iTAP ชูแนวคิด“วัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์” คิดครบวงจร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP)

จันทร์ ๑๖ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๐:๕๘
กระแสความสนใจเรื่องโลกร้อนทำให้ทุกฝ่ายต้องหันมาให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมต่างๆซึ่งเป็นภาคการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือเรียกว่า การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design)จึงเป็นแนวทางหนึ่งของการแก้ปัญหาเชิงรุก กล่าวคือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นประเด็นปัญหาต่างๆและหาแนวทางแก้ไข เช่น ลดกากของเสีย ยืดระยะเวลาใช้งาน และเพิ่มปริมาณการกลับมาใช้ใหม่ ฯลฯ

ปัจจุบันได้มีการออกกฎระเบียบ กฎหมายหรือมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะองค์กรนานาชาติว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization : ISO)ได้จัดทำอนุกรมมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ให้เป็นมาตรฐานสำหรับการปฎิบัติตามของผู้ประกอบการโดยมาตรฐานเหล่านี้จะเน้นที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นตลอดวัฎจักรชีวิต ทำให้สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) จึงร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(XCEP) ดำเนินโครงการ “เพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” และมีกิจกรรมต่างๆในโครงการดังกล่าว เช่น การอบรม สัมมนา และฝึกปฎิบัติการ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืนหลากหลายด้าน อาทิ กระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม , เทคนิคการออกแบบเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

โดยล่าสุดได้มีการจัดกิจกรรมอบรมสัมมนาในหัวข้อ “หลักการแห่งความยั่งยืนและแนวคิดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งที่มุ่งให้ความรู้ ความเข้าใจในหลักการและแนวทางการคิดด้านเทคนิคในการออกแบบเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและตอบสนองกับประเด็นปัญหาและเตรียมพร้อมในการรองรับมาตรฐานและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของนานาชาติ รวมทั้งมุ่งหวังให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม นำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้ เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทย

นางสาว ตรีชฎา โชติรัตนาภินันท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ศูนย์นวัตกรรมด้านการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรในการอบรมสัมมนาครั้งนี้ อธิบายความหมายแนวคิดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ว่า เหมือนวงจรชีวิตคนซึ่งมีตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สำหรับผลิตภัณฑ์ก็เหมือนกันโดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ การหาวัตถุดิบ การผลิต การกระจายจำหน่ายสินค้า การบริโภค ไปจนถึงการทิ้งและนำไปทำลาย การคำนึงถึงวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle) จึงเกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่จะตามมาภายหลังตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ นำไปสู่แนวทางการผลิตอย่างยั่งยืน

“ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน อาทิ บรรจุภัณฑ์กล่องนม โครงสร้างผนังกล่องประกอบด้วยวัสดุหลายชั้น เช่น โพลีเอทินลีน กระดาษ และอลูมิเนียมฟอยล์ ซึ่งในกระบวนการผลิตต้องทำการผนึกวัสดุทั้งหลายเหล่านี้รวมกันเป็นแผ่นเดียว คนทั่วไปอาจมองว่า กล่องนม สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่อาจไม่ใช่การรีไซเคิลที่แท้จริง คือ ยังไม่ได้มีการแยกพลาสติก กระดาษ หรือโลหะ ออกจากกันจริงๆ และหากจะแยก ก็อาจจะมีต้นทุนในการรีไซเคิลที่สูงมาก จึงมีบริษัทหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อบริษัท Ecologic ซึ่งผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องนม น้ำผลไม้ ที่คำนึงถึงแนวคิด Life Cycle นี้เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์”

โดยลักษณะผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวจะใช้วัสดุที่ไม่ผ่านการหลอมรวมกันเป็นแผ่นเดียว คือ ผนังชั้นนอกจะทำด้วยเยื่อกระดาษที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วขึ้นรูปเป็นทรงขวด ผนังชั้นในจะใช้พลาสติกน้อยกว่ากล่องนมทั่วไป โดยมีลักษณะคล้ายถุง ทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าว สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างแท้จริง ลดการใช้วัสดุ และง่ายต่อการแยกวัสดุ”

ผู้ช่วยผู้จัดการ ศูนย์นวัตกรรมด้านการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังให้ความเห็นว่า แนวคิดการคำนึงถึงวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของนักออกแบบเพียงอย่างเดียว ภาคอุตสาหกรรม หรือคนทั่วไปก็ต้องมีส่วนช่วยกัน เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยเริ่มต้นที่ตัวเองก่อนง่ายๆเช่น อย่าอายที่จะใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆรอบตัวให้นานขึ้น เพื่อยืดอายุการใช้งาน เหล่านี้แม้เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยแต่ก็ช่วยโลกให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นได้

สำหรับโครงการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันแนวคิดเหล่านี้ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อให้สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตที่เปี่ยมด้วยคุณภาพและประสบการณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดความเข้าใจแนวคิดด้าน Life Cycle อันจะนำไปสู่การสร้างศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดโลกในที่สุด

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ iTAP

สามารถติดต่อได้ที่ โทร.02-564 -7000 ต่อ 1300

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ เม.ย. เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๗ เม.ย. ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๗ เม.ย. STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๗ เม.ย. ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๗ เม.ย. HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๗ เม.ย. ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๗ เม.ย. เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๗ เม.ย. ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น