่อนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ" ความขัดแย้งนี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านที่หาอยู่หากินอยู่กับป่าจนไม่สามารถดำเนินชีวิตแบบเดิมได้ และเหตุนี้เองจึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการรวมตัวกันของชาวบ้านห้วยระหงส์ บ้านห้วยกลทา บ้านห้วยหว้าน้อย และบ้านห้วยหวาย เป็น "เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าภูผาแดง"

นอกจากปัญหาการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทับที่ทำกินแล้ว ชาวบ้านยังประสบปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจากคนภายนอกที่เข้ามาล่าสัตว์ในเขตพื้นที่ป่าชุมชน ลำพังกำลังของเจ้าหน้าที่ก็ไม่อาจดำเนินแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ รวมทั้งจากความอุดมสมบูรณ์มีแหล่งอาหารหลากหลายชนิดรวมถึงกล้วยไม้ป่าที่หายากทำให้ป่าชุมชนในพื้นที่ ถูกบุกรุก แผ้วถาง รวมทั้งมีนายทุนจากข้างนอกมาจ้างวาน และรับซื้อพันธุ์กล้วยไม้หายากจากชาวบ้านในราคาถูก และนำไปขายต่อที่กรุงเทพฯ

นายเบี่ยง โนนติ่ง ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าภูผาแดง กล่าวว่าความต้องการในการพิสูจน์สิทธิและหน้าที่ของคนอยู่กับป่าด้วย "สัจจะธรรม" ตามครรลองของชาวบ้านมีเปี่ยมล้นในหัวใจ พวกเราจึงไม่ย่อท้อในการรวมตัวกันสร้างสรรค์กิจกรรมพิทักษ์ป่าของพวกเขาด้วยตัวเองขึ้น เช่นมีการจัดตั้งคณะกรรมการในการดูแลรักษาป่า มีการตั้งกฎระเบียบ การจัดการป่าชุมชน รวมทั้งสร้างรูปธรรมในพื้นที่เพื่อพิสูจน์ว่าชาวบ้านสามารถรักษาป่าได้ มิใช่หาประโยชน์เพียงอย่างเดียว มีการทำกิจกรรมคืนกล้วยไม้สู่ป่า ปลูกป่าชุมชน และบำรุงรักษาป่าที่ปลูกไว้ จัดค่ายสร้างแกนนำเยาวชนรักษ์ป่ารุ่นที่ 1 และมีการประสานหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นภาคีความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชน นำไปสู่การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เช่น โรงเรียน อบต. อบจ. หรือหน่วยงานอิสระ โครงการจัดการทรัพยากรต้นน้ำเซิน ซึ่งเครือข่ายองค์กรชาวบ้านก็มีความพยายามที่จะทำและอยู่ระหว่างการเริ่มต้น

แต่ที่ผ่านมาการดำเนินกิจกรรมของชาวบ้านติดขัดอย่างมากในเรื่องงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งเล็งเห็นว่าแม้ชาวบ้านในพื้นที่จะร่วมมือกันดูแลป่า แต่หากชุมชนใกล้เคียงยังไม่ให้ความร่วมมือก็ไม่อาจรักษาป่าเอาไว้ได้อย่างยั่งยืน จึงคิดที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้นำและคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากร และเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อร่วมกันดูแลทรัพยากรร่วมกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก ประกอบกับ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งให้การสนับสนุนชุมชนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดจึงเขียนโครงการเข้าประกวดตามโครงการรางวัลสนับสนุนชุมชนฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า" ภายใต้ "โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าภูผาแดง ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน"

นายพูนศักดิ์ ขวัญชอบ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ กล่าวว่า รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่โครงการของเครือข่าย ได้รับรางวัล 1 ใน 10 รางวัลที่ ธนาคารไทยพาณิชย์มอบให้รางวัลละ 50,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้แม้ไม่มากนักแต่ก็สามารถขับเคลื่อนการประสานงานเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่เครือข่ายฯ ต้องการนอกเหนือจากเงินสนับสนุน คือกำลังใจ ความเข้าใจ จากทุกภาคส่วน อย่ามองว่าชาวบ้านที่อยู่ในแนวเขตรักษาพันธุ์ป่าเป็นตัวทำลายป่า แต่พวกเรากำลังพิสูจน์สิทธิและหน้าที่ของคนที่อยู่กับป่าว่าเราไม่ได้ทำลายป่า หากแต่พวกเราเป็นผู้ดูแลรักษาป่าไว้ให้คนไทยทุกคน

ด้านนางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การมอบรางวัลสนับสนุนให้ชุมชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ถือว่าจำนวนไม่มาก แต่สิ่งที่ชาวบ้านได้รับอย่างมากคือ อความภาคภูมิใจ จากการดำเนินงานด้านดูแลรักษาป่า และมีกำลังใจในการทำงานต่อไป ทั้งนี้มูลนิธิสยามกัมมาจล เป็นหน่วยงานที่ผลักดันด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยในชุมชน จึงเข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ป่าต่อไปและหวังว่าจะเกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนโดยชุมชน

ในยุคที่คนไทยและคนทั้งโลกต้องหันกลับมาทบทวนพฤติกรรมการดำเนินวิถีชีวิตที่พุ่งเป้าเพื่อทำลายทรัพยากรอย่างบ้าคลั่ง เรา ชุมชน และคนไทยทั้งประเทศ คงหนีไม่พ้นที่จะต้องยืมมือ คนที่อยู่ใกล้กับทรัพยากรที่สุด ช่วยเราปกป้องรักษามันไว้ด้วยชีวิตและจิตวิญญาณของเขา แล้วเราคงยืนดูพวกเขาดิ้นรนเพียงลำพังไม่ได้ แต่ต้องลุกขึ้นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อพวกเขา และทรัพยากรของพวกเรา

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-2701350

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ